เดินทางข้ามจังหวัดได้ไหม คำถามคาใจที่หลายคนสงสัย โดยข้อมูลตามประกาศราชกิจจานุเบกษา (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 มีคำสั่งห้ามออกเคหสถานระหว่างเวลา 21.00 - 04.00 น. ในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา โดยศบม. จะตั้งจุดตรวจเคอร์ฟิวทั้งหมด 147 จุด แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 88 จุด 5 จังหวัดปริมณฑล 20 จุด และ 4 จังหวัดภาคใต้ 39 จุด มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้น 5 กลุ่ม ได้แก่ การสาธารณสุข การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน การขนย้ายประชาชน การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และการประกอบอาชีพที่จำเป็น ทั้งนี้ต้องแสดงใบอนุญาตขับรถ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวพนักงานหรือหนังสือรับรองการทำงาน และเอกสารรับรองความจำเป็น หรือหลักฐานอื่น ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
สำหรับกรณีจำเป็นอื่น ๆ ต้องแสดงเหตุจำเป็นพร้อมหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ (ดาวน์โหลด เอกสารรับรองความจำเป็นสำหรับการออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21:00 - 04.00 น. ได้ที่นี่)
ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากไม่มีเหตุจำเป็น กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามจังหวัดอาจไม่ได้รับความสะดวกและอาจใช้เวลามากกว่าปกติ
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำหนดมาตรการสำหรับการเดินทางข้ามจังหวัด ดังนี้ ให้ลดการให้บริการลงให้คงเหลือเฉพาะการเดินทางที่มีความจำเป็นเท่านั้นและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่จังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนดอย่างเคร่งครัด ห้ามลงจากรถระหว่างทางหรือในสถานที่ซึ่งมิใช่ที่หยุดหรือจอดตามที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถตรวจคัดกรองผู้โดยสารตามมาตรการสาธารณสุขได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยกำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินมาตรการ
อย่างไรก็ตามประชาชนสามารถเดินทางมาฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดได้ หรือมีใบนัดให้แสดงแก่เจ้าหน้าที่ ไม่ต้องมีเอกสารรับรอง เนื่องจากเคอร์ฟิวเน้นป้องกันคนใน 10 จังหวัดเดินทางออกนอกพื้นที่มากกว่า (ข้อมูลจากเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2564)
อ้างอิง: ราชกิจจานุเบกษา กรมการขนส่งทางบก
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด