แบงค์ชาติประกาศแล้วเตรียมตั้ง Regulatory Sandbox ต้นปี 2560 พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น | Techsauce

แบงค์ชาติประกาศแล้วเตรียมตั้ง Regulatory Sandbox ต้นปี 2560 พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็น

BOT_Regulatory_Sandbox

กระบวนการสนับสนุนจากภาครัฐฯ ของประเทศที่ผลักดัน FinTech หนึ่งในนั้นจะมี Regulatory Sanbox (ศูนย์ทดสอบและพัฒนานวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนการให้บริการการเงิน) เป็นเสมือนกับกระบะทรายที่เปิดโอกาสให้เกิดการสร้างนวัตกรรม พัฒนาบริการใหม่ๆ ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมแก่การทดสอบมีเดต้าผู้ใช้และฟีดแบคต่างๆ และในขณะเดียวกันก็เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนออกสู่ตลาดจริงด้วย โดยก่อนหน้านี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ และ ฮ่องกงเผยแผนออกมาแล้ว ล่าสุดแบงค์ชาติบ้านเราก็ออกมาประกาศเตรียมตั้ง Regulatory Sandbox เช่นกัน ในต้นปี 2560

โดยเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา นางวิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแถลงข่าวถึงการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงค์ชาติ ได้เริ่มจัดทำแนวทางแล้ว หลังจากที่ FinTech โหมหนักมากตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน โดยบทบาทของแบงค์ชาติคือ "ผู้กำกับดูแล" และเป็น "ผู้อำนวยความสะดวก" ในการพัฒนา

ทั้งนี้ทางแบงค์ชาติกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนจนถึง 15 ตุลาคม 2559 โดยจะนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประมวลผลออกมาเป็นประกาศสำหรับสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 ให้เริ่มขอเข้าร่วมได้ช่วงต้นปี 2560 ขณะที่สถาบันการเงินอื่นจะใช้เวลาศึกษาอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอาจจะไปเกี่ยวข้องกับประกาศหรือกฎหมายของหน่วยงานอื่นๆ และต้องประสานงานให้เรียบร้อยก่อน แต่คาดว่าช่วงไตรมาส 2 ของปี 2560 จะเริ่มให้เข้ามาร่วมได้เช่นเดียวกัน

นางวิเรขากล่าวว่า “เรื่องเกณฑ์เบื้องต้น แบ่งเป็น 2 ด้าน หากธุรกิจไม่ผิดกฎเกณฑ์อะไรของ ธปท. สามารถทำได้ตามกฎระเบียบเดิมที่มีอยู่ แต่สำหรับบางบริการที่อาจจะขัดเกณฑ์กำกับเดิมหรือไม่แน่ใจว่าจะขัดหรือไม่ หรือต้องการทำความเข้าใจเพิ่มเติม ก็อาจจะเข้ามายัง Sandbox ตรงนี้ มาทดลองดูก่อน ซึ่ง ธปท. จะดูว่าให้บริการอะไร เทคโนโลยีใหม่หรือไม่ ตรงนี้ต้องเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมีในไทย เพราะถ้าเคยมีอยู่แล้วของผู้เล่นอื่นและเขาทำตามกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องเข้า Sandbox คนที่มาขอก็ต้องทำได้ด้วย นอกจากนี้ ธปท. ก็ยังดูว่ามีประโยชน์อะไรบ้าง ดูว่าไม่ไปขัดพวกกฎหมายเกี่ยวกับการฟอกเงิน การโกงเงินพวกนั้นด้วย แต่ต้องบอกว่ามันเป็นรายธุรกิจ เราต้องลงไปดูเป็นกรณีๆ เราจะเปิดกว้างไว้ก่อนเสมอ เหมือนมาเรียนรู้ด้วยกัน เพราะบางทีกฎเกณฑ์ของเราก็อาจจะล้าสมัยไปแล้ว ต้องปรับปรุงเช่นกัน”

หนึ่งในเนื้อหาที่น่าสนใจในเอกสารการรับฟังความคิดเห็น มีดังนี้

กลุ่มเป้าหมายของผู้สมัคร ผู้สมัครสามารถเป็นได้ทั้ง (1) สถาบันการเงิน บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของสถาบันการเงิน หรือ ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (Non-Bank) ในปัจจุบัน (2) ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็น FinTech Firms หรือ ผู้ที่มีความชำนาญด้าน เทคโนโลยี (Technology Firms) ที่ประสงค์จะเสนอผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมหรือบริการทางการเงิน ที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวกับธุรกรรมการกู้ยืมเงิน ธุรกรรมการชำระเงินและโอนเงิน หรือ ธุรกรรมทาง การเงินอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันที่นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ ทั้งกรณีร่วมกับสถาบันการเงิน หรือ NonBank หรือสมัครเองโดยตรงก็ได้

ประเภทของธุรกรรมทางการเงินและนวัตกรรมใน Regulatory Sandbox ประเภทของธุรกรรมทางการเงินและนวัตกรรมที่ผู้สมัครสามารถนำมาทดสอบ ใน Regulatory Sandbox ต้องเป็นธุรกรรมที่อยู่ในขอบเขตการกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ (1) ธุรกรรมการกู้ยืมเงิน ไม่รวมถึงการกู้ยืมในลักษณะที่มีการออกตราสาร ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เช่น การเสนอขายตราสารหนี้ผ่าน ระบบอิเล็กทรอนิกส์(Debt Crowdfunding) (2) ธุรกรรมการชำระเงินและโอนเงิน (3) ธุรกรรมทางการเงินอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่อง หรือเกี่ยวกับธุรกรรมตามข้อ  (1) และ (2)

ในเอกสารจะมี คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ใน Regulatory Sandbox, การดำเนินการระหว่างอยู่ใน Regulatory Sandbox, การสิ้นสุดการทดสอบ, การออกจาก Regulatory Sandbox, แนวทางดำเนินการเมื่อผู้สมัครต้องยุติการทดสอบ,ขั้นตอนการสมัครและกรอบระยะเวลาการพิจารณา เป็นต้น สามารถดาวน์โหลดอ่านเอกสารเต็มได้ที่นี่

และสำหรับใครต้องการแสดงความคิดเห็นขณะนี้เปิดรับถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2559

ในขณะทางฟากของชมรม FinTech นำโดยคุณกรณ์ จาติกวิณิช ประธานชมรม จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานงานในการนำพา FinTech Startup เข้าร่วมใน Regulatory Sandbox ของหน่วยงานกำกับดูแล รวมไปถึงการให้ข้อมูลสรุปปัญหาและประเด็นเพื่อการพัฒนาที่รวบรวมจากผู้ประกอบการ FinTech Startup ในประเทศไทยเพื่อนำเสนอให้หน่วยงานภาครัฐฯ รวมถึงการจัด National FinTech Sandbox Competition คัดเลือก 10 – 20 Startups ต่อปีเข้าร่วมใน Sandbox โดยชมรมทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะ ประสานกำลังกับภาคการธนาคาร, Regulatory Sandbox รวมถึงการเป็น Technology Platform สำหรับเหล่า Startup ในการที่ใช้ Data Pool ด้านการเงินการลงทุน รวมถึงการทดสอบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จริงกับผู้บริโภคโดยตรง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แรงงานฟิลิปปินส์อ่วม Call Center อาชีพประจำชาติ กำลังถูก AI ยึดครอง

ขณะที่ทั่วโลกกำลังถกเถียงกันเรื่อง AI ว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรในการทำงาน ชาวฟิลิปปินส์กำลังสัมผัสประสบการณ์นี้แล้ว เมื่อเจ้าตลาด Call center อย่างฟิลิปปินส์ได้เริ่มใช้ AI ในอุตสาหกรร...

Responsive image

ถ้า Tesla ใช้หุ่นยนต์แทนคน อาจเซฟเงินได้มากถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท คาดปี 2025 จะมีหุ่นยนต์ 1,000 ตัวทำงานที่โรงงาน Tesla

Tesla อาจประหยัดเงินได้มากถึง 1.9 ล้านบาทต่อปีสำหรับพนักงาน 1 ตำแหน่งที่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ หรือหากคิดรวมๆ แล้วอาจช่วยให้ Elon Musk ประหยัดได้มากถึงปีละ 1.7 หมื่นล้านบาท...

Responsive image

10 เหตุผลที่ Mate XT มือถือพับ 3 ทบ จาก Huawei ยอดจองทะลุ 4 ล้านเครื่อง! แม้ราคาเฉียดแสน

Huawei สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในตลาดสมาร์ทโฟนอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว Mate XT สมาร์ทโฟนจอพับ 3 ทบรุ่นแรกของโลก ที่มาพร้อมกับยอดจองล่วงหน้าทะลุ 4 ล้านเครื่อง ทั้งๆ ที่ราคาเปิดตัวสู...