เศรษฐกิจไทยโตต่ำหรือศักยภาพลดลง สรุปทุกปัญหาที่ดึงรั้งประเทศไทย | Techsauce

เศรษฐกิจไทยโตต่ำหรือศักยภาพลดลง สรุปทุกปัญหาที่ดึงรั้งประเทศไทย

สรุปทุกปัญหาที่ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลง โดย ดร. พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ในงาน Future Trends Ahead Summit 2024 

เศรษฐกิจไทยโตต่ำลงทุกครั้งที่มีวิกฤต

จากประเทศที่เป็นหนึ่งในความหวังของเอเชีย สู่ประเทศที่มีเศรษฐกิจที่มีการเติบโตไม่ถึง 3% ในปัจจุบัน 

เศรษฐกิจไทยเคยโตเฉลี่ย 8% ต่อปีจากภาคการลงทุนในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ 1997 หลังจากนั้นไทยปรับตัวเข้าสู่ภาคการส่งออกโดยเพิ่มจาก 30% เป็น 70% ของ GDP เศรษฐกิจไทยยังโตขึ้นแต่ลดลงเหลือเฉลี่ย  5% ต่อปี 

แต่หลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกปี 2008 จากโตเฉลี่ย 5% ต่อปี ลดลงสู่ 3% ต่อปี และหลังวิกฤติ COVID-19 ไทยก็ไม่เคยกลับไปโตแตะ 3% อีกเลย 

ปัจจุบันประเทศไทยโตเฉลี่ยเพียง 2.5% เท่านั้น การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยกำลังโตแผ่วลง หรือเพราะประเทศไทยเราขาดแคลนนวัตกรรมที่ทำให้ประเทศโตไม่เท่าจุดพีคในอดีตแล้ว

ปัญหาเชิงโครงสร้าง หรือเรากำลังกินบุญเก่ามากไป ?

หลายคนอาจจะมองว่าถ้าการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาเดี๋ยวเศรษฐกิจในประเทศก็โตขึ้น แต่ในปัจจุบันไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว จำนวนนักท่องเที่ยวที่กลับมาในประเทศไทยก็ไม่ได้เท่าก่อนหน้า COVID-19 

นอกจากนี้ความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกก็หายไป ไทยเคยอยู่ในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งออกสินค้าไปทั่วโลก แต่ปัจจุบันไทยขาดดุลการค้าจีนมากขึ้นไทยนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลกับผู้ผลิตในประเทศ สะท้อนให้เห็นความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกลดลง

โครงสร้างประชากร ทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ

ประเทศไทยมีอัตราการเกิดตํ่าลง ประชากรที่จะน้อยลงส่งผลให้การพัฒนาของเศรษฐกิจลดตํ่าลงไปด้วย ดังนั้นประชากรจะต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

แต่ปัจจุบันไม่เพียงแค่ประชากรมีน้อยลงอย่างเดียวแต่คุณภาพของประชากรไทยก็ดูเหมือนว่าจะมีปัญหาเช่นกัน สะท้อนจากคะแนน PISA พบว่าลดตํ่าลงจากการสอบครั้งก่อน 

การลงทุนในประเทศที่หายไป

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือประเทศไทยขาดการลงทุนนานร่วม 3 ทศวรรษ ไม่เพียงแต่การลงทุนจากต่างประเทศในไทย แต่รวมถึงคนไทยลงทุนในประเทศลดลงโดยหันไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

ปัญหาเหล่านี้กำลังส่งผลให้เห็นได้ชัดจากการที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มโตตํ่าลงเรื่อย ๆ หากว่าเรายังไม่ทำอะไรต่อไป เราจะเดินต่อไปได้อย่างไร ? 

แก้ปัญหาเศรษฐกิจกลยุทธ์ลูกศร 3 ดอก 

การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างไม่ใช่แค่การกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่ควรมองแนวทางที่ทำให้สามารถแก้ไขได้ระยะยาวและยั่งยืนขึ้น โดยอิงจากการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของประเทศญี่ปุ่น ด้วยกลยุทธ์ลูกศรสามดอก ได้แก่ 

  • นโยบายการเงิน ผ่อนคลายนโยบายการคลังลง
  • นโยบายการคลัง รักษาความเข้มแข็งการคลังให้มากขึ้น
  • นโยบายปฏิรูปเชิงโครงสร้าง เพิ่มการแข่งขันในเวทีโลก ไม่ว่าจะเป็นการปฏิรูปตลาดแรงงาน การเข้าเขตการค้าเสรี TPP ลดกฎระเบียบเพื่อส่งเสริมธุรกิจและการลงทุนใหม่ เป็นต้น

ญี่ปุ่นใช้เวลาร่วม 10 ปี ปัจจุบันเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่จะโตขึ้น จากเฉลี่ยอยู่ที่ 1% ขึ้นมาอยู่ที่ 1.2%-1.5% การที่ประเทศญี่ปุ่นใช้เวลาร่วมสิบปีกว่าที่ผลของการแก้ปัญหาระยะยาวจะงอกเงยผลออกมา แล้วประเทศไทยถ้าไม่เริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ ปัญหาเชิงโครงสร้างจะแก้ได้เมื่อไร ? เพื่อให้เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตเป็นหนึ่งในอนาคตของเอเชียอีกครั้งได้ในอนาคต

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘ไปรษณีย์ไทย’ เพิ่มมูลค่า Asset ชูบริการเรือธง EMS World ส่งด่วน ทั่วโลก

EMS World คือ บริการเรือธงที่ทำรายได้หลักให้ไปรษณีย์ไทย หลังจากนี้จะผลักดันบริการสู่ตลาดโลก ร่วมกับการนำ Asset ที่มีอยู่เดิม มาเพิ่มมูลค่าได้อย่างน่าสนใจ...

Responsive image

SearchGPT คืออะไร ? เมื่อ OpenAI ลงสนาม Search engine ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ

OpenAI ท้าชน Google ชิงส่วนแบ่งธุรกิจ Search Engine เปิดตัว SearchGPT โมเดล Search Engine ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เวอร์ชันต้นแบบ ที่จะมาเปลี่ยนการค้นหาข้อมูลให้เป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว ...

Responsive image

ลงทะเบียนพบนักลงทุนตัวจริงกับ "Meet the VCs" ในงาน Techsauce Global Summit 2024

"Meet the VCs" กิจกรรมสุด Exclusive ในงาน Techsauce Global Summit 2024...