สมาคม Thai Startup ได้จัดแถลงวิสัยทัศน์การร่วมผลักดันสตาร์ทอัพไทย พร้อมเปิดตัวคณะกรรมการชุดใหม่จากหลากหลายอุตสาหกรรม ภายใต้คอนเสปต์งาน "The New Vision for Thai Startups" ในการค้นหาความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจ และร่วม Networking เพื่อหาทางออกของทุก painpoint ในอนาคต โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ ตึกจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไทยเราได้ชื่อว่าเป็น Consumer บริการเทคโนโลยีต่างๆ ในระดับต้นๆ ของโลก เช่น สัดส่วนการใช้สมาร์ทโฟน การเสพย์สื่ออนไลน์ การถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล แต่กลับกัน ไทยเรายังไม่มีสตาร์ทอัพด้านเทคฯ หรือความเคลื่อนไหวทางเทคโนโลยีในสเกลที่ใหญ่มากเท่าที่ควร และจากข้อมูลในระดับนานาชาติเผยว่า สตาร์ทอัพของไทยมีการเติบโตน้อยที่สุดรองจากลาว และกัมพูชา สิ่งนี้เผยให้เห็นว่าไทยเรายังต้องอุดช่องว่างด้านการพัฒนาสตาร์ทอัพและเทคโนโลยีอีกมาก
ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ นายกสมาคม Thai Startup ได้เปิดเผยว่า จากการสำรวจข้อมูลภายในสมาชิก Thai Startup ด้วยกันเอง พบว่าไทยยังมีอุปสรรคหลายประการ ทำให้สมาคมเล็งเห็นความสำคัญที่จะต้องหาแนวทางปลดล็อกปัญหาเพื่ออัพเลเวลสตาร์ทอัพไทย โดยจะร่วมขับเคลื่อนสตาร์ทอัพด้วย 3 แกนหลัก คือ
Unite Startups รวมสตาร์ทอัพไทยให้เป็นหนึ่ง
Engage Partner ประสานพันธมิตร ผูกมิตรรอบด้าน
Make an Impact ทำให้สตาร์ทอัพมีที่ยืนเพื่อสร้างความแตกต่างให้สังคม
ด้านคุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน อุปนายกดูแลด้านการกลยุทธ์และการต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่าจากสอบถามสตาร์ทอัพและสำรวจปัญหาและอุปสรรคต่างๆ พบ 7 อุปสรรคหลัก คือ พบปัญหาเรื่องแหล่งเงินทุน 70.1% การหา Tech Talent 40.2% การสร้าง Business Model ที่สร้างรายได้ 35.5% การ Upskill-Reskill ของตัวผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารเอง 34.6% ปัญหาเรื่องข้อบังคับกฎระเบียบ 31.8% ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างหรือการบูรณาการร่วมกัน 30.8% ปัญหาการขยายตลาดที่ไม่ใช่แค่บริษัทใหญ่ๆ ในไทย แต่รวมถึงบริษัทข้ามชาติด้วย 27.1%
Thai Startup มีวิสัยทัศน์ที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศน์สตาร์ทอัพไทยจากการที่เป็นผู้บริโภคเทคโนโลยี สู่ประเทศที่เป็นผู้ผลิตเทคโนโลยีให้ได้ และจากการที่สมาชิกสมาคม Thai Startup ได้มีมติเลือกนายกสมาคม อุปนายก และคณะกรรมการชุดใหม่จำนวน 16 คน จากหลากหลายธุรกิจสตาร์ทอัพ
โดยสมาคมได้แบ่งความรับผิดชอบให้สมาชิกแต่ละท่านให้ครอบคลุมฟังก์ชั่นที่จำเป็นในการผลักดันกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม โดยรายนามคณะกรรมการชุดใหม่ประกอบด้วย
ณัฐพร สุชาติกุลวิทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านพัฒนารายได้ Happenn อุปนายกดูแลด้านการพัฒนาสมาชิกและการตลาด
ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน ผู้ก่อตั้ง The Signature อุปนายกดูแลด้านการกลยุทธ์และการต่างประเทศ
รับขวัญ ชลดำรงค์กุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย EasyCompany อุปนายกดูแลด้านกฎหมายและนโยบาย
ชื่นชีวัน อานันโทไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง Globish กรรมการและประธานด้านภาพลักษณ์องค์กร
ธนวิชญ์ ต้นกันยา กรรมการผู้จัดการ Horganice กรรมการและประธานด้านการศึกษาและมหาวิทยาลัย
พิพัฒน์ พิเชฐจำเริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Classwin กรรมการและประธานด้านสิทธิประโยชน์สมาชิก
ภาโรจน์ เด่นสกุล กรรมการผู้จัดการ Zipevent กรรมการและประธานด้านสมาชิก
เมธาวี ทัศนาเสถียรกิจ กรรมการผู้จัดการ Vulcan Coalition กรรมการและประธานด้าน การมีส่วนร่วมของภาครัฐและกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
รัชวุฒิ พิชญาพันธ์ กรรมการผู้จัดการ Fixzy กรรมการและประธานด้านภูมิภาค
ราชิต ไชยรัตน์ กรรมการผู้จัดการ Accrevo สมการและประธานด้านการตรวจสอบและรัฐสัมพันธ์
วิชัย รามมะเริง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Knockdoor กรรมการและเลขาธิการ
วีร์ สิรสุนทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Primo กรรมการและประธานด้าน Corporate Partner ship
ศักดิ์ศรัณย์ เมธีวัชรานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Kop Technology กรรมการและประธานด้านการมีส่วนร่วมของสมาชิก
ศักดิ์สิทธิ์ เลิศไฝ่คุณธรรม ตัวแทนเจ้าหน้าที่บริหาร Condothai กรรมการและประธานด้านกิจกรรม และ
อมรพล หุวะนันทน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Moreloop กรรมการและประธารด้านการเงินและความยั่งยืน
ซึ่งงานแรกของสมาคมฯ จากคณะกรรมการชุดใหม่คือการจับมือกับกรุงเทพมหานครเพื่อจัดงาน HackBKK ในเดือนนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ ได้ช่วยกันออกแบบโซลูชันและตอบโจทย์นโยบายของทางภาครัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังติดตาม และจะนำมาอัปเดตเพิ่มเติมต่อไป
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด