Startup ต้องอย่าให้ตัวเลขหลอก เปิดมุมมอง AUTOPAIR กับการระดมทุน | Techsauce

Startup ต้องอย่าให้ตัวเลขหลอก เปิดมุมมอง AUTOPAIR กับการระดมทุน

หากสรุปภาพรวมการลงทุนใน Startup ไทยในปี 2022 แม้ยังไม่จบปี แต่ก็เริ่มเห็นตัวเลขที่ชัดเจนมากขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับในปี 2021 นั้น จะเห็นได้ว่ามีจำนวนดีลที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด (ข้อมูลจาก Startup Directory) ซึ่งปัจจัยก็มาจากหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง สงคราม ความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุน สอดคล้องกับทิศทางการลงทุนในระดับโลก ที่มีกราฟลดลงจากปีก่อนเช่นกัน

AUTOPAIR

แม้จะมีความท้าทายมากมาย แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมี Startup ไทยทั้งรายใหญ่และเล็กสามารถระดมทุนได้ในช่วงปีนี้ รวมถึงการเกิดยูนิคอร์นตัวใหม่ในประเทศไทยด้วย ในบทความนี้ Techsauce จะพาผู้อ่านไปรู้จักกับ Startup รายเล็กๆ ที่เราอาจไม่ได้ยินชื่อบ่อยนัก แต่ก็มีข่าวดีด้านการระดมทุน และอาจช่วยเป็นแรงผลักดันให้กับ Startup รายอื่น ด้วยธุรกิจที่แตกต่างในตลาด และมีจุดเด่นที่สามารถคว้าใจนักลงทุนได้

Techsauce ได้พูดคุยกับ คุณสันติ วจนพานิช ผู้อยู่เบื้องหลัง AUTOPAIR ที่ให้บริการ Solution ด้านยานยนต์ โดยล่าสุดเพิ่งได้รับเงินระดมทุนจาก บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น อย่าง มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น

รู้จัก AUTOPAIR คือใคร ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร

คุณสันติ วจนพานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ออโต้แพร์ จำกัด ได้เปิดเผยว่า AUTOPAIR หรือ ออโต้แพร์ ได้ดำเนินธุรกิจมาเข้าสู่ปีที่ 5 แล้ว โดยปัจจุบันได้มีบริการอยู่ 4 ส่วนหลักๆ คือ

1. ระบบสั่งซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ออนไลน์จัดส่งภายใน 60 นาที 

2. ระบบบริหารอู่ซ่อมรถยนต์แบบครบวงจรพร้อมตลาดค้าส่งออนไลน์

3. ระบบบริหารคลังสินค้าสำหรับผู้จำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ 

4. ระบบบริหารการซ่อมบำรุงกลุ่มรถฟลีท

“เราในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจและให้บริการด้านการสั่งซื้อชิ้นส่วนและอะไหล่ทดแทนยานยนต์ได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจ ด้วยการเข้าไปมีส่วนในการเติมเต็มให้วงการอะไหล่รถยนต์สามารถก้าวผ่านกำแพงของยุคดิจิทัลไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยเราตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจควบคู่ไปกับการมอบประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกสบาย รวดเร็ว และโปร่งใสในการซื้อขายอะไหล่รถมากขึ้น โดยปัจจุบันออโต้แพร์มีเครือข่ายของอู่ซ่อมรถยนต์และร้านค้าอะไหล่ที่ใช้งานระบบนี้อยู่มากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ พร้อมตั้งเป้าต่อยอดนำบริการขยายไปสู่กลุ่มเป้าหมายและอู่ซ่อมรถทั่วประเทศ”

การนำดิจิทัลเข้ามาใช้ในทางธุรกิจ

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันธุรกิจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาแก้ปัญหาและเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจแทบทั้งสิ้น โดยประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

คุณสันติได้เล่าเพิ่มเติมว่า เมื่อพูดถึงการนำดิจิทัลเข้ามาใช้ หรือการทำ Digitization ในธุรกิจ ปัจจุบันได้ครอบคลุมไปเกือบทุกอุตสาหกรรมแล้ว และหลายอุตสาหกรรมก็ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น FinTech หรือ E-commerce ซึ่งวงการรถยนต์ก็เป็นอุตสาหกรรมที่ทุกคนจับตามอง ว่าจะสามารถ Digitize ออกมาเป็นแบบไหน ซึ่ง AUTOPAIR ได้เริ่มต้นสิ่งนี้เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เราได้มองว่าบริษัทจะดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ ไม่ได้ ต้องเอาดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ในองค์กร

วิธีมัดใจนักลงทุน

AUTOPAIR ได้รับเงินระดมทุนมูลค่ากว่า 70 ล้านบาท จากบริษัทมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น โดยมีเป้าหมายเพิ่มโอกาสในการขยายฐานลูกค้าใหม่ และเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจ เช่นการพัฒนา UI/UX ของระบบ 

คุณสันติเผยว่า ในประเทศไทยมีบริษัทที่ทำเกี่ยวกับ Digital Solution โดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับมาก็ค่อนข้างที่จะเชื่อมโยงกับ AUTOPAIR โดยเทคนิคเดียวที่เรามีในการซื้อใจนักลงทุนคือความจริงใจที่เราเปิดอกคุยกันตั้งแต่วันแรก ว่าความต้องการของเราคืออะไร สิ่งที่เราไม่ต้องการคืออะไร เปิดเผยเงื่อนไขทั้งหมดว่า นักลงทุนที่เข้ามาเห็นด้วยกับเราหรือไม่ ถึงแม้ AUTOPAIR จะเป็น Startup ก็จริง แต่เรามอง Profit และ Margin เป็นเรื่องสำคัญ

“เรามองว่า AUTOPAIR เป็น Corporate ที่ทำงานเหมือน startup คือไม่ได้คิดเพียงแค่เรื่อง Traction หรือ Traffic ว่าต้องใช้เงินเยอะๆ แต่คำนึงเรื่องของ Profit / Margin ในระหว่างที่เราดำเนินกิจการไปว่าต้องได้ Profit ด้วยไม่ใช่เพียงการระดมทุนแล้วเอาเงินไปเบิร์นอย่างเดียว”

ในมุมกลับกัน มุมมองตรงนี้ทำให้ AUTOPAIR สามารถค้นหานักลงทุนที่คิดเหมือนกันได้ โดยเราไม่ได้เน้นเรื่อง Valuation แต่สนใจที่ว่าถ้าคนมาลงทุนแล้วเราจะสร้างคุณค่าได้จริงหรือเปล่า เพราะเราเชื่อว่าถ้าคุณค่าเกิดขึ้นจริง ตัวเลขจะตามมาแน่นอน

ย้อนกลับไปที่คำแรกคือเราเปิดเผยกับนักลงทุนหมดเลยว่านี่คือจุดมุ่งหมายของทิศทางที่เรากำลังดำเนินไป ในอุตสาหกรรมนี้มันค่อนข้างกว้างมาก ยกตัวอย่างเช่น อะไหล่ที่เราขายอยู่ก็มีหลายอย่างที่เรายังเอื้อมไปไม่ถึง เรายังไม่ได้ขายบอดี้พาส สีที่ทำรถ จึงมีอีกหลาย Category ที่ต้องไปให้ถึง ที่เรามีแพลนจะไปถึงรถบรรทุก หลังจากเราได้การรับเงินลงทุนครั้งนี้ ก็น่าจะเป็นการรับเงินลงทุนมาเพื่อขยายไลน์ธุรกิจให้ครอบคลุมคำว่า Automotive

แผนระยะสั้นและแผนระยะยาว

เรามีแผนระยะสั้นโดยโจทย์ของเราคือ นำผู้เล่นที่สำคัญ อย่าง Supply Chain เข้ามาลอง เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า Digital Solution ต่างๆ มันจะช่วยพัฒนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ROI หรือการมี Business Model ใหม่ๆ ซึ่งเราจะพยายามเอาทุกคนในอุตสาหกรรม เข้ามาอยู่กับเราให้ได้


สำหรับแผนระยะยาวเรามองไปถึงเทรนด์ในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Connectivity Car ที่รถจะกลายเป็นสินค้าดิจิทัล โดยเราจะสร้าง Infrastructure ให้มันครอบคลุมสิ่งเหล่านี้ โดยที่ไม่ว่าในอนาคตทิศทางจะเป็นอย่างไร แต่สุดท้ายเรามี Infrastructure ที่มันพร้อม โดยที่ในอนาคตมันจะมาในรูปแบบ API อย่างไร หรือ Third Party จะมาเชื่อมโยงอะไรหรือแม้กระทั่งการสเกลไปเมืองนอก ก็จะทำได้ง่าย นับเป็นแผนในระยะยาวของเรา

การขยายธุรกิจไปต่างประเทศ มันมีโอกาส แต่เราต้องแยกประเภทของบริษัทของตัวเองก่อนว่าเป็น Niche หรือ Mass Market ซึ่ง AUTOPAIR ค่อนข้างที่จะ Niche มาก เรื่องอะไหล่เป็นเรื่องที่คนเข้าใจยากอยู่แล้ว ดังนั้นการทำ Strategic Move เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะในวงการอุตสาหกรรมนี้  ต่อให้ได้นักลงทุนที่ลงเงินมาเยอะมาก แต่สุดท้ายคนที่เป็นเหมือนเจ้าใหญ่ในอุตสาหกรรม เขาไม่ได้เล่นด้วย หรือ เขาคิดจะนำไปทำเอง เงินที่ได้มามันก็สูญเปล่า เพราะเราเป็น Niche Market เราต้องเน้นเอาคนในอุตสาหกรรมมาร่วมกับเรา  AUTOPAIR เลยเลือกที่จะไปในทิศทางของ Strategic Move ไปฐานนักลงทุนที่เขาอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ แล้วเขามี Subsidaries Company เยอะที่จะช่วยเราได้ทันที

คำแนะนำสำหรับ Startup

1. อย่าสนใจแต่เรื่องรายได้เพียงอย่างเดียว ต้องดูที่กำไรสุทธิด้วย

2. หมดยุค Burn เงิน แต่ต้องนำเงินทุนที่ได้ไปใช้ให้เกิด Impact กับธุรกิจโดยตรง

3. อย่าให้ตัวเลข Valuation มาหลอก เราต้องรอบคอบเพื่อการเติบโต เพราะขนาดบริษัทยักษ์ใหญ่ยังล้มมาแล้ว

ทั้งนี้ในปี 2568  AUTOPAIR ตั้งเป้าส่วนแบ่งตลาด 1% ของส่วนแบ่งการตลาดอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ทดแทนยานยนต์ทั้งหมด และสร้างรายได้ต่อปีสูงถึง 2,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายยกระดับกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมอะไหล่ทดแทนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดด้านการให้บริการโซลูชั่นซอฟต์แวร์ของวงการชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์แบบครบวงจรในประเทศไทย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

โตโยต้า เปิดแผนการลงทุน พร้อมทุ่มงบ 4.7 แสนล้านบาทพัฒนารถ EV และ AI

โตโยต้า ประกาศแผนการลงทุนมูเพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีไฮโดรเจน...

Responsive image

LINE MAN Wongnai เตรียม IPO ไทย-สหรัฐฯ ปี 2025 มุ่งสู่การเป็นมากกว่าแอปฯ สั่งอาหาร

LINE MAN Wongai แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยอดนิยมของไทย กำลังพิจารณาการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ตามข้อมูลจากคุณยอด ชิน...

Responsive image

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม”

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม” สู่เป้าหมายการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค...