ธนาคารทิสโก้และบริษัทน้องอย่าง All-Ways ได้ซื้อกิจการ Retail Banking ของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ประเทศไทย (SCBT) ด้วยข้อตกลงมูลค่าถึง 5.5 พันล้านบาท เพื่อจะมุ่งสู่การเดินหน้าพัฒนา Market positioning และความครอบคลุมของผลิตภัณฑ์
ปลายเดือนกันยายน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของธุรกิจธนาคารค้าปลีกของ SCBT มีจำนวน 5.5 พันล้านบาท ประกอบไปด้วยสินทรัพย์รวม 4.16 หมื่นล้านบาทและหนี้สินรวม 3.61 หมื่นล้าน Tisco Financial Group ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของธนาคารทิสโก้และบริษัท All-Ways กล่าวว่าวันพฤหัสบดีได้ได้มีการยื่นคำร้องการซื้อขายกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1894 โดยธนาคารชาร์เตอร์ของอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน เข้ามาตั้งสาขาแรกในกรุงเทพ
คุณอิสระ อรดีดลเชษฐ์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ของธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด กล่าวว่าทางโทรศัพท์ว่า "มันเป็นเรื่องยากมากที่จะอยู่รอดในธุรกิจธนาคารค้าปลีกในไทย สำหรับผู้เล่นขนาดเล็ก เพราะอยู่ท่ามกลางสนามที่มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก" เขากล่าวต่อว่า "ในขณะเดียวกัน ภาพรวมของธนาคารควรจะปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2017 จากการฟื้นตัวด้านการบริโภคของประชาชน และนโยบายใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ"
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ มีการกำหนดเป้าหมายการฟื้นตัวหลังจากปีที่ผ่านมาได้ประกาศภาวะขาดทุนตั้งแต่ปี 1989 ท่ามกลางสัญญาณว่าการดำเนินงานของไทยไม่ได้อยู่ในจุดที่รุ่งเรือง ในเดือนกุมภาพันธ์ธนาคารบันทึกค่าการเสื่อมไว้ที่ 126 ล้านดอลล่าร์
ภายใต้ข้อตกลงธุรกิจธนาคารค้าปลีก SCBT ประกอบด้วย บัตรเครดิต, สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อธุรกิจ, บริหารความมั่งคงทางการเงิน, สินเชื่อจำนอง, ประกันภัยของธนาคาร และเงินฝากรายย่อย
7 พันล้านบาทในการให้สินเชื่อส่วนบุคคล, 5 พันล้านในการให้สินเชื่อธุรกิจ, 2.5 หมื่นล้านในการจำนอง, 6 สาขาของ SCBT, ลูกค้ารายย่อย 300,000 คน และลูกค้ารายใหญ่อีก 100,000 คน จะถูกโอนไปธนาคารทิสโก้ในขณะที่มูลค่าของธุรกิจบัตรเครดิต 4 พันล้านจะเป็นของบริษัท All-Ways
"การถ่ายโอนไปยังทิสโก้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2017 ภายใต้การอนุมัติตามกฎข้อบังคับ" ทิสโก้กล่าวว่า "SCBT และทิสโก้จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างราบรื่นสำหรับลูกค้าของธนาคารค้าปลีก"
ธนาคารจากอังกฤษสแตนดาร์ดชาร์เตอร์จ ซึ่งโฟกัสที่ตลาดเอเชีย กำลังจะปรับฟื้นธุรกิจที่ไม่ทำกำไร หรือขาดทุนในการแข่งขัน หลังจากโดนชะลอตัวเป็นเวลานานในตลาดเกิดใหม่ ภายหลังจากการเข้าซื้อกิจการ SCBT จะยังคงดำเนินงานสถาบันการเงิน และธุรกิจธนาคารพาณิชย์
สำหรับทิสโก้ การเข้าซื้อกิจการจะช่วยให้เกิดการขยายพื้นที่ในธุรกิจธนาคารค้าปลีก
"การซื้อกิจการในครั้งนี้ สอดคล้องกับจุดยืนเชิงกลยุทธ์ของทิสโก้" กลุ่มทิสโก้กล่าว "ทิสโก้จะสามารถสร้างความแข็งแกร่งด้านสาขาธุรกิจธนาคารค้าปลีก ขยายฐานลูกค้า สร้างไลน์ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์มากขึ้น และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายค้าปลีก"
คุณอรนุช อภิศักดิ์ศิริกุล คณะกรรมการบริหารทิสโก้กล่าวว่า บัตรเครดิตจะเป็นธุรกิจใหม่สำหรับทิสโก้ SCBT จะช่วยบริหารจัดการธุรกิจนี้เป็นเวลาหนึ่งปี All-Ways จะเปลี่ยนชื่อเป็น Tisco Card Service ต่อไปหลังจากนี้
คนหลายร้อยคนจาก SCBT จะถูกโอนไปยังกลุ่มทิสโก้
คุณอรนุชกล่าวว่าธุรกิจค้าปลีกธนาคารมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยที่ผู้สูงอายุมีกำลังซื้อสูง
สินเชื่อกลุ่มทิสโก้จะกระโดดจาก 15% ในปีหน้าหลังจากเสร็จสิ้นการถ่ายโอนสินทรัพย์ ธนาคารทิสโก้จะมี 57 สาขาทั่วประเทศ
ด้านคุณกวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทยกล่าวว่า การซื้อกิจการของธนาคารค้าปลีกจะเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับทิสโก้เพราะการแข่งขันมีความรุนแรง และมีจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินทุนสูงในการจัดการจำนวนมากของลูกค้า
หุ้นของทิสโก้ปิดวันพฤหัสบดีบน SET ที่ 58 บาท เพิ่มขึ้น 1.25 บาทมูลค่าการค้า 747,000,000 บาท
แปลและเรียบเรียงจาก bangkokpost.com
ข่าวนี้อาจจะไม่ได้พูดถึงความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี แต่สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์ M&A เพื่อการได้มาซึ่งโปรดักส์ใหม่ๆ ที่ตนยังมีไม่ครบ คล้ายกับแนวคิดของการทำ M&A ของบริษัทใหญ่กับบริษัท Startup เพียงแต่ครั้งนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นธนาคารด้วยกันเอง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด