Telemedicine จะเกิดในไทยได้อย่างไร ข้อเสนอโดยสมาคม TTSA ต่อแพทยสภา | Techsauce

Telemedicine จะเกิดในไทยได้อย่างไร ข้อเสนอโดยสมาคม TTSA ต่อแพทยสภา

หลังจากแพทยสภาได้ออกประกาศในวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา เรื่องแนวทางการปฎิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (Telemedicine) และคลินิกออนไลน์ ทางสมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ (Thailand Tech Startup Association) พร้อม Startup ด้าน Telemedicine ประกอบด้วย ooca, Chiiwii, Doctor A to Z ได้เข้าพบคณะอนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศในคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม ผลักดันให้เกิดการเปิดกว้างหรือนำไปสู่การทำ Sandbox ของ Telemedicine ขึ้นเพื่อผลักดันนวัตกรรมของผู้ประกอบการไทย โดยเน้นย้ำว่านวัตกรรมดังกล่าวไม่ได้มาทดแทนการรักษาในโรงพยาบาลแต่เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ผ่านเทคโนโลยี โดยมีใจความสำคัญดังนี้

  • สนับสนุนให้มีนโยบาย หรือการออกกฏหมายรับรองการทำ Telemedicine หรือ เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อสนับสนุนต่อการพัฒนาวงการ การเพิ่ม Liability ให้กับวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ลดความเสี่ยงจากการให้บริการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่นการให้ consult ผ่าน ไลน์ เป็นต้น

  • การพิจารณาออกกฏหมายฉบับนี้หรือฉบับที่เกี่ยวข้อง มีผลกระทบองค์รวมทั้ง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เศรษฐกิจและสังคม รวมไปถึงมีความเกี่ยวข้องกับ Stakeholder ที่มากกว่าทางฝั่งแพทย์ ควรได้รับการประชาพิจารณ์อย่างถี่ถ้วน และพิจารณาถึงหลักปฏิบัติสากล อนาคตของประเทศชาติ ศักยภาพของการพัฒนาเทคโนโลยี และรวมไปการสร้างความได้เปรียบของการแข่งขันของตลาดด้วยการสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยี สัญชาติไทย ก่อนที่จะออกกฏหมายควบคุมโดยเพิกเฉยถึงผลกระทบในวงกว้าง *ไม่ควรพิจารณาเพียงแค่ตลาดภายในประเทศเท่านั้น*

    • ควรตั้งแนวทางการปฏิบัติเวชกรรม (Practice) เป็น Guideline เพื่อสร้างมาตรฐานให้แก่ วิชาชีพ แต่ไม่ควรออกเป็นกฏหมายเพื่อป้องกันการจำกัดขีดความสามารถในการ พัฒนาและการสร้างสรรค์ในอนาคต

    • ไม่ควรจำกัดการให้ปฏิบัติการให้บริการโดยยึดโยงกับสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง การสร้าง liability ให้กับวิชาชีพหรือการแพทย์ออนไลน์ ควรมาจากการออกระเบียบมาตรฐานจำเพาะกับข้อมูลทางการแพทย์ ในลักษณะเช่นเดียวกันกับ HIPAA ซึ่งประเทศไทย มี PDPA บังคับใช้ ควรปรับบริบททางการแพทย์ให้สามารถบังคับใช้ได้ในกรณีข้อมูลทางการแพทย์

    • ควรยกเรื่องโทรเวชให้เป็นวาระที่ต้องพิจารณาร่วมกันในวงกว้างมากกว่าจำกัดไว้ที่กลุ่มแพทย์ 

    • จัดทำ Sandbox เพื่อไม่ปิดกั้นในการพัฒนาทางการแพทย์และธุรกิจ

  • ภาครัฐควรออกมาตรการ สนับสนุนการใช้ และการลงทุนใน บริษัทเทคโนโลยีไทย เพื่อความเข้มแข็งของประเทศในด้าน Health Informatics และเศรษฐกิจในระยะยาว มากกว่าการสนับสนุนบริษัทต่างด้าว

โดยหลังจากนี้คณะอนุกรรมการฯ ที่รับเรื่อง จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปพิจารณาและศึกษา เพื่อทำเป็นข้อสรุปและข้อเสนอแนะเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

สามารถอ่านรายละเอียด Telemedicine ทั้ง landscape ต่างประเทศและไทยฉบับเต็มได้ที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ม.มหิดล ผลักดันแหล่งทุนสตาร์ทอัพฯ iNT บ่มเพาะ สานต่อนวัตกรรมยุคใหม่สู่สังคม

หากเปรียบสตาร์ทอัพคือ “นักรบเศรษฐกิจใหม่” ที่จะมาช่วยพลิกประเทศให้มีความเจริญเติบโตมากขึ้น การปั้นนักรบให้มีอาวุธที่แหลมคมและมีคลังเสบียงอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การเร...

Responsive image

กว่าจะเป็น Product and Service ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ทีม Data ต้องทำอะไรบ้าง ? : รู้จักทีม Intelligence Engineering & Data Technology ที่ KBTG | Tech for Biz EP. 29

กว่าจะได้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า รู้ไหมทีม Data ต้องทำอะไรบ้าง ? . เผยเบื้องหลังการทำงานของทีม Intelligence Engineering & Data Technology ที่ KBTG เจาะลึกกลยุทธ์การส...

Responsive image

Meta จัดงาน Facebook IRL เชื่อมต่อ Creator Community ในชีวิตจริง เผยผู้ใช้ Facebook ในไทย 60 ล้านคนต่อเดือน

ประเทศไทยก้าวขึ้นสู่เวทีโลกอีกครั้ง เมื่อ Meta เลือกกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในสามประเทศนอกสหรัฐฯ ที่จัดงาน Facebook IRL หรือ Facebook In Real Life ณ ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ระหว่างวันที...