ไทยซัมมิท ชี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีเวลาอย่างน้อย 4 ปีปรับตัวรับกระแส EV จีน | Techsauce

ไทยซัมมิท ชี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีเวลาอย่างน้อย 4 ปีปรับตัวรับกระแส EV จีน

ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเผชิญอุปสรรคใหญ่จากการเข้ามาของ EV ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีการผลิตครั้งใหญ่ ซึ่งอุปสรรคครั้งนี้ไม่ใช่เพียงแค่โรงงานอย่างเดียวที่ต้องเผชิญ แต่ยังนับรวมไปถึงซัพพลายเออร์รายย่อยที่รับหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ให้กับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งดูเหมือนว่าบริษัทเหล่านี้อาจมีเวลาอย่างน้อย 4 ปีในการรับมือกับ EV จีนที่กำลังเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานอาวุโส กลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ให้สัมภาษณ์กับสื่อ Nikkei ระบุว่า ซัพพลายเออร์ในประเทศไทย รวมถึงผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นยังคงมีเวลาอย่างน้อย 4 ปีหรือมากสุด 8 ปี ในการปรับตัวรับกระแสการมาของรถไฟฟ้าคู่แข่งจีน

รายงานระบุว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยกำลังเผชิญกับปัญหาด้านคำสั่งซื้อจากลูกค้าจีน เนื่องจากรถ EV จีนสามารถหาชิ้นส่วนมาจากประเทศตนเองได้ รวมถึงปัญหาของลูกค้าจากญี่ปุ่นที่แม้จะทำธุรกิจร่วมกันมาอย่างยาวนาน แต่ตอนนี้กำลังลดการผลิต บางส่วนได้ปิดโรงงานไป ทำให้คำสั่งซื้อลดลงตามไปด้วย

คุณชนาพรรณ เสริมว่า บริษัทชิ้นส่วนในไทยไม่สามารถรอการคุ้มครองจากรัฐบาลให้แข่งขันกับต่างประเทศได้ เนื่องจากตอนนี้แบรนด์ต่างๆ ได้เข้ามาสร้างโรงงานในไทย และกำลังมองหาซัพพลายเออร์ในตอนนี้ ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทชิ้นส่วนเหล่านี้ไม่ได้รับเลือก ก็จะพลาดโอกาสไปหลายปี และต้องเผชิญการแข่งขันที่จะหลั่งไหลเข้ามาในไทยมากขึ้นในภายหลัง

รายงานเสริมข้อมูลจากคุณชนาพรรณว่า ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น และซัพพลายเออร์ไทยยังคงสามารถอยู่รอดได้จากความต้องการรถจักรยานยนต์ และรถยนต์ไฮบริดที่แข็งแกร่ง โดยยอดขายรถยนต์ไฮบริดแบรนด์ญี่ปุ่นในประเทศไทย เช่น Toyota และ Nissan เติบโต 66% ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แซงหน้าการเติบโตของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า 

"หมายความว่าคุณมีเวลามากขึ้นในการหายใจเมื่อคุณขายให้กับ OEM ญี่ปุ่น แต่มันไม่สามารถชะลอการเตรียมตัวของคุณสำหรับ OEM จีนได้" คุณชนาพรรณ กล่าวปิดท้ายตามรายงาน Nikkei

อย่างไรก็ตาม KKP Research เคยออกมาวิเคราะห์ว่า EV อาจไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย แต่ยังมีสาเหตุที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ การรุกคืบในการชิงส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ของผู้ประกอบการจากประเทศจีนที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน และมีความสามารถในการตัดราคา ซึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคล แต่จะขยายวงกว้างไปยังตลาดรถปิกอัพ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจยานยนต์ไทย รวมถึงตลาดส่งออกของไทยด้วยเช่นเดียวกัน 

ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ KKP Research มองว่า ต้องเร่งพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และอาจถึงเวลาทบทวนมาตรการเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการบิดเบือนโครงสร้างราคาในตลาด รวมถึงเพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดและตรวจสอบสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local content ratio) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนไทยให้ได้รับประโยชน์ และมีเวลาปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง 


อ้างอิง : Nikkei, KKP Research

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ชีวิตปลอดภัยขึ้นเยอะ! LINE ALERT แจ้งเตือนภัยพิบัติ เช็กพื้นที่เสี่ยง เบอร์ฉุกเฉิน ครบจบในที่เดียว

สถานการณ์น้ำท่วมและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ทำให้ LINE ประเทศไทย ออกประกาศชวนเพิ่มเพื่อน LINE ALERT (ค้นหา @linealert) บัญชีทางการที่จะช่วยแจ้งเตือนภัยพิ...

Responsive image

Qualcomm อาจเข้าซื้อกิจการ Intel ยักษ์ใหญ่วงการชิป

Qualcomm กำลังเจรจากับ Intel เพื่อเข้าซื้อกิจการ แม้ว่าแหล่งข่าวจะระบุว่าข้อตกลงยังไม่แน่นอน แต่หากเกิดขึ้นจริง จะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สำหรับ Intel ที่เคยเป็นบริษัทชิปที่มีมู...

Responsive image

ไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ ตอนนี้ SMS เตือนภัยใช้ได้แล้ว! Cell Broadcast มาแน่ปีหน้าไตรมาสสอง

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเตือนภัยพิบัติ ด้วยการเปิดตัวระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่าน SMS ที่แบ่งระดับความรุนแรงถึง 5 ระดับ และที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน Cel...