The Secret Sauce Summit 2023 เผยกับดัก SMEs ไทยที่ต้องก้าวข้ามเพื่อยกระดับ GDP | Techsauce

The Secret Sauce Summit 2023 เผยกับดัก SMEs ไทยที่ต้องก้าวข้ามเพื่อยกระดับ GDP

THE STANDARD สำนักข่าวที่มุ่งสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดงาน ‘The Secret Sauce Summit 2023: Infinite Growth ธุรกิจพุ่งทะยานในความเปลี่ยนแปลง’ อีเวนต์สำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจ โดยงานจัดขึ้น 2 วันเต็ม ตั้งแต่วันที่ 9-10 กันยายน 2566 เพื่อร่วมกันถอดอินไซต์คว้าโอกาสรับเทรนด์ธุรกิจปี 2024 และยกระดับผู้ประกอบการแห่งศตวรรษที่ 21

อย่างไรก็ตามตลอด 2 วันของเวที The Secret Sauce Summit 2023: Infinite Growth หลากหลายเวทีที่นำเสนอบทเรียนหรือแนวคิดการบริหารธุรกิจจากเหล่าผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจชั้นนำของเมืองไทย ไม่ว่าจะเป็น ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน), ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, อัจฉรา บุรารักษ์ ผู้ก่อตั้งและ Creative Director ไอเบอร์รี่ กรุ๊ป และผู้บริหารชั้นนำอีกกว่า 20 ท่าน

พร้อมเผยข้อมูลเกี่ยวกับ SMEs หรือ ‘วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม’ จากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ที่ระบุว่า SMEs ไทยมีส่วนต่อการจ้างงานถึง 71.7% ของการจ้างงานทั้งระบบ โดยประเทศไทยมี SMEs มากถึง 99.5% ของวิสาหกิจโดยรวม แต่กลับพบว่าไทยประสบปัญหา ‘ขาดแคลนธุรกิจที่มีศักยภาพ’ (Missing Middle) หรือต้องเร่งเสริมกำลัง ‘วิสาหกิจขนาดกลาง’ ซึ่งเป็นตัวละครที่มีบทบาทหลักต่อการสร้าง GDP ของประเทศไทย 

นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ และบรรณาธิการบริหาร THE STANDARD กล่าวเปิดงานด้วย 4 ปัญหาที่ทำให้ SMEs ไทยไม่เติบโต หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นกับดักที่ทำให้ SMEs ยังไม่สามารถขยับจาก SMEs รายเล็กขึ้นมาเป็น SMEs ระดับกลางได้ ได้แก่ 

1. แหล่งเงินทุน

SMEs ไทยส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้บริการทางการเงินของสถาบันการเงินในระบบได้เท่าที่ควร ธปท. ระบุว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 สินเชื่อ SMEs จากธนาคารพาณิชย์มีมูลค่าสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 3,292,457 ล้านบาท หรือแค่ 19% จากวงเงินสินเชื่อทั้งระบบ 

หากเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลจาก Financing SMEs and Entrepreneur 2020: An OECD Scoreboard พบว่า สัดส่วนของสินเชื่อคงค้างของ SMEs ในปี 2560 ของเกาหลีใต้และมาเลเซียมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 80% และ 50% ตามลำดับ 

2. หน่วยงานผลักดัน SMEs แบบ ‘ต่างคนต่างทำ’ และงบอยู่ในหลายแผน

ข้อมูลจาก สสว. ระบุว่า 5 ปีที่ผ่านมามีหน่วยงานส่วนกลางที่มีหน้าที่สนับสนุน SMEs มากกว่า 20 หน่วยงาน แต่มากกว่า 10 กระทรวงกลับพบว่าการดำเนินงานยังเป็นลักษณะ ‘ต่างคนต่างทำ’ และมี ‘คนละเป้าหมาย’ 

3. ช่องว่างระหว่าง ‘รัฐ’ กับ ‘เอกชน’

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ ระบุว่า ผู้ประกอบการขนาดย่อยซึ่งเป็น 81.9% มักไม่ค่อยเข้าสู่ระบบ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะขาดแรงจูงใจ เช่น การออกนโยบายที่จะนำ ‘จำนวนธุรกรรมออนไลน์’ มาใช้ประเมิน ‘ภาษี’ ทำให้ SMEs ลังเลที่จะใช้ e-Payment อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจนี้ส่งผลให้ความช่วยเหลือของภาครัฐอาจไม่ครอบคลุมไปถึงได้ 

4. ขาดองค์ความรู้ (Knowledge) 

เรื่องแรกคือ องค์ความรู้ด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy ยิ่งมีผู้ประกอบการที่ขาดทักษะดิจิทัลมากเท่าไร ยิ่งเป็นฝันอันไกลที่ผู้ประกอบการจะตัดสินใจทำ Digital Transformation และขาดองค์ความรู้การบริหารและแต้มต่อของผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับผู้เล่นรายกลางหรือรายใหญ่ได้ ทั้งจากการที่ไม่เห็นเคสจริง กรณีศึกษาจริง ไม่มี Community เข้าไม่ถึง Solutions, Tools และอื่นๆ 

งานครั้งนี้มุ่งยกระดับ SMEs ด้วยการสร้าง Entrepreneurial Spirit ผ่านทักษะการบริหารจัดการให้องค์กรเติบโต พร้อมพัฒนาทีมงานด้วยความรู้และชุดทักษะที่สอดคล้องกับความรู้ในปัจจุบัน ปิดท้ายด้วยการวางรากฐานระบบให้ดีขึ้น นำนวัตกรรมหรือหาวิธีการมาสร้างการบริหารจัดการองค์กร โดยมีเนื้อหาครอบคลุมทั้งด้าน Marketing & Sale / Finance Tax / Human Resources (HR) / Internal Control / Digital และ Logistic & Supply Chain Management

สามารถรับชมย้อนหลังผ่านระบบออนไลน์ พร้อมสิทธิ์รับชมตลอด 3 เดือนเต็ม ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2566 และรับสรุป Key Takeaway ทุก Session เปิดจำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ที่ Zipevent


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...