Tesco Lotus ลุยทำ Hackathon ครั้งแรก หวังดึง Startup สร้างนวัตกรรมให้วงการค้าปลีก | Techsauce

Tesco Lotus ลุยทำ Hackathon ครั้งแรก หวังดึง Startup สร้างนวัตกรรมให้วงการค้าปลีก

Tesco Lotus เปิดตัว Hackathon จากวงการค้าปลีกเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อ Tesco Lotus Hackathon 2018 ในธีม “ค้าปลีกยุคใหม่ สู่ประเทศไทย 4.0” เปิดโอกาส Startup จากทุกวงการ ระดมความคิดและเฟ้นหานวัตกรรมที่ตอบโจทย์พฤติกรรมลูกค้ายุคดิจิทัล พร้อมนำไอเดียชนะเลิศต่อยอดธุรกิจค้าปลีกจริง เพื่อพลิกมิติวงการค้าปลีกไทยก้าวสู่ยุค 4.0 พร้อมเผย 5 เทรนด์ที่วงการค้าปลีกต้องตระหนักในอนาคต

(จากขวาไปซ้าย) คุณอมฤต เจริญพันธ์ Co-Founder ของ HUBBA, คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ DEPA, คุณสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการเทสโก้ โลตัส และ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ผู้ช่วยอธิการบดี งานยุทธศาสตร์และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เปิดรับคนรุ่นใหม่พัฒนาวงการค้าปลีก ผ่านการแข่งขัน Tesco Lotus Hackathon 2018

Tesco Lotus เปิดตัวงานการแข่งขัน “Tesco Lotus Hackathon 2018” ภายใต้ธีม “ค้าปลีกยุคใหม่ สู่ประเทศไทย 4.0” (Revolutionising Retail towards Thailand 4.0) เปิดรับคนรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Startup บุคคลทั่วไปจากทุกวงการ หรือแม้แต่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ก็สามารถสมัครได้ โดยถือว่าเป็นการจัด Hackathon ครั้งแรกของวงการการค้าปลีกในประเทศไทย

จุดประสงค์ในการจัด Hackathon ครั้งนี้เพื่อเฟ้นหาแนวคิดหรือนวัตกรรมที่นำไปในเชิงพาณิชย์ได้จริง ตอบโจทย์การปรับปรุงประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มาใช้บริการ Tesco Lotus Express ให้ดีขึ้น รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมที่สอดรับกับชุมชนโดยรอบ เพื่อให้ส่งผลดีต่อร้านท้องถิ่นอีกด้วย

โดยกรรมการตัดสินส่วนหนึ่งมาจากหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศ ได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) รวมไปถึงผู้บริหารเทสโก้ โลตัสอีกด้วย

การจัดแข่งขัน Hackathon ในครั้งนี้ ได้แนวคิดมาจากบริษัทแม่อย่าง Tesco Group ที่ UK (สหราชอาณาจักร) ซึ่งมีการจัด Hackathon ในรูปแบบนี้มาหลายปีแล้ว แต่ในประเทศไทยนั้นการจัด Hackathon จากวงการค้าปลีก ถือเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการแข่งขันในรูปแบบนี้

ตารางเวลาโดยคร่าว

  • 8 มกราคม - 20 กุมภาพันธ์ 2561 เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ Tesco Lotus Hackathon 2018
  • 3 มีนาคม 2561 - จัดกิจกรรม Open House เพื่อปฐมนิเทศและอบรมผู้เข้าร่วมแข่งขันเบื้องต้น
  • 16-18 มีนาคม 2561 - แข่งขัน Hackathon เป็นเวลา 48 ชั่วโมง

รางวัลที่จะได้รับ

  • ผู้ชนะได้รับรางวัล 400,000 บาท พร้อมตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพ-ลอนดอน เพื่อไปดูงานที่ Tesco Labs (UK) พร้อมกับพบปะกับผู้บริหาร Tesco Group
  • มอบเงินสดมูลค่ารวม 450,000 บาท ให้กับทีมในแต่ละประเภทธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือก

โดยสามารถอ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่ www.facebook.com/TescoLotusHackathon2018

มอง 5 เทรนด์ เพื่อเตรียมก้าวสู่ ‘ค้าปลีก 4.0’

คุณสลิลลา สีหพันธุ์

นอกจากนี้ในงานเปิดตัว ยังมีเสวนาในหัวข้อ “ค้าปลีกยุคใหม่ สู่ประเทศไทย 4.0” นำโดยคุณสลิลลา สีหพันธุ์ รองประธานกรรมการฝ่ายกิจการบรรษัท เทสโก้ โลตัส ระบุว่า Tesco Lotus Express มีผู้เข้าใช้บริการ 415 ล้านครั้งต่อปี จึงอยากทำอะไรที่มีจุดเชื่อมโยงกับลูกค้า และมีช่องทางการซื้อขายที่หลากหลาย (Omni Channel) โดยมองว่าธุรกิจค้าปลีกในปัจจุบันธุรกิจต้องใส่ใจ 5 เทรนด์นี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

  1. Digital Transformation การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมผู้บริโภคและธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนจนสังเกตได้ (เช่น ผู้บริโภคใช้ Social Media ผ่าน Smart Devices มากขึ้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องหันมาใช้ Social Media โปรโมทผลิตภัณฑ์ของตัวเอง)
  2. Healthy Lifestyle อาหารที่รับประทาน อุปกรณ์ออกกำลังกาย ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ทำให้ค้าปลีกต้องปรับตัวหาผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับวิถีชีวิตคนเหล่านี้มากยิ่งขึ้น
  3. New Family Structure รูปแบบครอบครัวในปัจจุบัน ครอบครัวมีขนาดเล็กลง อัตราการเกิดน้อยลง รวมไปถึงการก้าวเข้าสู่สังคมสูงสัย ส่งผลต่อวิถีชีวิตคนยุคใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  4. Experience and Convenience ประสบการณ์และความสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์และบริการที่ผู้บริโภคต้องการต้องขึ้นมาบนหน้าจอทันที รอไม่ได้อีกต่อไป เรียกว่าเป็นยุคของ “Generation Now” ก็ว่าได้
  5. Substainable Development การพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัทจำนวนมากเริ่มประกาศว่าต้องการทำธุรกิจต้องมีการพัฒนาองค์กร เพื่อให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ซึ่งผู้บริโภคเริ่มเข้าใจในเรื่องนี้มากขึ้น และจะชอบแบรนด์ที่เข้าใจในประเด็นนี้

โดยคุณสลิลลายังมองว่า ธุรกิจค้าปลีกต้องมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมและสนับสนุนประเทศไทยสู่ 4.0 รวมไปถึงการมีไอเดียที่สนับสนุนการให้บริการของเราและร้านค้าชุมชนโดยรอบ ซึ่ง Tesco Lotus ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย

คุณอมฤต เจริญพันธ์

ด้านคุณอมฤต เจริญพันธ์ Co-Founder ของ HUBBA ระบุถึง Startup Ecosystem ในปัจจุบันว่าเหล่า Startup ต้องการการสนับสนุนจากหลาย ๆ ฝ่าย หลายทีมมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ แต่หลายทีมยังขาดองค์ประกอบที่ทำให้ทีมลงตัว เพื่อให้เป็นธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยมองว่า Startup หนึ่งทีม ควรมีสามองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่

  • Hacker ที่มีความรู้ในเชิงเทคนิค การพัฒนา Product หรือ Software เช่น Software Engineer เป็นต้น
  • Partner ผู้ที่ติดต่อประสานงานด้านธุรกิจ สร้างรายได้ให้กับองค์กร เช่น Businessman เป็นต้น
  • Hipster บุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ นำศาสตร์และศิลป์ผสานเข้าด้วยกัน เช่น Designer เป็นต้น

โดยคุณอมฤตมองว่าการจัดการแข่งขัน Tesco Lotus Hackathon 2018 ถือเป็นโอกาสดีที่ทีม Startup ต่าง ๆ จะได้ลองทำงานร่วมกัน จะได้เป็นการเช็คอีกทางหนึ่งว่าวิธีการทำงานของทีมจะสามารถเอาไปใช้ต่อยอดได้จริงหรือไม่

“หากมองจากภาพรวมของ ASEAN ประเทศไทยถือว่าทำงานร่วม Startup ร่วมกับ Corporate ได้มากที่สุดประเทศหนึ่งซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในฝั่งเทคโนโลยี นวัตกรรม การได้ Startup มาอาจจะช่วยให้ฝั่ง Corporate แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ส่วน Startup นั้นยังขาดความเข้าใจในเรื่อง B2B หลายทีมไม่ได้มีประสบการณ์ลูกค้าฝั่งนั้น ๆ การได้ Corporate ก็อาจเป็นเรื่องดี” คุณอมฤต

ปกติการทำ Startup ก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัวนะครับ แต่ผมมองว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจะมีหัวใจหลัก คือ มีความอึด ทำงานเป็นทีม มีคนสนับสนุน และเข้าใจในอุตสาหกรรมของตัวเองอย่างถ่องแท้ ไม่ใช่แค่ว่าผมมีไอเดียมาแล้วจะเปลี่ยนอุตสาหกรรมให้ดีขึ้น แต่ต้องเข้าใจว่ามีปัญหาอะไร เราต้องการ Unicorn ที่มองว่าจะแก้ปัญหาได้ทั้ง ASEAN ได้อย่างไร ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาในไทยได้เท่านั้น

นอกจากนี้คุณอมฤตยังมองว่า ในอนาคตอาจจะได้เห็น VR หรือ Co-Working Space ในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ก็เป็นได้ เพราะ Convenience Store จะเป็นที่รวมทุกสิ่งได้มากกว่าเดิม รวมไปถึงยังมองว่า E-Commerce อาจไม่สำคัญสำหรับวงการค้าปลีกแล้ว เพราะค้าปลีกต้องมองถึง Omni-Channel หรือการสร้างช่องที่หลากหลายมากพอให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากกว่า

ตั้งโจทย์ใหม่-ให้พื้นที่ สิ่งสำคัญผลักดัน Startup ไทย

คุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์

ด้านคุณฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการ DEPA กล่าวว่าคุณภาพของ Startup ก็ต้องขึ้นอยู่โจทย์ที่กำหนดมา อย่างธุรกิจค้าปลีกมีจุดเชื่อมโยงกับผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก มีอุตสาหกรรมต้นน้ำจากหลายสาขา ยกตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาสินค้าเน่าเสีย จะแก้อย่างไรด้วยเทคโนโลยี หรือแก้ด้วย Logistics หรือปัญหาที่สินค้ามีราคาต่ำกว่าน้ำหนัก เช่น ข้าวสารกระสอบนึง เราจะส่งให้ผู้บริโภคจากการสั่งด้วย E-Commerce อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่คนรุ่นใหม่จะต้องเข้ามาช่วยคิดช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้

นอกจากนี้เรายังต้องการนำเอาเศรษฐกิจดิจิทัลหรือมาเปลี่ยนประเทศไทย ประเทศไทยก็นับเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าเรามีเรื่องของแรงงานที่ไหลออกนอกระบบปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคนที่เหลืออยู่ไม่สามารถสร้าง Productivity ได้ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ GDP มีโอกาสลดลงแน่นอน จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะนำเอา Digital Innovation ที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ Startup รุ่นใหม่มาช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อหาคำตอบในการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ในอนาคต โดยภาครัฐอย่าง DEPA ก็พร้อมสนับสนุนด้วยเช่นกัน

รศ.ดร. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย

ส่วน รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ผู้ช่วยอธิการบดี งานยุทธศาสตร์และนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งดูแล CU Innovation Hub ระบุว่า

คนรุ่นใหม่สนใจ Startup อย่างมาก ถือเป็นเทรนด์ทั้งในและต่างประเทศ ในเรื่องการบ่มเพาะ มีนิสิตทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ซึ่งน้อง ๆ นักเรียนจากสาธิตจุฬาฯ ก็ยังสามารถแข่งขันแล้วชนะในระดับนานาชาติได้ สิ่งหนึง่ที่สำคัญคือขอเพียงเราต้องมีระบบนิเวศและพื้นที่ให้เขาอย่างเหมาะสม ต้องมีพื้นที่ให้เขาได้ลองผิดลองถูกในช่วงสั้น ๆ ให้เขาสร้างสิ่งที่มีประโยชน์แก่สังคมเพื่อให้คนได้ทดลองใช้ และมีทุนสนับสนุน มี Mentor มีเวทีให้เขา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

หลังจากนี้จะมีการเปิดตัว Siam Innovation District เพื่อขยายกรอบการทำงาน CU Innovation Hub ให้ครอบคลุมภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ และภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อกลุ่มต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศมากขึ้น โดยจะมีการเปิดตัวในวันที่ 22 มีนาคมนี้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...