เผยยุทธศาสตร์ปี 2017 Tencent Thailand เจ้าของ Sanook! และ JOOX และความร่วมมือกับ WeChat ในจีน | Techsauce

เผยยุทธศาสตร์ปี 2017 Tencent Thailand เจ้าของ Sanook! และ JOOX และความร่วมมือกับ WeChat ในจีน

  • เปิดเผยโครงสร้างของบริษัทเทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) = Content and Services Platform
  • เปิดเผยแผนและวิสัยทัศน์ในปี 2017 ทั้งในภาพรวมธุรกิจ และเรื่องกลยุทธ์ทางด้าน Content

ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการออกมาว่า บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด

Tencent คือใคร?

Tencent เป็นหนึ่งในสามบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน ซึ่งประกอบไปด้วย B-A-T ได้แก่ Baidu, Alibaba, Tencent โดย Tencent เป็นเจ้าของแอปพลิเคชันแชทที่คนใช้มากที่สุดในจีน อย่าง WeChat และ QQ ซึ่งมีผู้ใช้ราว 800 ล้านคน รวมถึงเป็นเจ้าของอีกสารพัดโปรดักส์ สำหรับในประเทศไทย มี Sanook.com และ JOOX อีกทั้งเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตระดับ Top 5 ของโลกในแง่ Market Cap

วันนี้ 19 ธันวาคม ทางเทนเซ็นต์  (ประเทศไทย) ได้ออกมาประกาศเปิดตัวอย่างเป็นทางการ โดยมีสาระสำคัญต่างๆ ได้แก่

[toc]

โครงสร้างธุรกิจของ เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) ในปัจจุบัน

หากจะให้นิยามด้วยคำจำกัดความสั้นๆ เราสามารถมองได้เป็น Content and Services Platform โดยประกอบไปด้วย 3 แกนหลัก ได้แก่

1. News & Portal

ซึ่งก็คือเว็บ Portal ชั้นนำ Sanook.com

2. Entertainment & Multimedia Platforms

ซึ่งประกอบด้วย JOOX มิวสิคแอปพลิเคชัน ซึ่งเปิดให้บริการในไทยมาเกือบๆ 1 ปีแล้ว

นอกจากนี้ยังมีบริการเกมส์มือถือ เช่น Ultimate Legends ซึ่งติดอับท็อปในหมวดเกมส์บน App Store

3. Services

ประกอบด้วย Topspace บริการด้านดิจิทัล เซอร์วิส เอเจนซี่แบบครบวงจร มีประสบการณ์มากว่า 12 ปี

แพลตฟอร์มของเทนเซนต์ในปีหน้า

ปีหน้าทางเทนเซนต์จะเพิ่มเติมจิ๊กซอลงไปในทั้งสามส่วนโครงสร้างที่ได้แนะนำไปเมื่อครู่

สำหรับ News & Portal จะรุดหนักโปรดักส์ใหม่ ชื่อว่า NoozUp (นิวส์อัพ) ซึ่งเป็นโมบายล์แอปพลิเคชันเกาะกระแสสำหรับกลุ่มคนเมือง กลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่ Fear of Missing out (FOMO)

สำหรับ Entertainment จะมุ่งไปที่ V Station ซึ่งเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ของ JOOX สำหรับทำ Live Streaming โดยผู้ใช้สามารถ Interact กับศิลปินได้เลย และจะมีงาน Live และงานคอนเสิร์ตต่างๆ เปิดตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้า

ในส่วนของ Services นั้น จะมุ่งเรื่องการ Synergy กับ WeChat ในประเทศจีน เช่น ลูกค้าของ Topspace สามารถสร้าง WeChat Official Account และซื้อสื่อใน WeChat สำหรับธุรกิจที่จะขยายไปประเทศจีน และต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคชาวจีน หรือคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศจีน

สรุปแพลตฟอร์มของเทนเซนต์ออกมาได้เป็นดังภาพ

tencent-thailand-platforms-structure

การพาร์ทเนอร์และการลงทุนใน Startup

นอกจากนี้เทนเซนต์ (ประเทศไทย) ยังให้ความสนใจเรื่องการร่วมพาร์ทเนอร์กับบริษัท Startups สำหรับเคสที่ผ่านมาแล้วนั้น ได้แก่ การเปิด learning.sanook.com โดยการจับมือกับ SkillLane และคอนเทนต์ที่เป็นการ์ตูนก็มีการร่วมมือกับ Ookbee

นอกจากเรื่องความร่วมมือแล้ว ยังมองเรื่องการลงทุนใน Startup อีกด้วย โดยจะเป็นการลงทุนในนามของ Tencent Headquarter จากประเทศจีน ซึ่งมองหาทั้งดีลประเภท Investment และดีล M&A

Startup แบบไหนที่ทางบริษัทสนใจ คุณกฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่ามุ่งสนใจใน Startup สายคอนเทนต์โดยเฉพาะ ตามวิสัยทัศน์ที่ต้องการมุ่งเป็นเบอร์หนึ่งในด้าน Content Ecosystem

มุ่งสู่ Content Ecosystem

Cross-platform Branded Content

การทำ Branded Content เป็นธุรกิจที่เราเห็นได้ทั่วไปในธุรกิจสายคอนเทนต์ แต่สำหรับเทนเซนต์ จะมียุทธศาสตร์สำคัญโดยการนำเสนอบริการแบบ Cross-platform ทำให้ Branded Content สามารถทำ Synergy ไปอยู่บนสารพัดแพลตฟอร์มของเทนเซนต์ได้ เช่น เป็นบทความบน Sanook! และ NoozUp เป็นเพลงหรือวีดีโอบน JOOX รวมถึงการกระจายไปยังช่องทาง WeChat เป็นต้น

cross-platform-branded-content

การผสมผสาน PGC และ UGC

ปกติแล้วเราจะสังเกตได้ว่าคอนเทนต์ของเทนเซนต์ จะเน้นแบบ PGC (Professional-generated content) แต่ในปีหน้าเองก็จะมีการผสมผสานกับ UGC (User-generated content) มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น JOOX ในเดือนหน้า จะมี Public playlist ให้คนสามารถเปิด playlist ของตัวเองเป็น public ให้คนมา follow ได้

More Video Content

คอนเทนต์จะมีทำออกมาในรูปแบบวีดีโอมากขึ้น ทั้งทำเอง และทำแพลตฟอร์มทำงานร่วมกับเจ้าของรายการ เช่น Thailand Got Talent และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ

คุณกฤตธี เปิดเผยว่าทางบริษัทต้องการทำให้ครบ ปัจจุบันมีความแข็งแกร่งด้านการอ่าน (บทความบน Sanook!) การฟัง (JOOX) แล้ว ยังมี "การดู" ที่ตั้งใจจะขยายเพิ่มเติม

Go International

เมื่อไม่นานมานี้ Sanook! เพิ่ง Spin off ออกมาเป็นเว็บไซต์เวอร์ชันภาษาลาวในนาม Muan.la (Muan แปลว่าสนุก) อันเนื่องมาจากมี Traffic จากประเทศลาวมาอ่าน Sanook! ค่อนข้างมาก

สำหรับตัว JOOX เองก็มีเปิดให้บริการที่ประเทศอินโดนีเซียแล้ว

ภาพรวมทิศทางคอนเทนต์ในปีหน้า และสถิติที่ผ่านมา

tencent-thailand-2017-content-roadmap

sanook-2016-statisticstencent-thailand-group

นับว่าเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าสนใจติดตามความเคลื่อนไหว ปัจจุบัน Sanook! มีผู้ใช้มากถึงราว 30 ล้านคน และ JOOX อีกราว 22 ล้านคนในเมืองไทย ซึ่งวันที่ 28 มกราคมปีหน้า JOOX จะอายุครบปีพอดี และจะมีออกมาประกาศความคืบหน้าแบบเจาะลึกอีกที

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...