เปิดวิสัยทัศน์ 'ธีรนันท์ ศรีหงส์' หลังนั่งเป็นประธานคนใหม่ของ TMA | Techsauce

เปิดวิสัยทัศน์ 'ธีรนันท์ ศรีหงส์' หลังนั่งเป็นประธานคนใหม่ของ TMA

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA เปิดตัว 'ธีรนันท์ ศรีหงส์' นั่งเป็นประธานคนใหม่ของ TMA เพื่อมุ่งสู่เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล เปิดวิสัยทัศน์เป้าหมายหัวใจสำคัญ 3 เรื่อง เพิ่มประสิทธิภาพผู้บริหารและองค์กรในประเทศไทยเติบโตอย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน แข่งขันได้ระดับสากล แนะภาครัฐปรับเปลี่ยนวิธีการจากผู้ควบคุมเป็นผู้สนับสนุน

คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซลาร์ คอนซัลติ้ง จำกัด (ก่อนหน้านี้เคยเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการ KBANK และอดีตประธานกรรมการบริษัท KASIKORN Business-Technology Group หรือ KBTG) ล่าสุดเข้ารับตำแหน่งประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) อย่างเป็นทางการแล้ว

และในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ TMA Center for Competitiveness ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จนปัจจุบันประเด็นนี้ได้ถูกกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ และกำหนดในรัฐธรรมนูญให้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาล


อ่านประกอบ:


คุณธีรนันท์กล่าวว่า TMA เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร มุ่งเน้นการสร้างผู้บริหารที่มีคุณธรรมและความสามารถ มีเป้าหมายสูงสุดคือการช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับองค์กรและประเทศ ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยจากนี้จะมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งและความพร้อมของการพัฒนาผู้บริหารในอนาคตที่ต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และนำไปใช้ประโยชน์ได้

มีเป้าหมาย 3 เรื่องหลัก คือ

  • การสร้างเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในกลุ่มผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน
  • การบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
  • การพัฒนาความเป็นผู้นำ ซึ่งธุรกิจจะสำเร็จได้ต้องทำ Partnership แบ่งผลประโยชน์กัน และบริหารความเสี่ยง

ทั้งนี้ การทำงานของ TMA จะสร้างโอกาสการเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านกิจกรรมต่างๆ รวมถึงแสวงหาความร่วมมือและเสาะหาองค์ความรู้จากที่ต่างๆ ทั่วโลก เช่น การร่วมมือกับ International Institute for Management Development (IMD) จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จัดกิจกรรมและงานสัมมนาเพื่อการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เป็นต้น ซึ่งอนาคต จะนำความรู้ที่ได้จากเครือข่ายทั่วโลกมาบูรณาการ โดยกำลังมุ่งเน้นเรื่องนวัตกรรม (Innovation) เรื่องความยั่งยืน (Sustainability) และเรื่องขีดความสามารถในด้านดิจิทัล (Digital Competitiveness) ให้ความสำคัญเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งเรื่องดิจิทัล

ที่ผ่านมา TMA ได้ริเริ่มโครงการ Agro-Food Sector Innovation ร่วมวางแผนยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงเครือข่ายในอุตสาหกรรมอาหารมาโดยตลอด ซึ่งทำงานร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับ Food Innopolis ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ในการเสาะหาแหล่งองค์ความรู้เชื่อมโยงเครือข่ายและช่วยสนับสนุนการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็น Food Innovation Hub ในภูมิภาค

“เป้าหมายปลายทางที่ต้องการเห็น คือ ภาคธุรกิจของประเทศไทยเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งจะไม่ได้ทำงานตามลำพัง ต้องมีภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคราชการสนับสนุนส่งเสริม ทั้งนี้การจะสำเร็จผลได้ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งจากการเป็นผู้ควบคุม สู่ผู้สนับสนุนให้ธุรกิจนั้นๆ เกิดได้ อย่างไรก็ตาม รัฐยังคงความเป็นผู้ดูแลกฎกติกาอยู่”

หลักสูตรผู้บริหารในอนาคต

กิจกรรมของ TMA มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นผู้นำ สร้างทักษะ ความรู้ความสามารถที่จะนำไปใช้จริงในการทำงาน โดยกำลังพัฒนาหลักสูตรสร้าง Leaders of the Future ร่วมกับสถาบันชั้นนำของโลกหลายแห่ง เพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน

การออกแบบหลักสูตรจะทำแบบสอบถามความต้องการของนักธุรกิจที่หลักๆ เป็นสมาชิกของ TMA อยู่แล้ว และมีพันธมิตรทางธุรกิจอยู่ต่างประเทศ จะทราบว่า แนวคิดความต้องการของผู้นำธุรกิจในต่างประเทศเป็นอย่างไร จะนำเสนอความต้องการให้พัฒนาองค์ความรู้ด้านใดบ้าง เป็นการผสมผสานให้เข้ากับความต้องการของธุรกิจในประเทศและต่างประเทศเข้าด้วยกัน ทำให้จำนวนผู้เข้าเรียนเพิ่มมากขึ้นเกินเป้าหมายในปีที่ 2 และมีแนวโน้มจะเพิ่มอีกมากในปีต่อไป

ทางด้านคุณวรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร TMA เผยที่มาของเนื้อหาของหลักสูตรพัฒนานักบริหารรุ่นใหม่ว่า ได้สำรวจความเห็นของซีอีโอระดับ Top 100 ท่านของประเทศไทยถึงประเด็นอนาคต ถ้าประเทศไทยจะก้าวหน้าต่อไปได้ผู้บริหารต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง ได้คำตอบว่า ต้องมีเรื่อง Global Mindset, Communication, Agility, Diversity Management ความตระหนักรู้ ความยั่งยืน การบริหารจัดการคน รวมกับความต้องการของสมาชิก TMA นำมาสร้างหลักสูตรให้ง่ายขึ้น มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และมีประโยชน์ต่อการใช้งานได้จริง เช่น เรื่อง Digital Literacy, Innovation, Business Sustainability มีองค์กรใหญ่ๆ ที่เป็นสมาชิก เช่น เอสซีจี, เบทาโกร, ปตท, ไทยออยล์, อะเมซอน ฯลฯ

“นอกจากนี้ TMA ยังมีโครงการ 'สร้างนักบริหารดีและเก่ง' เป็นการจัดแคมป์ให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษา เพื่อให้ได้มีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาจากผู้บริหาร และพานักศึกษาไปเข้าแคมป์เพื่อศึกษาดูงานจริง โดยปีที่แล้วมีการสอนเรื่อง Global Mindset ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เป็นผู้สอนด้วยตัวเอง เป็นต้น” คุณวรรณวีรา กล่าวทิ้งท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...