TSpace ในเครือ TCC Group ถือหุ้น 51% ใน Tarad.com ปรับธุรกิจไม่อยู่บนสังเวียน Marketplace อีกต่อไป | Techsauce

TSpace ในเครือ TCC Group ถือหุ้น 51% ใน Tarad.com ปรับธุรกิจไม่อยู่บนสังเวียน Marketplace อีกต่อไป

จากที่ Techsauce ได้รายงานถึงการเข้าซื้อ Tarad.com โดยบริษัทในเครือ TCC Group ล่าสุดได้มีการแถลงอย่างเป็นทางการสำหรับดีลครั้งนี้แล้ว โดยบริษัท TSpace Digital ได้ลงทุนใน Tarad.com เว็บ E-Commerce รุ่นบุกเบิกของไทย โดยถือหุ้น 51% มีคุณมารุต บูรณะเศรษฐกุล นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท Tspace ในขณะที่คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง Tarad.com ถือหุ้น 49%

Tspace Digital เป็นบริษัทภายใต้ Adelfos ในเครือ TCC Group ซึ่งได้เคยลงทุนในบริษัทอื่นๆ เช่น อัมมรินทร์ และ Grammy มาแล้ว โดยมีผู้ถือหุ้น คือคุณปณต สิริวัฒนภักดี และคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี โดย Tspace เป็นบริษัทที่เน้นสองเรื่องคือการบริหารเรื่อง Big Data และการลงทุนในธุรกิจดิจิทัล และเพื่อการบุกเบิกสู่ออนไลน์มากขึ้นจึงได้เข้าร่วมลงทุนใน Tarad.com เว็บ E-Commerce ที่โลดแล่นบนโลกออนไลน์มาอย่างยาวนานกว่า 19 ปี

19 ปีของ Tarad.com สู่การ Transform อีกครั้ง

คุณภาวุธ พงษ์วิทยภาณุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง Tarad.com ได้เล่าถึง Timeline ของ Tarad.com ที่ได้ขายให้ Rakuten หรือบริษัทของญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมาการอยู่ใน Rakuten ทำให้ Tarad ไม่สามารถปรับเปลี่ยน Business Model ได้ และมีการขาดทุนมาโดยตลอด ปีนึงเป็นเงินหลักล้านบาท สุดท้ายแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา คุณภาวุธจึงได้ซื้อ Tarad.com คืน ด้วยเหตุผลของฐานร้านค้าและพนักงานที่มีอยู่ พร้อมเปลี่ยน Business Model จนสามารถสะกดคำว่า ‘กำไร’ ได้

โดยในช่วงปี 2016 คุณภาวุธได้ลงเงินใน Startup หลายรายเช่น Siam Outlet , Shippop , Skootar โดยมองว่า E-Commerce นั้นต้องมีให้ครบทั้ง Ecosystem ซึ่งการลงทุนนั้นก็เป็นการทดลองลงทุนไปก่อน ในขณะที่ก็มองหาแนวทางใหม่ให้กับธุรกิจของ Tarad.com ซึ่งแนวทางใหม่ที่มองเห็นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลาย ของเจ้าของร้านค้า ดังนั้นตนจึงต้องการอยู่ข้างบนของทั้งหมด คือการเป็นผู้คุมระบบภายใต้แนวคิด Universal Commerce (U-Commerce)

ปัจจุบันคนไทยขายของผ่าน 3 ช่องทางหลักคือ

  1. Brand Site
  2. Marketplace
  3. Social Media

การที่มีผู้เล่นยักษ์ใหญ่จากจีนเข้ามาทำให้การแข่งขัน Marketplace ดุเดือด ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ซึ่งคงไม่มีใครนำเงินจำนวนมากขนาดนั้นมาใช้ จึงเปลี่ยนโมเดลใหม่ โดยออกจากญี่ปุ่นทำให้ภาพของ Tarad.com ครบมากขึ้น  โดยยึดหลัก 6E ซึ่งให้น้ำหนักที่ E-Commerce Platform

Tarad Group ประกอบด้วย 6E’s

  1. E-commerce (Channel) คือ Universal Commerce ครบทุกวงจรของ E-commerce
  2. E-Marketplace (Customer) คือ Tarad.com และการขายสินค้ามือสอง ซึ่งมีแต่ไม่ได้โฟกัส
  3. E-Marketing (Advertising) การโฆษณา
  4. E-Payment (Transaction) คือ บริการชำระต่างๆ โดยบริการสามารถเชื่อมต่อกับ Social ได้อย่างสะดวก
  5. E-Logistic & Warehouse มีสอง Startup ด้าน Logistic คือ Shippop และ Siam Outlet
  6. E-Knowledge ได้แก่ การให้ความรู้คอร์สเทรนด์ต่างๆที่มอบให้ผู้ประกอบการ

2018 ยุคใหม่ของ Tarad.com กำเนิด Universal Commerce (U-Commerce)

คุณภาวุธได้เผยถึงแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า U-Commerce ของ U-Commerce คือการบริหารระบบทั้งหมดแบบครบวงจร ผู้ขายสามารถมีเว็บไซต์ของตัวเอง สามารถนำสินค้าไปขายบน marketplace เช่น 11street Lazada, Shopee, JD.com ได้ หรือลงขายบน LINE และ Social media ต่างๆได้โดย Tarad จะมี Solution ด้านการชำระสินค้าที่ครบทุกระบบ การส่งสินค้า การโฆษณา เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้ฟรีแบบ freemium และเพิ่มจำนวนเงินเพื่อใช้บริการเสริมอื่นๆได้ โดยคีย์สำคัญคือการเก็บข้อมูลไปวิเคราะห์ Big data ต่อไป

สิ่งที่ได้จากการร่วมมือกับ TSpace Digital

  • รวบรวมข้อมูล Data วิเคราะห์เพื่อให้ลูกค้เข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น
  • ช่วยนำพากลุ่ม TCC Group เข้าสู่โลกออนไลน์
  • เป็นพันธมิตรกับ Marketplace ระดับโลก
  • สนับสนุนนำพาสินค้าและธุรกิจไทยสู่ตลาดโลก (ประชารัฐ)
  • ผนึกกำลังบริษัทไทยด้วยกันด้านดิจิตอล

คุณมาวุตกล่าวว่า "สำหรับการร่วมผนึกกับ Tarad.com นั้นเป็นเพราะเรามองเห็นในศักยภาพของ Tarad.com  โดยเฉพาะจุดแข็งทางด้านธุรกิจ e-commerce ที่เป็นเจ้าแรก รวมถึงความเชื่อมั่นในทีมบริหารของบริษัท ซึ่งการผนึกกำลังกันในครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ Tarad.com จะมาช่วยเสริมความแข็งแกร่งของบริษัทและส่งผลให้ธุรกิจของเราเติบโตได้อย่าง รวดเร็ว”

ด้านคุณภาวุธกล่าวว่า  "ในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจครั้งนี้ เรายังได้ร่วมมือกับ e-Marketplace รายใหญ่ๆ เช่น Shopee และ 11street รวมไปถึงพันธมิตรต่างๆ ในแวดวงธุรกิจออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากร้านค้าใน Tarad.com ออกไปขายในช่องทางที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้าง ยอดขายให้กับผู้ประกอบการได้อีกทาง ที่สำคัญ Tarad.com ยังมีเป้าหมาย ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยทั้งในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับเล็ก กลาง ใหญ่ ให้เข้ามาดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของเรา โดยเราจะเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในทุกๆเรื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถจำหน่ายสินค้าและให้บริการได้เต็มรูปแบบยิ่งขึ้น มีกำไรและดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการไม่ตกเทรนด์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ IOT หรือแม้กระทั่ง Machine Learning ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับ “Taiwan Healthcare Pavilion” โซนจัดแสดงนวัตกรรมทางการแพทย์จาก 26 องค์กรชั้นนำ ในงาน TAIWAN EXPO 2024

กลับมาอีกครั้งกับการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่ล้ำสมัยจากไต้หวันในงาน TAIWAN EXPO 2024 ระหว่างวันที่ 21-23 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ฮอลล์ 5 บูธ...

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...