SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับมิชลินสตาร์ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนอวกาศ ร่วมสัมผัสโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนได้อยู่นอกโลก

SpaceVIP ผู้ให้บริการการเดินทางในอวกาศสุดหรู กล่าวว่ากำลังร่วมมือกับเชฟมิชลินสตาร์สองดาวชื่อดัง Rasmus Munk ในการมอบประสบการณ์การทานมื้ออาหารระดับจัดมิชลินบนอวกาศ สร้างความทรงจำครั้งหนึ่งในชีวิตให้กับนักเดินทางผู้กล้าหาญ 6 คน ภายในปี 2025

เที่ยวบินนี้จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณหกชั่วโมง ด้วยบอลลูนอวกาศที่จะพาทุกคนไปดื่มด่ำบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และขณะอยู่บนยาน ผู้เข้าร่วมสามารถใช้งาน Wi-Fi และสามารถถ่ายทอดสดประสบการณ์สุดพิเศษนี้ให้กับเพื่อนรวมถึงครอบครัวบนโลกได้

Chiporukha ผู้ก่อตั้ง SpaceVIP หวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางเชิงพาณิชย์บนอวกาศ และทำให้ผู้คนเข้าถึงการเดินทางท่องอวกาศเหมือนกับการเดินทางด้วยเครื่องบินที่ในสมัยก่อนมีราคาที่สูงแต่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ในส่วนของเมนูที่เสิร์ฟบนยานโดยเชฟ Rasmus Munk พัฒนาด้วยแรงบัลดาลใจจากผลกระทบของการสำรวจอวกาศที่มีต่อสังคมในระยะเวลาหกสิบปีที่ผ่านมา รวมถึงพัฒนาการปลูกผักโดยใช้นํ้าให้น้อยที่สุดเพื่อให้ปลูกและอยู่รอดบนอวกาศและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ขาดแคลนนํ้าเช่น แอฟริกา เป็นต้น

รายได้ทั้งหมดของโครงการนี้ จะนำไปมอบให้กับมูลนิธิ Space Prize Foundation เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในด้านอวกาศในระดับสากล SpaceVIP ตั้งเป้าที่จะทำให้การเดินทางในอวกาศสามารถเข้าถึงได้มากขึ้นในอนาคต

ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของมนุษย์สำหรับมื้ออาหารระดับมิชลินสตาร์บนอวกาศสนนราคาอยู่ที่ 495,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน หรือราว 17.8 ล้านบาท บนยานอวกาศเนปจูน ยานปลอดคาร์บอนลำแรกของโลก SpaceVIP คาดการณ์ว่าจะสามารถเปิดตัวในช่วงปลายปี 2025 และจะเริ่มออกเดินทางจาก Kennedy Space ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

อ้างอิง: forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมดุสิตธานีขาดทุน 5 ปี เปิดเบื้องหลังที่คนไม่รู้ กับแผนยอมเจ็บเพื่อ Reset ธุรกิจ

เปิดเบื้องหลัง 5 ปีที่ดุสิตธานีขาดทุนและไม่จ่ายปันผล กับแผนรีเซตองค์กรครั้งใหญ่ สู่การเติบโตระยะยาวผ่านโครงการ Dusit Central Park และกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง...

Responsive image

เทคโนโลยีใหม่! แค่ตรวจเลือดก็รู้ผลอัลไซเมอร์ได้แบบไม่ต้องสแกน

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อาจไม่ต้องพึ่ง PET scan หรือการเจาะน้ำไขสันหลังอีกต่อไป! เพราะตอนนี้มีการตรวจเลือดแบบใหม่ ที่ใช้วัดสัดส่วนของโปรตีนในเลือด ที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้...

Responsive image

งานเข้า! งานวิจัย Stanford ชี้ Chatbot 'นักบำบัด' ไม่ได้ฮีลใจ แต่กำลังพาไปสู่หายนะ

ผู้คนหันมาใช้ Chatbot เป็น 'นักบำบัด' มากขึ้น แต่เทคโนโลยีพร้อมสำหรับบทบาทนี้แล้วหรือยัง? งานวิจัยล่าสุดจาก Stanford ฟันธงว่า 'ยังไม่พร้อมอย่างสิ้นเชิง' สำหรับความรับผิดชอบนี้...