ย้อนดูประวัติโดยคร่าวของ Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชื่อดังระดับโลก | Techsauce

ย้อนดูประวัติโดยคร่าวของ Stephen Hawking นักฟิสิกส์ชื่อดังระดับโลก

พาย้อนไปดูประวัติโดยคร่าวของ 'สตีเฟน ฮอว์คิง' (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยาชื่อดังระดับโลก ซึ่งเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพักที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร (UK) ด้วยวัย 76 ปี ในวันนี้ (14 มีนาคม 2561) ผู้เป็นเจ้าของทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี รวมถึงมีผลงานหนังสือชื่อ A Brief History of Time (ประวัติย่อของกาลเวลา) ที่ขายดีไปทั่วโลกอีกด้วย

Photo : Lwpkommunikacio, Flickr

ครอบครัวแถลงอย่างเป็นทางการ

ครอบครัวของ “สตีเฟน ฮอว์คิง” (Stephen Hawking) ออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการ โดยระบุว่าฮอว์คิงเสียชีวิตอย่างสงบในบ้านพักที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร (UK) ด้วยวัย 76 ปี ในวันนี้

โดยลูก ๆ ทั้งสามคนของฮอว์คิง ได้แก่ Lucy, Robert และ Tim ออกแถลงการณ์ซึ่งมีข้อความดังนี้

"We are deeply saddened that our beloved father passed away today. He was a great scientist and an extraordinary man whose work and legacy will live on for many years. They praised his "courage and persistence" and said his "brilliance and humour" inspired people across the world."

He once said, 'It would not be much of a universe if it wasn't home to the people you love.' We will miss him forever."

คำแปล : ลูก ๆ ของเขากล่าวในแถลงการณ์ว่า เรารู้สึกเสียใจอย่างยิ่งที่ได้สูญเสียของพ่อที่พวกเขารักอย่างยิ่งไป โดยระบุว่า "พ่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ยอดเยี่ยม การทำงานและผลงานของเขาจะอยู่ยืนยงไปอีกหลายสิบปี ความกล้าหาญและเพียรพยายามที่เต็มไปด้วยความฉลาดและอารมณ์ขันของพ่อ เป็นแรงบันดาลให้กับผู้คนทั่วโลก"

พ่อเคยพูดว่า "จักรวาลที่กว้างใหญ่ ก็ไม่มีค่าเท่ากับบ้านที่มีคนที่เรารักรออยู่" เราจะคิดถึงพ่อตลอดไป - ลูก ๆ ของเขากล่าวปิดท้ายในแถลงการณ์

ดูประวัตินักฟิสิกส์ชื่อก้องโลก

เกิดวันที่ 8 มกราคม 1942 ในเมือง Oxford ณ UK

ปี 1959 - เข้ารับตำแหน่งใน Oxford University เป็นอาจารย์ทางด้าน Natural Science ก่อนที่จะมาเรียนปริญญาเอกที่ Cambridge University

ปี 1963 - ตรวจพบว่าเป็น "โรคกล้าเนื้ออ่อนแรง" ถูกวินิจฉัยว่ามีชีวิตอยู่ได้อีกเพียงสองปี ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis: ALS) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อว่าโรคลู เกห์ริก (Lou Gehrig's disease) ซึ่งใน UK เรียกโรคนี้ว่าโรคประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Motor Neurone Disease) ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตหลังจากได้รับการวินิจฉัยเพียงไม่กี่ปี

ปี 1974 - เผยแพร่การทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า "Hawking radiation" หรือ "รังสีฮอว์คิง" (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์คิง) เป็นผลงานที่ทำให้ฮอว์คิง

ปี 1979 - ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์ลูคัสเซียน (Lucasian Professor) ทางด้านคณิตศาสตร์ที่ Cambridge ยาวนานถึง 30 ปี และเกษียณจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อปี 2009 โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีตอย่าง เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) ก็เคยได้รับตำแหน่งเดียวกันนี้

ปี 1988 - ออกหนังสือ A Brief History of Time (ประวัติย่อของกาลเวลา) ขายได้มากกว่า 10 ล้านเล่ม และถูกแปลออกมามากกว่า 40 ภาษา เป็นหนังสือบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา

ปลายยุค 90s มีรายงานว่าฮอว์คิงได้รับยศอัศวินด้วย แต่สิบปีต่อมาข้อมูลเปิดเผยว่าเขาได้ปฏิเสธตำแหน่งนี้ไป เนื่องจากมีทุนของรัฐบาลที่สนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว

ปี 2014 ชีวิตของฮอว์คิงถูกถ่ายทอดออกมาในภาพยนตร์ The Theory of Everything นำแสดงโดย Eddie Redmayne

ผมป่วยมาเกือบตลอดช่วงชีวิตที่เป็นผู้ใหญ่ แต่ผมก็ยังสามารถมีครอบครัวที่สวยงามและประสบความสำเร็จในการงานได้ นั่นแสดงให้เห็นว่า คนเราต้องไม่สิ้นหวัง - Professor Stephen Hawking

หน่วยงานและบุคคลดังต่างร่วมไว้อาลัยต่อการจากไปครั้งนี้

https://twitter.com/theresa_may/status/973839123168579584

https://twitter.com/CERN/status/973851357412298753

https://twitter.com/NASA/status/973787392590172160

https://twitter.com/timberners_lee/status/973778930581803009

https://twitter.com/Cambridge_Uni/status/973798360632168448

อ้างอิงข้อมูลจาก The Guardian, BBC (1), BBC (2), BBC Thai, Pantip และ Manager

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม”

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม” สู่เป้าหมายการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค...

Responsive image

วาฬหัวทุย คุยอะไรกัน? นักวิจัยใช้ AI ถอดภาษาวาฬ พบโครงสร้างเสียงซับซ้อนคล้ายภาษามนุษย์ ปรับเสียงได้ตามเรื่องที่คุย

วาฬหัวทุย หรือ วาฬสเปิร์ม นอกจากจะมีลักษณะพิเศษในเรื่องของสมองที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาสัตว์ วิธีการสื่อสารระหว่างกันเองโดยใช้ ‘เสียงคลิก’ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ให้ควา...

Responsive image

รู้หรือไม่? Netflix ไม่เคยทำจาน แต่เคยทำกล่อง ที่ยกเลิกการขายในนาทีสุดท้าย

Netflix เคยพัฒนา Set-top box ใน Project Griffin ซึ่งเป็นกล่องรับสัญญาณที่ Netflix สร้างขึ้นเพื่อสตรีมภาพยนตร์และรายการทีวีต่างๆ...