เก็บตกงาน และเล่าประสบการณ์ Startup ไทยใน Tech in Asia Singapore 2016 | Techsauce

เก็บตกงาน และเล่าประสบการณ์ Startup ไทยใน Tech in Asia Singapore 2016

พาชม Startup ในงาน Tech in Asia Singapore 2016 งาน Tech Conference 2 วันเต็ม ที่จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับ Startup ที่น่าสนใจในงาน ดังนี้

Startups in TIASG2016

Startup Booths

TIASG2016 Startup Categories

ในงานเราได้พบกับบูธ Startup ที่มากันทั้งหมด 200 บูธ พบว่ามีหมวดหมู่ของ Startup และสถิติต่างๆ เป็นดังนี้

  • หมวดหมู่มาแรงสุด สองอันดับแรกคือ กลุ่ม Hardware/IoT ทั้งหมด 32 ราย ตามมาด้วย Ecommerce 29 ราย
  • หมวดหมู่ที่เด่นรองมา ได้แก่ กลุ่ม Social มี 22 ราย และ Enterprise 21 ราย
  • ตามมาด้วย Education, Productivity, Advertising  และ Logistics แต่ละหมวดอยู่ที่ 10-15 ราย
  • ในขณะที่ Analytics, Finance, Travel และ Gaming กลับมีไม่มากนัก คืออยู่ที่ 7-9 ราย
  • และท้ายสุดคือหมวดหมู่ที่ค่อนข้างพิเศษ อย่าง Healthcare มี 5 ราย Recruitment 4 ราย SaaS 3 ราย และ Media 1 ราย

โดยมี Startup ไทยมาเข้าร่วมออกบูธ 7 ราย โดยมี 4 ราย ที่มาจากโครงการ dtac accelerate ได้แก่ Skootar, Piggipo (Credit Marvin), Giztix และ TakeMeTour

Pitch Battle

ความสนใจใน Startup กลุ่ม FinTech เองก็มีมาแรงไม่แพ้บ้านเรา โดยได้มีการแข่งขัน Pitch พิเศษ สำหรับกลุ่ม FinTech โดยเฉพาะ เรียกว่า FinTech Pitch Challenge powered by DBS

IMG_3773

ส่วนการแข่งขัน Pitch ใหญ่ของงาน มีชื่อว่า Arena Startup Pitch Battle สำหรับปีนี้คุณภาพของ Startup ที่มาแข่งขันเรียกว่าสูงทีเดียว ตัวอย่าง Startups รายที่น่าสนใจ ได้แก่

  • Bitmex รายนี้นอกจากชนะเลิศในการแข่ง FinTech Pitch Challenge แล้ว ยังชนะเลิศต่อเนื่องมาถึงการแข่ง Arena Pitch Battle อีกด้วย Bitmex เป็น Bitcoin ด้าน Derivatives exchange เป็นแพลตฟอร์มใช้สำหรับการเทรด Digital Currencies แบบฟิวเจอร์ได้ และกำลังจะพัฒนาให้สามารถใช้ Bitcoin เทรดหุ้นข้ามประเทศได้
  • Pouch Ticketing platform ที่ผสมผสาน IoT Technology โดยการพัฒนาตั๋วในรูปแบบ Wristband ทีนี้ตั๋วจะไม่ใช่กระดาษอีกต่อไป แต่สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น การทำ Wallet ช่วยให้ใช้จ่ายเงินซื้อของต่างๆ ในบูธได้อย่างสะดวก หรือกระทั่งการเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงานเพื่อสร้าง Insight data

pouch

พูดคุยกับตัวแทน Startup ไทย

ทีมงาน Techsauce ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Startup สามราย ได้แก่ Skootar, Credit Marvin และ TakeMeTour พวกเขาได้มาร่วมแชร์ประสบการณ์ให้เราฟัง ดังนี้

คุยกับ Skootar ในฐานะ Logistics Startup

IMG_3764

สำหรับ Skootar เองมีคนต่างชาติเข้ามาสอบถามเยอะมากเลยครับ ส่วนใหญ่เข้ามาสอบถาม และให้ความสนใจว่าบริษัท Startup ไทยเป็นอย่างไร Skootar ทำอะไร ถามว่า ต่างอย่างไรกับ คู่แข่ง ซึ่งจริงๆ เรามีจุดต่างเยอะ เพราะเจาะตลาดคนละกลุ่มกับคู่แข่ง เพราะฉะนั้น Product ของเราก็ปรับให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมายนั้นที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ที่ถามเยอะเลยคือ จะขยายไปบ้านเขาเมื่อไหร่ ฮ่าๆ ซึ่งเป็นการดีที่เราได้ Validate ไอเดีย เมื่อถึงเวลาที่เราจะขยายครับ

Logistics Startup อื่นๆ ก็แข่งขันกันรุนแรงในหลายๆ ประเทศครับ ทั้งสิงคโปร์ ทั้งอินโดนีเซีย  เราได้เจอหลาย Startup ที่มีแนวโน้มขยายมาที่เมืองไทย แล้วก็คุยกันว่าอาจจะมีการ Partnership ขึ้นแน่นอนครับ

ทั้ง 4 บริษัทของโครงการ dtac ที่ไปร่วมงาน Skootar, Credit Mavin, Giztix และ TakeMeTour นั้น เพิ่งปิด Seed round กันไป ในการมาครั้งนี้ มาเพื่อทำความรู้จักนักลงทุนในภูมิภาค เพื่อปูทางในการ Raise Series A ครับ ก่อนไปที่งานทางผมได้มองดูรายชื่อนักลงทุน ที่น่าจะเป็น Strategic Investor ให้กับ Skootar ได้สำหรับ Series A โชคดีที่ 2 ใน 3 ได้เข้ามาพูดคุยสอบถามเอง ก็ได้คุยกัน เสนอผลงานและ Timeline กันไประดับนึงครับ อีกรายนึง ทาง dtac และ ผู้จัดงานได้จัดให้ทางเราเข้าพูดคุยเป็นการส่วนตัว ก็ถือว่าได้ตรงเป้าหมายที่วางไว้

คุยกับ Credit Marvin หรือ Piggipo FinTech ไทย

การมางานเปิดโอกาสให้เราได้รู้จักนักลงทุนมากขึ้น ซึ่งมีมาจากทั้งในสิงคโปร์เอง อินโดนีเซีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จริงๆ ต้องบอกเลยว่าแล้วนักลงทุนในต่างประเทศยังรู้จัก Startup ไทยน้อยมาก การได้มาออกบูธก็ทำให้เราได้มีโอกาสพูดคุยและรู้จักกับนายทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงได้รู้จักกับ Startup รายอื่นๆทั้งที่ทำ FinTech รวมถึงแนวอื่น อีกทั้งยังมีโอกาสได้พูดคุยกับคนที่เข้ามาชมงาน ซึ่งก็มีมาจากบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Google และ Nielsen ทำให้เราได้เห็น Opportunity ใหม่ๆมากมาย สำหรับ Startup ที่กำลังมองหานายทุนระดับ Series A ขึ้นไป คิดว่าเหมาะมากค่ะ

ของ Credit Marvin เองก็ Feedback ดีนะ มีนายทุนสนใจเยอะ มาเจอนายทุนที่คุยๆ กันไว้อยู่แล้วด้วย เป็นโอกาสได้มารู้จักนายทุนก่อนที่เราจะ Raise Series A นายทุนเขาเห็นเรามาออกบูธงานนี้ ก็ทำให้ดูน่าเชื่อถือ แถมมากับ dtac ช่วยทำให้เขารู้สึกมั่นใจและอยากลงทุน

13052559_10206400973278997_859164153_o 13064098_10206400973439001_308782496_o

แชร์ประสบการณ์จาก TakeMeTour

เห็นว่า TakeMeTour ปีนี้เป็นปีที่สองแล้วที่ได้มาเข้าร่วม แชร์ประสบการณ์ให้เราฟังหน่อยได้ไหมคะ

ใช่ครับ เคยไปงาน Tech In Asia Singapore 2015 มาเมื่อปีที่แล้วด้วย เลยพอรู้ทางในเบื้องต้นว่า งานจะออกมาลักษณะไหน รวมๆ งานครั้งนี้ดีกว่าปีก่อนหน่อย งานใหญ่ขึ้น พื้นที่กว้างขึ้น  มี Startup มาตั้งบูธโชว์เยอะและแน่นมากจริงๆ  ทีนี้คราวนี้โชคดีได้ไปกับทาง dtac Accelerate ก็เลยได้ออกบูธด้วย ถ้าเราเป็น Startup ไปเองก็จะเสียเงินแพง ยิ่งถ้าไปตั้งบูธด้วยก็ยิ่งแพงเป็นราคาหลักหมื่น

พอมีประสบการณ์ครั้งก่อนหรือจากหลายๆ งานก็เลยเรียนรู้ว่า ต้องกำหนด Objective ให้ชัดก่อนเดินทางไป อย่างคราวก่อนเราก็ตั้งใจว่าจะไปหา Investor เพราะคิดว่า การได้ออกงานแบบนี้แหละคือจะได้นักลงทุน ซึ่งมันก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะมันขึ้นอยู่กับ Stage ของธุรกิจเราซะมากกว่า คิดว่าสมัยก่อน Startup มีน้อย นักลงทุนมีเยอะ การได้ไปงานแบบนี้ ก็น่าจะได้นักลงทุนไม่ยาก แต่เดี๋ยวนี้ Startup เยอะแยะไปหมด นักลงทุนก็มาช้อปปิ้งกันสบายๆ เลยกลายเป็นงานแลกนามบัตรกันไป แล้วค่อยไปว่ากันที่ตัวเลขอีกที แล้วยิ่งพอมี Startup เยอะๆ นักลงทุนก็จำเราไม่ได้หรอก ถ้า Product ไม่โดดเด่นหรือ Traction ไม่ได้เจ๋งจริงๆ

เป้าหมายของคราวนี้คืออะไรคะ

ตั้งเป้าคือ ไปหา Partner ทางธุรกิจ กับไปหา Feedback ต่อ Product ของเรา เนื่องจาก TakemeTour มีขาหนึ่งคือต้องทำตลาดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ งานนี้เราเตรียม dtac tourist sim ไปแจกคนที่มาชมบูธด้วย

ได้พบใครบ้างระหว่างออกบูธ

คนที่เข้ามาก็จะมีหลากหลายตั้งแต่

  • นักลงทุน ก็จะมาพูดคุยถาม Business model ถาม Traction แต่เราเพิ่ง Raise fund ไป ก็เลยเป็นการรู้จักกันไว้ก่อน แล้วถ้าจะ Raise รอบถัดไปจะได้มีข้อมูลติดต่อ
  • Corporate firm กลุ่มนี้เจอสองแบบ พวกแรกคือมาเสนอ Solution หรือ Technology ของตนให้เราไปใช้ อีกพวกคือ มาชวนเราเป็น Partnership ซึ่งถือว่าดี
  • Media บางคนก็มาคุยถามข้อมูล ขอถ่ายรูปไปลงคอลัมน์บ้าง ซึ่งก็ดีกับเราเหมือนกัน
  • Student ก็จะมีนักเรียนที่สนใจมาถามในแนวว่า เริ่มต้นอย่างไร ธุรกิจนี้เป็นอย่างไร ยากไหม เพราะนักเรียนที่มาก็น่าจะสนใจในการทำ Startup อยู่แล้ว
  • Startup ซึ่งบางคนก็มาแลกเปลี่ยนเทคนิค บางคนก็มาหา Partnership ขึ้นอยู่กับว่าจะ Support กันได้อย่างไร

ซึ่งทั้งหมดนี้เราก็จะให้เขาลองเล่นเว็บ แล้วก็สังเกตพฤติกรรมการใช้เว็บไซต์ เพื่อเอามาปรับปรุง รวมถึงถามความคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับบริการของเรา ก็จะเจอคำถามที่คนมักจะถาม เราก็เอามาเพิ่มการนำเสนอในเว็บไซต์ได้

Travel Tech รายอื่นๆ เป็นอย่างไรบ้าง

ผมเองก็มีช่วงที่เดินไปชมงานรอบๆ ครั้งนี้มี Travel Tech ไม่เยอะมาก และส่วนใหญ่เป็น B2B เราก็จะเข้าไปคุยกับคนที่มี Product น่าสนใจ ถามมุมมอง หรือพูดคุยกันในมุมของการเป็น Partnership

13062752_10206400973559004_1607497563_o


และนี่คือเรื่องราวของ Startup ในงาน Tech in Asia Singapore 2016 หากมีโอกาส Techsauce จะนำเสนอประสบการณ์ในงานต่างประเทศให้ผู้อ่านอีกครั้ง และอย่าลืมติดตาม International Tech Conference ใจกลางกรุงเทพฯ อย่าง Techsauce Summit ด้วยนะคะ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...