True 5G Tech Talk ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยี 5G | Techsauce

True 5G Tech Talk ยกระดับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเทคโนโลยี 5G

เมื่อพูดถึงการศึกษาต้องยอมรับว่า ประเทศไทยยังมีความความเหลื่อมล้ำและยังต้องมีการพัฒนาด้านการศึกษา  ในขณะที่เรามีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น มีอุปกรณ์มากมาย เราจะนำเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาพัฒนาการศึกษาได้อย่างไร แล้วเทคโนโลยี 5G จะเข้ามาช่วยลดช่องว่างทางการศึกษาได้อย่างไรบ้าง

True 5G ร่วมกับ Huawei ASEAN ACADEMY และ Techsauce จัดงาน True 5G Tech Talk สัมมนา 5Gพลิกโฉมประเทศไทย  โดยรวมผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทั้งไทยและนานาชาติจากหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่ Health & Wellness, Education, Retails, Agriculture, Industrial  และ  Intelligent City and Security มาร่วมเสวนาในหลากหลายมิติ กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยี 5G  

โดยงานสัมมนา 5G พลิกโฉมประเทศไทย  True 5G Tech Talk ครั้งที่ 2  จะจัดขึ้นในวันที่ 20  กรกฎาคมนี้     ในหัวข้อ Education หรือการศึกษา  จะกล่าวถึงความเหลื่อมล้ำของการศึกษาไทย  ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่โลกกำลังเผชิญกับโควิด-19 ปัญหาดังกล่าวได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นเท่าตัวในแง่ของการเข้าถึงการศึกษาทั้งในการเรียนที่สถานศึกษาและการเรียนออนไลน์ ไม่เพียงเท่านั้น ปัญหาเรื่องหลักสูตรที่ไม่เหมาะกับความถนัดรายบุคคลของนักเรียนและไม่สามารถใช้ได้จริงในโลกการทำงานก็เป็นอีกปัญหาที่นักเรียนนักศึกษาต้องเผชิญเช่นกัน

พบกับ Speaker ระดับ Global

ดร. เดวิด กาลิเปอร์  ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท SDGx, ผู้อำนวยการบริษัท Yunus Center Near Future lab และอดีต Head Innovation and Knowledge ของ UNDP จะมาพูดถึงบทบาทของเทคโนโลยี 5G ที่จะเข้ามาช่วยเหลือ และนำเสนอแนวทางในแก้ไขปัญหาต่างๆ  ทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาการศึกษา  นอกจากนี้                   ดร. เดวิด จะยกตัวอย่าง case study การศึกษาของประเทศต่างๆ ที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา อีกทั้งพูดคุยในประเด็นของอนาคตการศึกษาไทยเมื่อมีการใช้เทคโนโลยี 5G ด้วย เพื่อเปิดมุมมองอนาคตการศึกษาไทยและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น

พูดคุยในแง่มุมของประเทศไทย

ในด้านของประเทศไทย อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าการศึกษาของประเทศไทยยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องการ                การพัฒนา เพื่อก้าวไปสู่อนาคตที่สดใสของเยาวชนไทย โดยเฉพาะในด้านความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อย่างไรก็ตาม ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีบทบาทมากในสังคม ความหวังที่จะนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการศึกษาของไทยนั้นมีมากน้อยแค่ไหนและทำอย่างไร

คุณ พริษฐ์ วัชรสินธุ  ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัท StartDee และดร. เนตรชนก วิภาตะศิลปิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านความเป็นเลิศทางธุรกิจและการศึกษา  บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จะร่วมเปิดมุมมองถึงประเด็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและปัญหาการศึกษาอื่น ๆ ด้วยเทคโนโลยี 5G  รวมถึงการยกระดับการศึกษาไทยโดยการสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านการศึกษา   ซึ่งจะมีการยกตัวอย่าง Start-up ไทยที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาไทย อีกทั้งเล่าถึงแรงบันดาลใจและประสบการณ์ของตนในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีการศึกษา โดยหวังว่าผู้ชมจะสามารถนำความรู้และข้อคิด ต่างๆ ไปใช้ได้จริงในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีหรือพัฒนาการศึกษาต่อไปได้

ลงทะเบียนเข้าสัมมนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน

การสัมมนาออนไลน์ในครั้งนี้ จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 20 กรกฎาคม 2564  เวลา 18.00 - 20.00 นใสามารถร่วมรับฟังและร่วมแสดงความคิดเห็นในการขับเคลื่อนการศึกษาไทยกับการสัมมนา Interactive  

ผ่านทาง TrueVROOM หรือรับชมถ่ายทอดสดที่ ทรูไอดี ช่อง ไอดี สเตชั่น   ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมสัมมนาฟรี เพียงลงทะเบียนที่ https://cutt.ly/zmiLgd8

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Elon Musk ส่งอีเมลถึงราชกาให้เลือกลาออกหรืออยู่ต่อ เหมือนที่เคยทำกับพนักงาน Twitter ปี 2022

เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ในระบบราชการสหรัฐฯ หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แต่งตั้ง อีลอน มัสก์ ให้เป็นหัวหน้ากระทรวงเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ หรือ DOGE โดยมัสก์และทีมงานได้เดินหน้...

Responsive image

SparkCat คืออะไร ทำงานอย่างไร ? มัลแวร์ตัวแรกบน AppStore ลอบขโมยข้อมูลคริปโตผ่านรูปภาพ

มัลแวร์ SparkCat ถูกพบใน AppStore และ Google Play ใช้เทคโนโลยี OCR ขโมยข้อมูลคริปโตจากรูปภาพในแกลเลอรี ระวังการให้สิทธิ์แอปที่ไม่น่าไว้วางใจ...

Responsive image

นักวิจัยสหรัฐฯ สร้างคู่แข่ง AI จีน DeepSeek ด้วยต้นทุนแค่ 50 ดอลลาร์สหรัฐฯ

นักวิจัยจาก Stanford และ University of Washington สร้างโมเดล AI ด้านการให้เหตุผล s1 คู่แข่ง OpenAI o1 ด้วยต้นทุนต่ำกว่า 50 ดอลลาร์ โดยใช้เทคนิค Distillation และข้อมูลจาก Gemini 2.0...