บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) Thai Union รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีกำไรสุทธิในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 1,716 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,440 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกำไรสุทธิที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ในปีก่อนหน้า ในไตรมาสที่ 2 นี้ บริษัทมียอดขายเพิ่มขึ้น 2.6 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่ 33,051 ล้านบาท โดยหกเดือนแรกของปี 2563 มีการเติบโตของรายได้ 4.2 เปอร์เซ็นต์ สูงที่สุดในรอบ 3 ปี อยู่ที่ 64,154 ล้านบาท และบริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 0.32 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์จากเงินปันผลระหว่างกาลปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 0.25 บาทต่อหุ้น
สำหรับการเติบโตของกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2563 นี้เป็นผลมาจากผลประกอบการที่ดีและบริษัทมิได้ มีการบันทึกค่าใช้จ่ายทางกฎหมายมูลค่า 1,402 ล้านบาทเช่นในไตร มาส 2/2562 โดยกําไรยังปรับตัวสูงขึ้นมากแม้บริษัทจะมีการบันทึก ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม Red Lobster จาก การชัตดาวน์ หากแยกค่าใช้จ่ายทางกฎหมายในไตรมาส 2/2562 ออก กําไรสุทธิยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น 13.4% จากปีก่อน กําไรสุทธิครึ่งแรกของปีอยู่ที่ 2,732 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 97% จากปีก่อนหน้า
กระแสเงินสดและอัตราหนี้สินต่อทุน เนื่องจากอัตรากําไรที่ดีขึ้น การควบคุมสินค้าคงคลังและการจัด การเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทบันทึกกระแสเงินสดอิสระช่วง ครึ่งแรกของปี 2563 ได้มากถึง 6,687 ล้านบาท โดยอัตราส่วนหนี้สิน สุทธิต่อทุนอยู่ที่ระดับ 0.96 เท่า เนื่องจากกําไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นและกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง
ทั้งนี้บริษัทยังคงมุ่งเน้นความสามารถในการทำกำไรและประสบความสำเร็จในการควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ ผลกำไรจากการดำเนินงาน (operating profit) ในไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ 2,366 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย (SG&A) อยู่ที่ 11.1 เปอร์เซ็นต์ มีสัดส่วนหนี้ต่อทุนอยู่ที่ 0.96 เท่า และมีอัตรากำไรขั้นต้น (gross profit margin) อยู่ที่ 18.2 เปอร์เซ็นต์ นับเป็นตัวเลขที่ดีที่สุดในรอบ 3 ปีอีกเช่นกัน ความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงาน การบริหารสินค้าคงคลังและการบริหารกระแสเงินสดอย่างมีประสิทธิภาพยังทำให้ไตรมาสที่ 2 นี้มีกระแสเงินสดอิสระถึง 5,609 ล้านบาท
คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “อาหารนับเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ตลาดทั่วโลกมีความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อยอดขายของบริษัท ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เราได้ดำเนินการผลิตอย่างต่อเนื่องและเต็มกำลัง เพื่อสร้างความมั่นใจและทำหน้าที่อย่างดีที่สุดในการส่งมอบผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยให้กับผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือมาตรการสุขภาพความปลอดภัยทั้งของพนักงานและในการผลิต เพื่อให้ธุรกิจของเราก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน”
ยอดขายในไตรมาสนี้เติบโตขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปที่ยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 16.8 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 16,394 ล้านบาท และปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น 29.6 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 101,136 ตัน เนื่องจากผู้บริโภคทั่วโลกยังคงจับจ่ายอาหารกระป๋องในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ในส่วนของธุรกิจอาหารแช่แข็งและธุรกิจที่เกี่ยวข้องมียอดขายลดลง 14 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 11,554 ล้านบาท และปริมาณการขายลดลง 10.5 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 61,284 ตัน เนื่องจากช่องทางการจำหน่ายในธุรกิจโรงแรมร้านอาหารต่างๆ ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่อง
ในส่วนของธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงและผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่ามียอดขายเพิ่มขึ้น 7.5 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 5,103 ล้านบาท ด้วยปริมาณการขายที่เพิ่มมากขึ้นและกลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการทำกำไรสูง
“วันนี้ ภาคธุรกิจต้องปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ไม่ใช่แค่ระยะสั้น แต่ต้องมองไปถึงระยะยาว สำหรับไทยยูเนี่ยน บริษัทเล็งเห็นถึงความต้องการอาหารที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง จึงให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ และมาตรการที่เน้นย้ำความปลอดภัยในการดำเนินงาน ทำให้บริษัทมั่นใจว่าสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพได้เป็นอย่างดี” คุณธีรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติม
ไทยยูเนี่ยนมียอดขายกระจายตัวอยู่ทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยในหกเดือนแรกของปี 2563 นี้ ยอดขายในอเมริกาเหนือ มีสัดส่วน 42 เปอร์เซ็นต์ ของยอดขายรวมทั้งหมด ในขณะที่ตลาดยุโรป คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ ตลาดประเทศไทยมีสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ และยอดขายตลาดอื่นๆ คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด