เกาหลีใต้เตรียมพิจารณากฎหมาย อนุญาตให้หุ่นยนต์ Delivery วิ่งบนถนนได้ ภายในปี 2023 | Techsauce

เกาหลีใต้เตรียมพิจารณากฎหมาย อนุญาตให้หุ่นยนต์ Delivery วิ่งบนถนนได้ ภายในปี 2023

ปัจจุบันเกาหลีใต้กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้หุ่นยนต์เพื่อส่งอาหารและอื่นๆ และมีแผนจะอนุญาตให้สามารถวิ่งบนถนนได้ในปี 2023 โดยรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังดำเนินงานเพื่อให้คำจำกัดความทางกฎหมายกับหุ่นยนต์ภายในสิ้นปี 2022 นี้ เนื่องจากในปัจจุบันยังถูกห้ามวิ่งบนถนนจากข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย

ปัจจุบันเกาหลีใต้กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้หุ่นยนต์เพื่อส่งอาหารและอื่นๆ และมีแผนจะอนุญาตให้สามารถวิ่งบนถนนได้ในปี 2023 โดยรัฐบาลเกาหลีใต้กำลังดำเนินงานเพื่อให้คำจำกัดความทางกฎหมายกับหุ่นยนต์ภายในสิ้นปี 2022 นี้ เนื่องจากในปัจจุบันยังถูกห้ามวิ่งบนถนนจากข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย

Woowa Brothers สตาร์ทอัพผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Food Delivery รายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ได้เริ่มทดลองใช้หุ่นยนต์ในการส่งอาหารมาตั้งแต่ปี 2020 ในขณะที่เชนร้านสะดวกซื้อเจ้าอื่นเริ่มใช้กันในเดือนพฤศจิกายน 2021 ซึ่งรัฐบาลเกาหลีมีแผนจะพัฒนาหุ่นยนต์ประเภทนี้เพื่อการส่งออกในอนาคต

โดยในช่วงการทดลองนี้รัฐบาลได้กำหนดโซนพิเศษรอบอพาร์ตเมนต์ในเมือง Suwon เขตชานเมืองของกรุงโซล ซึ่งทาง Woowa ได้เริ่มให้บริการ Food Delivery ด้วยหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมาเองโดยใช้ชื่อว่า “Dilly Drive” เป็นหุ่นยนต์สูงประมาณ 70 เซนติเมตร ด้วยการทดลองให้ส่งกาแฟเย็นและแซนด์วิช โดยวางอาหารลงในหุ่นยนต์และปิดฝา จากนั้นเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ก็จะนำอาหารไปส่งให้ทันทีด้วยความเร็ว 5-6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเมื่อถึงที่หมายจะมีข้อความแจ้งเตือนไปที่โทรศัพท์มือถือของลูกค้า 

สำหรับเจ้าหุ่นยนต์  Dilly นี้จะมีกล้องสามตัว พร้อมด้วยเซนเซอร์และระบบนำทาง ที่สามารถจับสัญญาณไฟจราจร และหยุดเมื่อมีไฟแดงตรงทางข้ามได้ นอกจากนี้ยังรู้จักหลบหลีกคนเดินถนนได้ด้วย 

Woowa ได้พัฒนาหุ่นยนต์นี้ขึ้นเมื่อปี 2017 เพื่อแก้ปัญหาแรงงานราคาแพงในเกาหลีใต้ ที่มีค่าแรงขั้นต่ำต่อชั่วโมงสูงขึ้น 42% ในช่วงห้าปีที่ผ่านมาเป็น 9,160 วอน หรือประมาณ 247 บาทในปี 2022 จากนโยบายขึ้นค่าแรงของประธานาธิบดีมุนแจอิน 

สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของเกาหลีระบุว่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2020 มีการยื่นจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการขายสินค้ากว่า 234 รายการ เพิ่มขึ้น 29% ต่อปี และจากข้อมูลของรัฐบาลเกาหลีเผยว่ายอดขายออนไลน์ในประเทศคิดเป็น 48% ของยอดขายสินค้าทั้งหมด ซึ่งมีการระบาดของโควิดเป็นปัจจัยให้มีการใช้หุ่นยนต์สำหรับร้านค้าที่สูญเสียลูกค้าจากหน้าร้าน

นอกจากสตาร์ทอัพแล้ว บริษัทหลายแห่งก็ได้มีการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ โดยบริษัท Hyundai Motor ผู้ผลิตรถยนต์จากเกาหลีได้เข้าซื้อ Boston Dynamics บริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติอเมริกันเมื่อปี 2020 เพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับควบคุมหุ่นยนต์ และเดินหน้าวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์และโดรนเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับบริการเดลิเวอรี่ 

นอกจากนี้ยังมีบริษัท LG ที่ได้พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้เสิร์ฟในร้านอาหารและกำลังหาช่องทางพยายามกระจายไปในร้านอาหารหลายแห่งมากขึ้น และ Samsung ที่กำลังพัฒนาหุ่นยนต์ทำงานบ้านที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน

ทาง Lotte บริษัทที่ดูแล 7-Eleven ในเกาหลีก็ได้เริ่มใช้หุ่นยนต์ Delivery ที่พัฒนาร่วมกับ Neubility บริเวณรอบอพาร์ตเมนต์ในกรุงโซล โดยใช้กล้องและเทคโนโลยีเซนเซอร์ส่งพัสดุที่มีน้ำหนักมากถึง 25 กิโลกรัมอย่างได้อย่างเสถียรทั้งยังสามารถหลบฝนและหิมะได้อีกด้วย

อ้างอิง Nikkei Asia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อดีตซีอีโอ Nissan เตือน การควบรวมกิจการกับ Honda อาจทำให้เจอ 'ปัญหา' การลดต้นทุนครั้งใหญ่

Carlos Ghosn อดีตซีอีโอของ Nissan ออกมาเตือนว่า บริษัทอาจต้องเผชิญกับ "หายนะ" จากการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หากตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Honda โดยเขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองบริษัทมีความซ้ำซ้อน...

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...