TCEB เฟ้นหา Startup เข้าร่วมโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 ค้นหาไอเดียนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) สร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศไทย | Techsauce

TCEB เฟ้นหา Startup เข้าร่วมโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 ค้นหาไอเดียนวัตกรรมในอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) สร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศไทย

ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา พวกเราทุกคนนั้นได้เผชิญกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจนน่าใจหาย สิ่งนี้ทำให้เราหลาย ๆ คนนั้นเริ่มหันหน้าเข้าสู่โลกแห่งดิจิทัลและเริ่มคุ้นชินกับโลกของเทคโนโลยีที่เมื่อก่อนอาจจะไม่เคยสนใจด้วยซ้ำ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นพวกเรานั้นจำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเหล่านั้น เพื่อให้ชีวิตของเรานั้นสามารถไปต่อได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย ซึ่งนี่ได้ตอกย้ำความสำคัญของ ‘นวัตกรรม’ และ ‘เทคโนโลยี’ ที่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในโลกของเรา

‘เรานั้นกำลังก้าวสู่โลกแห่งดิจิทัล’ เป็นประโยคที่เราอาจจะคุ้นหูและได้ยินอยู่เป็นประจำ แต่แน่นอนว่าโลกแห่งดิจิทัลนี้จะไม่เกิดถ้าหากไม่มีผู้สรรสร้างนวัตกรรม Tech เหล่านี้ให้เกิดขึ้น แน่นอนว่า Startup นั้นเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้นั้นเกิดขึ้น ด้วยกระบวนการบ่มเพาะความคิด การต่อยอด การแก้ปัญหา การสร้างผลิตภัณฑ์ และการเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ Startup นั้นไม่เพียงตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้อย่างเดียว แต่ยังเป็นส่วนช่วยในการผลักดันประเทศสู่เศรษฐกิจแบบ ดิจิทัลและขับเคลื่อนสังคมให้ยังสามารถเดินไปต่อได้ ทั้งนี้ทำให้ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB นั้นได้เล็งเห็นความสำคัญของการสนับสนุน Startup ในประเทศไทย และได้จัดโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 ขึ้นมา เพื่อเฟ้นหาบริษัทที่มีไอเดียนวัตกรรมธุรกิจไมซ์ (MICE) ที่โดดเด่น ให้การสนับสนุนทั้งการพัฒนาโซลูชันให้เกิดขึ้นได้จริง พร้อมเงินรางวัลจำนวนกว่า 750,000 บาท

Startup จากจุดเล็ก ๆ ที่กลายมาเป็น Game Changer ของโลกธุรกิจ

ในอดีต เราอาจจะไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะมีธุรกิจที่สามารถจะเรียกแท็กซี่ได้อย่างง่ายดายเพียงใช้แค่แอปพลิเคชัน แต่บริษัทอย่าง Grab ก็สามารถสร้างโซลูชันนี้ขึ้นมาได้ ด้วยแนวคิดเริ่มต้นที่อยากจะแก้ปัญหาการเรียกแท็กซี่ที่แสนจะยากลำบาก จนกลายมาเป็นหนึ่งในผู้นำวงการ Startup ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่าการปล่อยบ้านหรือคอนโดให้นักท่องเที่ยวเข้าพักนั้นอาจจะดูยุ่งยากและค่อนข้างเสี่ยง แต่ Airbnb ก็ได้เข้ามาไขปัญหานี้ได้อย่างถูกจุด สร้างรายได้ให้แก่ผู้ใช้งานและได้ขยายการให้บริการไปยังทั่วโลก ทำให้เราเห็นได้ว่าไอเดียหรือนวัตกรรมเหล่านี้นั้นเกิดจากสิ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน  ซึ่งเริ่มจากจุดเล็ก ๆ จนกลายและขยายมาเป็นไอเดียที่เรียกได้ว่าเป็น Game Changer ของธุรกิจในยุคนี้ จากแนวคิดที่ต้องสรรสร้างและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อม ‘เปลี่ยนปัญหาให้กลายมาเป็นโซลูชัน’ ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัลนั้นง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น

ต่อยอดศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ด้วยนวัตกรรมจาก Startup ไทย

แน่นอนว่าหลากหลายอุตสาหกรรมไทยนั้นต้องการนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่จะมาช่วยเร่งการเติบโตและแก้โจทย์ (Pain Point) ที่เกิดขึ้นอยู่ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ที่มีบทบาทในการจัดงานประชุม งานแสดงสินค้า หรืองานสัมมนาต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมต่อสังคมกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลายราย ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ หรือภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น เรียกได้ว่าการทำงานของอุตสาหกรรมไมซ์นั้นเป็นการเชื่อมต่อระหว่างผู้บริโภคและภาคธุรกิจอย่างแท้จริง 

ซึ่งสำหรับในประเทศไทยนั้น Startup ในกลุ่มธุรกิจของวงการไมซ์นั้นอาจจะยังมีจำนวนไม่มากนัก พร้อมกับนโยบายเศรษฐกิจ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ ของไทยที่จะผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจแบบดิจิทัลนั้นทำให้ทาง TCEB ได้จัดโครงการ Thailand’s MICE Startup ขึ้นมาต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เนื่องจากมองเห็นถึงโอกาสในการสร้าง Ecosystem ที่มีความแข็งแกร่ง และส่งต่อความเข้าใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไมซ์ให้แก่ Startup หรือกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่ใช้ไมซ์เป็นแพลตฟอร์ม ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างการรับรู้ของธุรกิจไมซ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง อีกทั้งมีช่องทางสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ในการแลกเปลี่ยนความรู้ต่อยอดการจัดงานให้ดียิ่งขึ้น และยังพัฒนาให้ศักยภาพของวงการไมซ์ไทยนั้นสามารถที่จะก้าวไปแข่งขันในระดับนานาชาติ

TCEB ชวน Startup เข้าร่วมโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 เปิดโอกาสค้นหาโซลูชัน แก้ไขโจทย์ในธุรกิจไมซ์ สร้างอนาคตใหม่ให้ประเทศไทย 

สำหรับโครงการ Thailand's MICE Startup 2020  นั้นเกิดขึ้นจากความร่วมมือจากสํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA, สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA, สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ NSTDA และหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นเวทีในการพัฒนาธุรกิจ นําไปสู่การแบ่งปันความรู้ความเข้าใจในธุรกิจไมซ์กับเครือข่ายด้านนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ในการผสานการใช้นวัตกรรมร่วมกับการจัดงานไมซ์ 

รวมถึงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในต้นปีที่ผ่านมา ทำให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ซึ่งอุตสาหกรรมไมซ์ก็เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤติในครั้งนี้ ทำให้งาน Thailand’s MICE Startup 2020 นั้นจึงต้องร่วมผลักดันและส่งเสริม Ecosystem ของ Startups และ Tech Entrepreneurs ให้สามารถที่จะสร้างโซลูชันที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและเป็นโซลูชันที่จะแก้ปัญหาที่อุตสาหกรรมนั้นเผชิญได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์นั้นเผชิญปัญหาหลากหลาย อย่างเช่น ปัญหาขั้นตอนการดำเนินงานที่ทับซ้อนหรือการบริหารจัดการเวลาและทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ เนื่องจากการเป็นผู้ดำเนินการจัดงานประชุมนานาชาติต้องมีการวางแผนการเตรียมงาน และการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อที่จะดำเนินงานตั้งแต่ต้นจนจบให้สอดคล้องตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ดังนั้นการวางแผนนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการจัดงานประชุมนานาชาติ เพราะถ้าหากมีการเตรียมงานที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องของการทำงานที่ซ้ำซ้อนหรือการบริหารระยะเวลาและทรัพยากรที่มีอยู่ได้ไม่ดีพอ ทำให้ต้องมีโซลูชันที่ช่วยให้ผู้ที่ต้องการจัดงานประชุมนานาชาติ สามารถเตรียมงานและบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุก ๆ ช่วงการดำเนินงานภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มี

นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางเรื่องการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างมาก ด้วยกลุ่มการประชุม นิทรรศการเฉพาะกลุ่ม และ Mega Event ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นในระยะหลังนี้ ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เข้าร่วมงานและศิลปินนั้นมีตัวเลือกที่หลากหลายในการเลือกที่จะเข้าร่วม ทำให้ต้องมีโซลูชันที่จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมงานนั้นได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ประทับใจ รวมถึงทำให้งานนั้นเป็นที่จดจำและกลับมาร่วมเข้างานในครั้งต่อไป

  • สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการและ Problem Statement ทั้งหมดได้ที่: https://www.thaimiceinnovation.com/

TCEB จึงเปิดโอกาสให้ทั้งผู้ประกอบการ (Business), นักออกแบบ (Designer) และนักพัฒนา (Developer) มาร่วมเสนอไอเดียที่จะนําไปสู่การยกระดับภาคอุตสาหกรรมไมซ์และ Startups เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก และพัฒนาการจัดงานของอุตสาหกรรมไมซ์ได้อย่างยั่งยืนภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน

โดยในปีที่ผ่านมา Thailand’s MICE Startup 2019 นั้นได้รับเสียงตอบรับอย่างล้นหลามจาก Startup ซึ่งสุดท้ายก็ได้ 3 ทีมที่มีไอเดียโดดเด่นอย่าง SNEAK, Mindstree และ Potioneer ที่ได้ร่วมทำการพัฒนาโซลูชันออกมาให้ใช้ได้จริง แต่สำหรับในปีนี้ Thailand’s MICE Startup 2020 นั้นจะไม่เหมือนเดิม เพราะได้มีการปรับกลยุทธ์การจัดทําโครงการพัฒนา Startup ด้านนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดงานไมซ์ ให้สามารถผลักดันและส่งเสริม Startup Ecosystem ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมาช่วยแก้ปัญหาในช่วงวิกฤตและยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมเสริมมิติใหม่ด้วยการดึงผู้ที่มีโซลูชัน มาพบกับผู้ที่มี Pain Point ผ่านโครงการ Thailand's MICE Startup 2020

6 กิจกรรมและเวิร์คช็อปอัดแน่น ตลอดระยะเวลา 3 เดือน พร้อมรางวัลกว่า 750,000 บาท

ภายในตัวโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 นั้นมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ต่อเนื่องไปถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เป็นระยะเวลาทั้งสิ้นทั้งหมด 3 เดือน ซึ่งจะแบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 กิจกรรม 

  • Thailand MICE United นำ Startup และผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมโครงการผ่าน Dating Platform มา Physical Dating และออก Boothโชว์ผลงานปัจจุบัน ในวันที่ 2 กันยายน 2563
  • Open Innovation Challenge Pitching เพื่อค้นหา Startup จำนวน 3-5 ทีมเพื่อเข้าร่วม Incubation Program กับ RISE วันที่ 30 กันยายน 2563
  • Networking Event จัดขึ้นในวันที่ 30 กันยายน 2563 หลังจากกิจกรรม Open Innovation Challenge Pitching
  • Incubation Program จัดขึ้นในวันที่ 8, 15, 22 และ 29 ตุลาคม 2563
  • Demo Day Pitching เพื่อหาผู้ชนะ 3 ทีม ร่วมรับเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 750,000 บาท  ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563

นอกจากกิจกรรมที่อัดแน่นไปด้วยความรู้และประโยชน์ ทางโครงการยังมอบการสนับสนุนอีกมากมายให้กับผู้เข้าร่วม Thailand’s MICE Startup 2020 ดังนี้

  • ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จะถูกบรรจุอยู่ใน MICE Innovation Catalogue เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้ร่วมงานในอุตสาหกรรม MICE ในอนาคต โดยมีรูปแบบสิทธิประโยชน์คือ
    • ได้รับการโปรโมท Solution ของบริษัทฯ และจับคู่ธุรกิจไมซ์ที่ Technology สามารถเพิ่มประสิทธิภาพหรือยกระดับผู้ประกอบการไมซ์ อาทิ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้า โรงแรม ผู้จัดงาน ผู้ให้บริการด้านโลจิสติก และอื่น ๆ
    • เพิ่มโอกาสในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการไมซ์ที่มี MICE Inno Voucher มูลค่าสูงสุด 200,000 บาท (เฉพาะผู้จัดงานแสดงสินค้าและ Mega Event ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสปน)
  • ทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Incubation Program กับ RISE จะได้ เงินลงทุน ระหว่างเข้าร่วม Incubation Program จำนวน 30,000 บาทต่อทีม เพื่อเป็นงบในการพัฒนา โซลูชันให้เกิดขึ้นได้จริง
  • หลังจากจบ Incubation Program ทุกทีมจะต้องนำเสนอ Solution ต่อคณะกรรมการ ภายใน กิจกรรม Demo Day เพื่อแข่งขันรับรางวัล ซึ่งประกอบไปด้วย
    • รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงินรางวัล 400,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท
  • สำหรับทีม Startup ที่ไม่ได้เข้าร่วม Incubation Program แต่สนใจมาแข่งขันนำเสนอ โซลูชันในกิจกรรม Demo Day ด้วย จะได้แข่งขันเพื่อลุ้นรับรางวัล Popular Vote จำนวน 50,000 บาท

ถือว่าเป็นโครงการที่พลาดไม่ได้สำหรับ Startups หรือผู้ที่สนใจจะริเริ่มนวัตกรรมธุรกิจไมซ์ อยากที่จะเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะความคิด พบกับผู้มีประสบการณ์ที่จะคอยชี้แนวทางและแชร์ความรู้ พร้อมด้วยกันกับการสร้างสรรค์ให้โซลูชันนั้นเกิดขึ้นได้จริง และร่วมเป็นหนึ่งในแรงผลักดันที่ยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมและเศรษฐกิจแบบดิจิทัลได้อย่างแท้จริง

หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลง และอยากที่จะพาประเทศไทยก้าวสู่ยุคดิจิทัล สามารถสมัครเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thailand’s MICE Startup 2020 ผ่าน 4 ขั้นตอนง่าย ๆ ได้ที่: https://www.thaimiceinnovation.com/


บทความนี้เป็น Advertorial



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Willow ชิปควอนตัมจาก Google แรงทะลุจักรวาล ประมวลผลเรื่องยากได้ในเวลา 5 นาที เร็วกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ล้านล้านเท่า

Willow คือชื่อชิปควอนตัมใหม่ที่ Google พัฒนาสำเร็จ โดยแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวติ้ง ชิปตัวนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็ว...

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...