แน่นอนว่าในช่วงเวลานี้เทศกาลที่เหล่าบรรดาบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ หนีไม่พ้นคงจะเป็นการ "ยื่นภาษี 2565" ที่เวียนมาอีกครั้ง โดยสามารถยื่นภาษีแบบเอกสารได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2566 นี้ ส่วนการยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2566 ในครั้งนี้ Techsauce ได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการยื่นภาษีไว้เพื่อไขข้อสงสัย รวมถึงสิทธิ์ลดหย่อนประเภทต่างๆที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ไว้ที่นี่
คือ ภาษี ที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไปที่มีเงินได้ ไม่ว่าประเภทใด ชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5) วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
1. แบบ ภ.ง.ด.90 คือ ผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับ เช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ
2. แบบ ภ.ง.ด.91 คือ ผู้ที่มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
ปกติการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะยื่นปีละ 1 ครั้ง ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของปีถัดไป ดังนั้นรายได้ที่เกิดขึ้นในปี 2565 นี้ (ปีภาษี 2565) จะต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. 2566 ส่วนการยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ทำได้ถึงวันที่ 8 เมษายน 2566
เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นภาษีตอนกลางปี ภายในเดือนกันยายนของทุกปี
1. เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ซึ่งในเอกสาร 50 ทวิจะมีรายละเอียดสำคัญ เช่น รายได้รวมที่แสดงให้เห็นว่า ในปีนั้นเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ หรือเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด เป็นต้น
2. เอกสารรายการลดหย่อนภาษีกลุ่มต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ หรือบุตร เบี้ยประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอกสารช้อปดีมีคืน เป็นต้น
1. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วเตรียมเอกสารยื่นภาษีที่เกี่ยวข้อง ไปยังสำนักงานสรรพากรทุกพื้นที่
2. กรอกใบ ภ.ง.ด. แล้วให้หน่วยงานบริษัทที่สังกัดยื่นให้
3. ยื่นภาษีออนไลน์ด้วยตัวเอง ผ่านเว็บไซต์ www.rd.go.th
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และคลิกไปที่ "ยื่นออนไลน์" จากจะอยู่ในหน้าของ E-FILING และเลือก "ยื่นแบบออนไลน์"
หากยังไม่มีบัญชีให้กด “สมัครสมาชิก” ก่อน โดยระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน (เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร) วันเดือนปีเกิด เลขหลังบัตรประชาชน ที่อยู่ e-mail พร้อมสร้างรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบ E-filing สำหรับยื่นภาษีออนไลน์
2. เข้าสู่ระบบ E-filing ของกรมสรรพากร
โดยการกรอกชื่อผู้ใช้งาน หรือ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอาการ พร้อมกรอกรหัสผ่าน และกด “ตกลง” จากนั้นยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP 6 หลัก ผ่านเบอร์โทรศัพท์มือถือ
3. เลือกยื่นแบบภาษีเงินได้ ภ.ง.ด. 90/91
อ่านและยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไข ในการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร จากนั้นกด “เข้าสู่ระบบ” และเลือก “ยื่นแบบ” ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90/91
4. กรอกข้อมูลผู้เสียภาษี "เลือกสถานภาพผู้มีเงินได้" ในกรณีที่มี "คู่สมรส" ให้กรอกข้อมูลตามช่องดังกล่าว และคลิกที่ "ทำรายการต่อไป"
5. กรอกข้อมูลเงินได้
กรอกข้อมูลรายได้จากเงินเดือน โดยนำข้อมูลมาจากหนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) พร้อมกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้
และหากใครมีรายได้อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินเดือน เช่น รายได้จากฟรีแลนซ์ รับจ้างทั่วไป และวิชาชีพอิสระ, รายได้จากทรัพย์สิน และการทำธุรกิจ, รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดกหรือได้รับมา ให้กรอกข้อมูลด้วย จากนั้นกด “ถัดไป”
6. กรอกค่าลดหย่อน
กรอกข้อมูลค่าลดหย่อนต่าง ๆ ที่มี เช่น ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา ค่าลดหย่อนบุตร เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม เบี้ยประกันชีวิต กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) หรือเงินบริจาค ฯลฯ
หลังจากกรอกข้อมูลค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้วให้กด “ถัดไป”
7. ตรวจสอบข้อมูล
โดยระบบจะทำการคำนวณภาษีที่ต้องชำระให้อัตโนมัติ ซึ่งหากมีการชำระภาษีไปแล้วระบบจะแจ้งยอดที่ชำระเกิน โดยสามารถขอคืนภาษีที่ชำระเกินได้ รวมถึงนำเงินภาษีที่ชำระเกินไปอุดหนุนพรรคการเมืองได้ หรือจะปฏิเสธก็ได้เช่นกัน จากนั้นกด "ถัดไป"
8. ยืนยันการยื่นแบบ ก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ไม่ว่าจะเพราะสาเหตุอะไรที่ทำให้เราเสียภาษีไม่ทัน จงจำไว้ว่าให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ไปยื่นที่สำนักงานสรรพากรเท่านั้น ! จะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้ แนะนำให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้
1. กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) ของเงินภาษีที่ต้องชำระนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นรายการจนถึงวันชำระภาษี
2. กรณีเจ้าพนักงานตรวจสอบออกหมายเรียก และปรากฏว่ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้หรือยื่นแบบแสดงรายการไว้แต่ชำระภาษีขาดหรือต่ำไป นอกจากจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มแล้ว ยังจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าหรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระแล้วแต่กรณี เงินเบี้ยปรับดังกล่าวอาจลดหรืองดได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
3. กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
4. กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
5. กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
1. ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
2. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
3. ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
4. ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ อาทิ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย, “ช้อปดีมีคืน 2565”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด