กสิกรไทยเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนใน Vertex Ventures SEA/India Fund III เป็นแบงก์แรก | Techsauce

กสิกรไทยเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนใน Vertex Ventures SEA/India Fund III เป็นแบงก์แรก

Vertex Ventures Southeast Asia and India (Vertex SEA/India) ประกาศว่าธนาคารกสิกรไทยเป็นนักลงทุนสถาบันแห่งแรกของไทยที่ได้เข้าเป็นพันธมิตร รวมทั้งเป็นนักลงทุนประเภทธนาคารรายแรกของกองทุนฟันด์ 3

คุณขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าเป็นพันธมิตรกับ Vertex Ventures ของสิงคโปร์ โดยเข้าร่วมเป็นผู้ลงทุนใน Vertex Ventures Southeast Asia and India Fund III (Vertex SEA/India) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีศักยภาพและประสบการณ์สูง ประสบความสำเร็จในการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพระยะเริ่มแรก เช่น การเป็นนักลงทุนสถาบันรายแรกที่ลงทุนใน Grab เป็นต้น จึงเชื่อมั่นว่าการที่ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าเป็นพันธมิตรผ่านการลงทุนในกองทุนฟันด์ 3 ครั้งนี้ เครือข่ายพันธมิตรของ Vertex Ventures จะช่วยให้ธนาคารฯ ได้เข้าถึงโอกาสใหม่ ๆ ในภูมิภาค และสามารถก้าวขึ้นสู่เวทีโลกในการติดตามนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและแบบแผนทางธุรกิจในภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย

ธนาคารกสิกรไทยเป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของไทย ได้จัดตั้งบริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด ขึ้นเป็นหน่วยงานใหม่ล่าสุดที่จะดูแลด้านการลงทุนในกองทุนร่วมลงทุน(venture capital fund – VC fund) และธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรมทางการเงินซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธนาคาร มีวงเงินลงทุนเริ่มต้นจำนวน 1,000 ล้านบาท กำหนดนโยบายที่จะลงทุนโดยตรงในธุรกิจสตาร์ทอัพของไทยและต่างประเทศและการลงทุนผ่าน VC fund ชั้นนำ   มีนายธนพงษ์ ณ ระนอง ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ

คี ล็อค ฉัว หุ้นส่วนผู้จัดการ Vertex SEA/India กล่าวว่า ทางกองทุนมีความยินดีที่ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้ นับเป็นนักลงทุนสถาบันแห่งแรกของไทยที่ได้เข้าเป็นพันธมิตร รวมทั้งเป็นนักลงทุนประเภทธนาคารรายแรกของกองทุนฟันด์ 3 ด้วย ธนาคารกสิกรไทยนับว่าเป็นธนาคารฯ ที่มีความก้าวหน้าในการเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ และพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการอันหลากหลายของลูกค้า ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางของธนาคารฯ และการทำงานร่วมกันของทั้งสองสถาบันจะนำไปสู่โอกาสทางการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่กองทุนนี้มีการลงทุนอยู่ ทั้งนี้ พบว่าการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากจำนวนเงินลงทุน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2551 เป็น 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนดังกล่าวเป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ เรามั่นใจว่าจากความสนใจของประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่มีเพิ่มขึ้นต่อธุรกิจสตาร์ทอัพและระบบการร่วมลงทุน จึงเชื่อว่าการเจริญเติบโตของธุรกิจดังกล่าวในภูมิภาคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอนาคต

FinTech นับว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของกองทุนนี้ เนื่องมาจากบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างคุณค่าในสาขาธุรกิจการเงินได้มากขึ้น ที่ผ่านมา กองทุน Vertex SEA/India ได้ลงทุนใน FinTech ที่หลากหลาย เช่น Instarem – แพลทฟอร์มของการชำระเงินระหว่างประเทศทางออนไลน์ Validus – แพลทฟอร์มการให้กู้ยืมแก่ SME และ Turnkey Lender – แพลทฟอร์มการจัดการด้านเงินกู้ของธนาคารบนระบบคลาวด์    และเชื่อมั่นว่าด้วยองค์ความรู้ของธนาคารกสิกรไทยในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมการเงินของไทย จะเป็นประโยชน์ต่อกองทุนในการลงทุนใน FinTech ภูมิภาคนี้อย่างแน่นอน

Vertex Venture SEA Management ซึ่งได้รับการอนุญาตให้ประกอบธุรกิจโดยธนาคารกลางของประเทศสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore – MAS) ได้จัดตั้งกองทุนนี้ขึ้นหลังจากที่ได้ประสบความสำเร็จในการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนใน Grab ซึ่งเพิ่งสามารถระดมทุนจาก Softbank และ Didi Chuxing ได้ถึง 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือนกรกฎาคม 2560 นอกจากนี้ Vertex SEA/India ยังเป็นนักลงทุนสถาบันรายแรกที่ลงทุนในธุรกิจเด่น ๆ ในภูมิภาค เช่น Patsnap, M17 และ Reebonz สำหรับกองทุนฟันด์ 3 จะลงทุนตามยุทธศาสตร์ของ Vertex คือ มุ่งเน้นธุรกิจที่มีศักยภาพและนวัตกรรมในระดับสูง โดยจะสร้างธุรกิจดังกล่าวให้กลายเป็นธุรกิจระดับโลกต่อไป ขณะนี้กองทุนฟันด์ 3มีขนาดที่ใหญ่กว่าเป้าหมายคือ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว และกำลังจะปิดกองครั้งสุดท้าย

เกี่ยวกับ Vertex Venture Holdings

Vertex Venture Holdings Ltd เป็นบริษัทในเครือของ Temasek Holdings ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital) ในตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและธุรกิจด้านสุขภาพ ผ่านการลงทุนโดยตรงทั่วโลกของกลุ่ม Vertex Venture Holdings มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์และมีเครือข่ายนักลงทุนทั่วโลกที่มีความชำนาญในตลาดแต่ละท้องถิ่น ประกอบด้วย ซิลิคอน วัลเลย์จีน, อิสราเอล, อินเดีย, ไต้หวัน และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...