Startup จะรักษา 'บริษัท' ไว้ได้อย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19 | Techsauce

Startup จะรักษา 'บริษัท' ไว้ได้อย่างไร ในสถานการณ์ COVID-19

หลาย ๆ ท่านคงอาจจะเห็นข่าวประจำวันเกี่ยวกับผู้บริหารของบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่หลาย ๆ รายเริ่มใช้มาตรการลดเงินเดือน ลดต้นทุนด้านต่าง ๆ และลดการจ้างงานผ่านตามาบ้างแล้ว และอย่างที่ผู้อ่านอาจจะทราบกันมาบ้างแล้วว่าธุรกิจ Startup และ SME ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกของเรานั้นมีอัตราการเติบโตที่ถือว่าค่อนข้างสูงมากใน 5 ปีที่ผ่านมา ทว่าภายใต้สภาวะเช่นนี้ธุรกิจเหล่านี้ควรจะทำอย่างไรในการประคับประคองให้ธุรกิจนั้นเดินหน้าต่อไปได้

ท่ามกลางการถดถอยทั่วโลกจากการระบาด COVID-19 ทำให้เกิดคำถามว่า Startup จะทำอย่างไรภายใต้สภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทำให้ผู้ก่อตั้งบริษัท Startup จาก SEA Founders 21 ท่านได้มาพูดคุยผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ว่าด้วยเรื่องสถานการณ์ในปัจจุบันและวิธีการแก้ไข้ปัญหาที่จะช่วยให้ Startup เหล่านี้ผ่านช่วงเวลาที่แสนลำบากนี้ไปได้ ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้นั้นนำโดย Anna Gong จาก Perx Technologies และ Suresh V Shankar จาก Crayon Data 

Source: SeedlyReads

การ ‘รักษา’ บริษัทให้คงอยู่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับ Startup 

เราอาจจะเห็นมาตรการที่รัฐบาลทั่วโลกนั้นเร่งออกมาเพื่อตอบรับต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน และในขณะนี้มันก็อาจจะดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในช่วงขาลง ก่อนที่จะเข้าสู่การถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบ

ข้อกังวล 3 อันดับแรกจาก Startup:

  1. รายได้ที่ล่าช้า (เนื่องจากลูกค้าเลื่อนกำหนดการชำระเงินออกไป)
  2. ความต้องการในการลดอัตราการเผาเงินทุนและการเพิ่มกระแสเงินสดอย่างเร่งด่วน
  3. ไม่สามารถที่จะเดินทางและทำธุรกิจนอกประเทศ

โอกาส 3 อันดับแรกสำหรับ Startup:

  1. โอกาสในการปรับต้นทุนให้เหมาะสมและกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็น
  2. โอกาสในการปรับเปลี่ยนความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
  3. โอกาสที่คู่แข่งจะปิดตัวลง

5 ประเด็นสำคัญ ข้อกังวลและแนวทางแก้ไข

5 ประเด็นสำคัญทางด้านล่างนี้เป็นแผนการหลักที่ได้มาจากการพูดคุยของผู้ก่อตั้งบริษัทหลาย ๆ ท่าน ซึ่งแผนการและข้อแนะนำเหล่านี้จะถูกนำไปดำเนินการใช้และปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท

Source: SeedlyReads

ประเด็นที่ 1: รายได้ (Revenue)

ข้อกังวล:

  • ระยะการขายที่ยาวขึ้น
  • ระยะการต่อรองมากขึ้น (จากการขยายระยะการขาย) และการลดราคาที่มากขึ้น
  • ข้อตกลงทางธุรกิจและการซื้อขายอาจล่าช้าลงและถูกยกเลิก
  • บริษัทต้องการช่องทางในการหารายได้ที่มากขึ้น
  • บริษัทไม่สามารถคาดการณ์ผลกระทบต่อรายได้ที่จะเกิดขึ้น
  • บริษัทไม่สามารถเดินทางไปต่างประเทศเพื่อปิดการซื้อขาย

แนวทางแก้ไข:

  • ลดขนาดของโปรเจคลงเพื่อลดระยะการขาย
  • เพิ่มความสำเร็จของลูกค้า (Customer Success) เพื่อที่จะขายสินค้าแบบ cross-sell และ upsell ให้กับลูกค้าที่มีอยู่
  • เข้าร่วมการทำธุรกิจเชิงกลยุทธ์กับคู่ค้า เพื่อเปิดช่องทางการหารายได้ใหม่ ๆ 
  • เสนอส่วนลดสำหรับลูกค้าที่จ่ายเงินก่อนกำหนด
  • ควรหารายได้จากช่องทางใหม่ ๆ 
  • ควรมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจที่มีส่วนต่างทางกำไรที่มากกว่า
  • ปรับเปลี่ยนสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
  • ขยายและกระจายขอบข่ายของการขายสินค้าและบริการ
  • ปรับเปลี่ยนสินค้าจากสินค้าที่ ‘ควรจะมี’ มาเป็นสิ่งที่ ‘จำเป็นต้องมี’ 

ประเด็นที่ 2: กระแสเงินสด (Cashflow)

ข้อกังวล:

  • การชำระเงินที่ช้าลงจากลูกค้า
  • การลดลงของกระแสเงินสด
  • ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) สูง
  • อัตราการเผาเงินทุนที่สูงขึ้นภายใต้วิกฤติ
  • ทำอย่างไรที่จะปรับเปลี่ยนและลดรายจ่ายลง?

แนวทางแก้ไข:

  • เจรจาการระดมทุนระหว่างรอบ (Bridge Round) กับ VC (Venture Capital)
  • กู้เงินสนับสนุนจากรัฐผ่านทางธนาคาร
  • กระตือรือร้นในการเรียกเก็บเงินที่ยังค้างอยู่
  • เจรจาต่อรองการชำระเงินกู้ที่มีอยู่กับธนาคาร
  • หยุดการว่าจ้างเพิ่มชั่วคราว
  • ลดต้นทุนด้านการโฆษณา การใช้จ่าย และเงินเดือน

ประเด็นที่ 3: ต้นทุน (Costs)

ข้องกังวล:

  • จะลดต้นทุนอย่างไรไม่ให้กระทบต่อการผลิต?
  • ค่าใช้จ่ายในด้านของพนักงานและเทคโนโลยีที่สูง
  • จะลดการใช้จ่ายเงินอย่างไรในเมื่อยังมีงานที่ต้องดำเนินต่อให้สำเร็จ?
  • จะประหยัดเงินอย่างไรเมื่อค่าใช้จ่ายส่วนมากนั้นคือค่าจ้างของพนักงาน?

แนวทางแก้ไข:

  • เจรจาต่อรองค่าเช่า
  • เจรจากับผู้ขายเพื่อที่ขอลดราคา
  • ลดงบประมาณในการทำ digital marketing
  • ตัดการใช้จ่ายที่ไม่สำคัญออก
  • หยุดการว่าจ้างเพิ่มชั่วคราว
  • การแบ่งจ่ายเงินเดือน
  • การเลื่อนการจ่ายเงินเดือน
  • การลดเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ ของพนักงานชั่วคราว

ประเด็นที่ 4: พนักงาน (Employees)

ข้อกังวล:

  • จะรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานอย่างไรภายใต้มาตรการ work from home?
  • พนักงานอาจมองหาตัวเลือกอื่นเนื่องจากความไม่แน่นอนของบริษัทในอนาคต
  • กำลังใจของพนักงานลดลงจากการยกเลิกการว่าจ้างและการลดเงินเดือน
  • จะสื่อสารกับพนักงานเรื่องการลดค่าใช้จ่ายอย่างไรให้ถูกต้อง?

แนวทางแก้ไข:

  • ใช้วิธี work from home สำหรับพนักงานที่ใช้ขนส่งสาธารณะ
  • ใช้วิธีการรายงานรายวันเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานที่ work from home นั้นปฏิบัติงานตามหน้าที่
  • สื่อสารให้มากที่สุดและพร้อมในการตอบคำถามจากพนักงานอยู่ตลอด
  • ใช้มาตรการที่ให้พนักงานที่ไม่ได้แสดงผลงานมากนักนั้นทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์

ประเด็นที่ 5: การระดมและผู้ลงทุน (Funding & Investors)

ข้อกังวล:

  • ผู้ลงทุนนั้นกำลังเสาะหาสิ่งใหม่ ๆ ในช่วงเวลาวิกฤตินี้หรือไม่?
  • VC ไหนที่ยังมีความแข็งแกร่งและเหมาะต่อการลงทุน?
  • ควรที่จะระดมทุนจากนักลงทุนที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถึงแม้ว่าจะยังไม่จำเป็นในขณะนี้
  • ไม่สามารถคาดการณ์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนได้
  • นักลุงทุนขอแผนการระยะยาว ซึ่งเราไม่สามารถทำได้ในตอนนี้เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน เช่น การวางแผนสถานการณ์ใน 30, 60 และ 90 วัน หรือใน 6, 12 และ 24 เดือน
  • ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่ลดลง
  • ความล่าช้าในการรับเงินสนับสนุน

แนวทางแก้ไข:

  • การพูดคุยแบบ 1 ต่อ 1 กับนักลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่นใจและทำความเข้าใจให้ตรงกัน
  • แสดงถึงการเตรียมพร้อมและมาตรการในการรับมือต่อวิกฤติ
  • เจรจากับนักลงทุนให้มีการระดมทุนในช่วงไตรมาสที่ 3 และไตรมาสที่ 4
  • ทางรัฐบาลควรมีมาตรการให้เงินกู้กับธุรกิจที่ประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ

แน่นอนว่าจากวิกฤติการระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้จะนำพวกเราทุกคนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ดังนั้นข้อกังวลและข้อแนะนำทางด้านบนนั้นเป็นเพียงตัวเลือกให้บริษัทนั้นนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ของแต่ละบริษัท อย่างไรก็ตามแต่ ยังคงมีบางคำถามที่ซึ่งใน ณ ขณะนี้ยังคงไม่มีใครให้คำตอบได้ เช่น วิกฤตครั้งนี้จะยาวนานถึงเมื่อไหร่? จะใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะจัดการทุกอย่างให้กลับสู่สภาพเดิม? และจะจัดการยังไงหากวิกฤติในครั้งนี้นั้นยืดเยื้อมากกว่า 12 เดือน? ดังนั้นการที่บริษัทต่าง ๆ จะทำการตั้งรับเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุด รวมถึงการวางแผนในระยะยาวไว้ก่อนอาจจะเป็นการดีที่สุดในวิกฤติการณ์เช่นนี้ 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...