จับกระแสอนาคต Startup อาเซียน หลังกลายเป็นเป้าหมายหลักในการลงทุนของเหล่า SPAC | Techsauce

จับกระแสอนาคต Startup อาเซียน หลังกลายเป็นเป้าหมายหลักในการลงทุนของเหล่า SPAC

Vinnie Lauria หุ้นส่วนผู้จัดการจาก Golden Gate Ventures ซึ่งเป็น early-stage Venture Capital ที่ลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เผยกับสื่อ CNBC ว่าขณะนี้นักลงทุนจากกลุ่มบริษัท SPAC (Special Purpose Acquisition Company) กว่า 40 แห่งเริ่มให้ความสนใจไปยัง Startup ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากเป็นพิเศษ ซึ่งมีเป้าหมายพา Startup เหล่านี้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ผ่านวิธีควบรวมกิจการ

ASEAN startups gain interest from SPAC Companies

“SPAC หลายแห่งล้วนมี Startup ในอาเซียนเป็นเป้าหมายหลัก” Lauria ได้กล่าวกับ CNBC โดยอ้างว่าขณะนี้ Startup ในภูมิภาคอาเซียนล้วนเป็นที่เตะตาของนักลงทุน ไม่เพียงแต่นักลงทุนในรอบระดมทุนระยะหลัง (late-stage) เท่านั้น ยังรวมไปถึงนักลงทุนภาคเอกชนอีกด้วย 

Lauria ประเมินว่า “อีก 10 ปีถัดจากนี้สนาม SPAC ในอาเซียนจะมีการแข่งขันดุเดือดมาก ใครพร้อมก่อนคนนั้นตกลงได้ก่อน และดีลการควบรวมกิจการ SPAC ก็จะมีมูลค่าที่สูงขึ้นตามไปด้วย” 

เมื่อดูจากรายงานการระดมทุนของ Startup ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงที่จัดทำขึ้นโดย Golden Gate พบว่าในสามเดือนแรกของปี 2021 มูลค่าเงินระดมทุนทั้งหมดอยู่ที่ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งรวมไปถึงรอบการระดมทุนมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐของ J&T Express Startup ให้บริการโลจิสติกส์ของอินโดนีเซีย 

นอกจากนี้เมื่อเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา Carro Startup ตลาดรถยนต์และสินเชื่อรถยนต์ของสิงคโปร์ก็ได้เงินระดมทุนเพิ่มอีก 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นแท่น Startup ระดับยูนิคอร์นเป็นที่เรียบร้อย 

นอกเหนือจาก Startup จะได้รับเงินระดมทุนในจำนวนมหาศาลแล้ว ยังมี Startup ในภูมิภาคบางส่วนที่เตรียมจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ดังกรณีที่ Grab ได้ประกาศเมื่อเดือนเม.ย. ว่าจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ผ่านวิธีควบรวมกิจการ SPAC ในมูลค่าดีลที่ 39,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเป็นหนึ่งในดีล SPAC ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา เช่นเดียวกันนี้  GoTo Group จากอินโดนีเซียก็กำลังเตรียมจดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในเร็ว ๆ นี้

ทั้งนี้ Golden Gate Venture ได้ระบุในรายงานอีกว่าภายในปี 2030 จำนวนการขายหุ้นต่อสาธารณะ (IPO) ของบริษัทต่าง ๆ ในอาเซียนจะทะลุ 300 ราย เนื่องจาก Startup ท้องถิ่นเริ่มจดทะเบียนตลาดในประเทศมากขึ้น และการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็ได้มีส่วนผลักดันให้ Startup ในอุตสาหกรรมขนส่งอาหาร telemedicine E-Commerce และ Fintech เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ด้วยเหตุที่อาเซียนเองก็มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตถึง 400 ล้านราย คาดการณ์ว่าบริษัทที่ให้บริการในโลกอินเทอร์เน็ตในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทยจะมีมูลค่าสู่ระดับ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2025 

อ้างอิง: CNBC


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...