ปิดตำนาน 49 ปี นิตยสาร Student Weekly (S Weekly)

"คนรุ่นใหม่ไม่อ่านหนังสือ ไม่จริง เขาย้ายไปอ่านที่อื่น" คำกล่าวปิดตัวนิตยสาร Student Weekly

นิตยสารสอนภาษาอังกฤษอายุร่วม 49 ปีอย่าง S Weekly (หรือชื่อเดิมที่หลายคนรู้จัก คือ Student Weekly) ประกาศยุติการผลิตฉบับพิมพ์ ย้ายสู่ออนไลน์ลงเว็บไซต์ Bangkok Post แทน ระบุเครื่องมือการเรียนรู้ในโลกนี้อยู่บนออนไลน์แล้ว Photo: Bangkok Post

Gary Boyle บรรณาธิการนิตยสาร S Weekly (ชื่อเดิมคือ Student Weekly) เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ Bangkok Post ว่า ที่ผ่านมา Bangkok Post ได้ผลิตนิตยสารที่ชื่อว่า Student Weekly ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2512 ภายใต้ชื่อ Kaleidoscope ซึ่งทำให้เห็นว่านิตยสารยุคแรกที่ลุคดูจริงจัง ภาพเป็นแบบขาวดำ และยังไม่มีการสัมภาษณ์บุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งต่อมาก็ถูกปรับลุคให้ดูสดใส ภาพเป็นสี และมีการสัมษณ์คนดังมากขึ้น

"การศึกษากำลังจะมีการเปลี่ยน เราก็ต้องปรับตัวเช่นกัน การเรียนรู้ไม่ได้สิ้นสุดแค่ที่ตำราเรียนเท่านั้น คลังข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดของข้อมูลและเครื่องมือการเรียนรู้ในโลกนี้อยู่บนออนไลน์แล้วและสามารถเข้าถึงได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ข้อความอย่างเดียวก็ถือว่าดี แต่ข้อความบวกเสียงบวกวีดีโอนั้นดีกว่า การเรียนรู้และเข้าถึงคอนเทนต์ภาษาอังกฤษบนอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขึ้น ดังนั้นมันกลายเป็นความท้าทายต่อนิตยสารต่างๆ ที่เลือกจะยังคงอยู่" Gary กล่าว

ทีมงาน S Weekly ทีมสุดท้ายก่อนนิตยสารปิดตัว | Photo: Bangkok Post

ต่อมา Student Weekly เปลี่ยนชื่อเป็น S Weekly จนในที่สุด 30 กันยายน 2561 ก็ประกาศว่า S Weekly จะผลิตนิตยสารแบบพิมพ์เป็นฉบับสุดท้ายแล้ว โดยไม่มี S Weekly เวอร์ชัน E-Book แต่จะอัพเดทเนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษผ่านเว็บไซต์ Bangkok Post ใน Section ที่ชื่อว่า "Learning" แทน

Gary: ผมมักได้ยินคนพูดว่า “คนรุ่นใหม่ไม่อ่านหนังสือแล้ว” ซึ่งมันไม่เป็นความจริง พวกเขาแค่ไปอ่านผ่านช่องทางที่แตกต่างออกไปจากเดิมนั่นเอง

นอกจากนี้ Gary ก็กล่าวขอบคุณทีมงาน S Weekly ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผู้อ่านทุกอ่าน รวมถึงขอบคุณเหล่าคุณครูทั้งหลายที่บังคับให้นักเรียนทุกคนอ่านนิตยสารฉบับนี้เพื่อนำมาทำการบ้านอีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก Bangkok Post

ความเห็นกองบรรณาธิการ

สำหรับในเมืองไทยภาคธุรกิจที่เห็นจะได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption มากที่สุดธุรกิจหนึ่ง คงจะหนีไม่พ้นธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะนิตยสาร ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ย้ายสู่ออนไลน์แบบเต็มตัวอย่างชัดเจน รวมถึงสะท้อนให้เห็นว่า ในยุคนี้โมเดลการอ่านแบบบอกรับสมาชิกในเมืองไทยอาจจะยังไม่เวิร์คทั้งในแบบออฟไลน์และออนไลน์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...

Responsive image

Techsauce ร่วมกับพันธมิตร ชูจุดแข็งไทย ดึงนักลงทุนเกาหลี

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล ได้จัดกิจกรรม Investment Mission: Korean Investment Opportunities in Thailand โดย Techsauce ได้ร่วมกับพันธมิตร จัดเสวนา และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับโอ...