รู้จัก TikTok For Business โซลูชันการตลาดแห่งยุค สนับสนุน SMEs ให้ก้าวไปอย่างยั่งยืน | Techsauce

รู้จัก TikTok For Business โซลูชันการตลาดแห่งยุค สนับสนุน SMEs ให้ก้าวไปอย่างยั่งยืน

ถ้าหากพูดถึง ‘TikTok’ หลาย ๆ คนคงนึกถึงแอปพลิเคชันยอดฮิตที่รวบรวมคลิปวิดีโอสั้น ๆ ที่ใคร ๆ ก็สามารถที่จะสร้างสรรค์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเต้น การทำอาหาร หรือการนำเสนอความรู้ต่าง ๆ ก็สามารถที่จะทำผ่านแพลตฟอร์มของ TikTok ได้เลย ทำให้ในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานแอป TikTok นั่นพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า TikTok นั้นสามารถที่จะช่วยขยายและส่งเสริมธุรกิจไปอีกขั้นได้

Techsauce จึงได้รับเกียรติพูดคุยกับคุณธัญวุฒิ วงษ์สุนทร SMB Lead จาก TikTok ในหัวข้อ ‘TikTok for Business โซลูชันการตลาดแห่งยุค’ ที่เปิดโอกาสให้แบรนด์และ SMEs ต่อยอดธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยม ทำการตลาด และสร้าง Brand Awareness

ทำความรู้จัก 5 ประเภทของ TikTok for Business

5 โฆษณาบนแพลตฟอร์มของ TikTok Ads นั้นจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ Standard Ads ที่มีจุดประสงค์ในการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ในหมู่ผู้ใช้งาน และ Engagement Products ที่มีเป้าหมายให้ผู้ใช้นั้นสามารถที่จะมีส่วนร่วมกับทางแบรนด์ได้ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

  1. Brand Takeover (Standard Ads): ตัวโฆษณาแบบ Brand Takeover นั้นจะแสดงขึ้นมาทันทีที่เรากดเข้าแอปพลิเคชัน โดยจะมีระยะเวลาวิดีโอประมาณ 3 วินาที สามารถกดตรงแบนเนอร์เข้าไปดูรายละเอียดสินค้าหรือบริการได้ทันที และผู้ใช้สามารถที่จะกดข้ามได้

  2. Top View (Standard Ads): ตัวโฆษณาแบบ Top View นั้นจะแสดงหลังจากตัว Takeover ซึ่งจะแตกต่างจากตัว Takeover ตรงที่สามารถที่จะใส่วิดีโอที่มีความยาวกว่าตัว Brand Takeover 

  3. In-Feed Ad (Standard Ads): Algorithm ของทาง TikTok จะหมุนตัวโฆษณาที่เหมาะสมกับคอนเทนต์ที่ผู้ใช้สนใจมาขึ้นในฟีด โดยธุรกิจต่าง ๆ สามารถสมัครใช้ In-Feed Ads ได้ผ่านเว็บไซต์หรือ TikTok Self-serve ได้เลย เหมาะกับธุรกิจ SMEs อย่างมาก

  4. Hashtag Challenge (Engagement Products): แบรนด์สามารถที่จะสร้าง Hashtag หรือเทรนด์อะไรบ้างอย่างที่สามารถให้ผู้ใช้งานนั้นเข้ามามีส่วนร่วมกับแคมเปญได้

  5. Brand Effect (Engagement Products): สร้างเอฟเฟกต์ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้ได้ โดยทางแบรนด์สามารถที่จะใช้ Brand Effect ร่วมกับ Hashtag Challenge ได้อีกด้วย

โซลูชัน TikTok Self-Serve ตอบโจทย์ธุรกิจทุกประเภท

ด้วยตัว In-Feed Ads ที่เปิดให้ธุรกิจต่าง ๆ นั้นสามารถสมัครเองได้ผ่านตัว TikTok Self-Serve แต่ด้วยตัวคอนเทนต์ที่มีค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ธุรกิจ มาดูกันว่า TikTok Self-Serve นั้นมีกลไก Set-up ความต้องการของแต่ละธุรกิจอย่างไรบ้าง

เมื่อผู้ใช้งานนั้นสมัครเข้ามาใช้ตัวโฆษณา ก็จะได้รับตัวบัญชีสำหรับโฆษณา ซึ่งในแต่ละบัญชีนั้นก็จะมีการแบ่งออกเป็น 3 ระดับ 

1. Campaign Level จะมีหน้าที่เอาไว้ Set up จุดประสงค์ทางการตลาด ซึ่งทาง TikTok ก็จะมีให้เลือกอยู่ด้วยกัน 5 เป้าหมายคือ

  • Reach & Frequency
  • Video Views
  • Traffic
  • App Installs
  • Conversion

โดยในแต่ละตัวนั้นจะมีวิธีการคิดเงินไม่เหมือนกัน ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 แบบด้วยกัน

  • CPM (Cost per 1,000 Impressions): ในการที่จะให้โฆษณาขึ้น 1,000 ครั้ง ธุรกิจสามารถที่จะปรับราคาของโฆษณาตามงบประมาณที่มีได้เลย 

  • CPV (Cost per video view): ในการที่จะให้ผู้ใช้รับชมวิดีโอ 2 หรือ 6 วินาที ธุรกิจสามารถที่จะปรับราคาของโฆษณาตามงบประมาณที่มีได้เลย

  • CPC (Cost per click): เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป้าหมายแบบ Traffic, App Install และ Conversion ระบบจะคิดเงินจากการคลิกหนึ่งครั้ง โดยการใช้ CPC นั้นจะต่างจากการใช้ CPM หรือ CPV ตรงที่ระบบนั้นจะแสดงตัวโฆษณาไปยังผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะคลิกบนตัวโฆษณามากกว่า

  • oCPC (Optimised cost per click): เหมาะสำหรับผู้ที่มีเว็บไซต์ขายสินค้า เพราะว่าระบบจะทำการคิดเงินจากการคลิกเพื่อซื้อสินค้า โดยระบบนั้นจะแสดงตัวโฆษณาไปยังผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมที่มีแนวโน้มว่าจะคลิกบนตัวโฆษณาและซื้อสินค้า

2. Ad Group Level มีหน้าที่เอาไว้ให้ธุรกิจนั้นสามารถเลือกตัวกลุ่มเป้าหมายได้ตามต้องการ เพื่อทำให้โฆษณานั้นตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการมากขึ้น และไม่ทำให้งบประมาณในการโฆษณานั้นมากเกินไป โดยจะมีให้เลือกอยู่ 4 กลุ่มคือ

  1. ลักษณะประชากร: สถานที่, เพศ, อายุ และภาษา
  2. เครื่องมือสื่อสาร: ระบบปฎิการบนมือถือ, การเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายผู้ใช้บริการ
  3. ความสนใจ: การศึกษา, ความงาม, ท่องเที่ยว หรืออาหาร เป็นต้น
  4. การปรับแต่ง: ปรับแต่งไปยังกลุ่มเป้าหมายใกล้เคียงได้

3. Ad Creative Level ที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจหรือ SMEs ที่ไม่ได้มีทรัพยากรในการสร้างโฆษณาเหมือนธุรกิจขนาดใหญ่ ทาง TikTok จึงได้มี Creative Tools ที่จะเข้ามาช่วยธุรกิจในการสร้างสรรค์โฆษณาแบบง่าย ๆ ซึ่งก็จะมีอยู่ 5 ตัวช่วยด้วยกัน

  1. Video Creation Kit: ทาง TikTok ก็จะมีเทมเพลตและเพลงที่ธุรกิจสามารถที่จะใส่วิดีโอเข้าไปได้เลย
  2. Landing Page to Video: สำหรับผู้ที่มี Sale Page หรือเว็บไซต์ที่มีวิดีโออยู่แล้ว เพียงผู้ใช้นั้นใส่ URL ลงไปใน Landing Page to Video ระบบก็จะสามารถดึงวิดีโอบนเว็บไซต์มาให้ทันที
  3. Smart Soundtrack: ระบบ AI จะวิเคราะห์ว่าวิดีโอนั้นเหมาะกับเพลงอย่างไร เช่น เพลงเร็ว หรือเพลงช้า
  4. Smart Video: สำหรับผู้ที่มีวิดีโออยู่แล้ว และมีหลาย ๆ ซีนที่สำคัญ ตัวระบบนั้นจะตัดต่อวิดีโอให้ผู้ใช้แบบอัตโนมัติ
  5. Automated Creative Optimisation: ระบบจะทำการดูให้ว่าแคมเปญไหนมีผลการทำงานดีหรือไม่ดี ระบบจะช่วยในการเปิดและปิดตัวแคมเปญให้อัตโนมัติ

โปแกรมช่วยเหลือ SMEs ในการสร้างสรรค์โฆษณาจาก TikTok

TikTok ร่วมสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กด้วยเครดิตโฆษณามูลค่ารวม 3.15 พันล้านบาท เพียงสมัครเข้ามาบน TikTok Self-Serve พร้อมยืนยันตัวธุรกิจ จะได้รับฟรีเครดิตโฆษณาจำนวน 300 เหรียญหรือเป็นมูลค่ากว่า 9,500 บาท และเมื่อธุรกิจท็อปอัพเครดิต TikTok นั้นก็จะเติมเงินให้เพิ่มเท่ากับจำนวนเครดิตที่ผู้ใช้เติมเข้าไป สูงสุดถึง 63,500 บาท เช่น หากผู้ใช้เติมเงิน 30,000 บาท ทาง TikTok ก็จะเติมเงินให้ฟรีอีก 30,000 รวมเป็นทั้งหมด 60,000 บาท ด้วยเป้าหมายที่จะช่วยให้ SMEs ต่าง ๆ นั้นสามารถที่จะกลับมาเริ่มธุรกิจใหม่ได้อีกครั้งหลังปลดมาตรการล็อกดาวน์ไปแล้ว





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...