ทรูปรับทัพครั้งใหญ่ ศุภชัย ขึ้นบริหารซีพีเต็มตัว ดันวิเชาวน์และอติรุฒม์ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ | Techsauce

ทรูปรับทัพครั้งใหญ่ ศุภชัย ขึ้นบริหารซีพีเต็มตัว ดันวิเชาวน์และอติรุฒม์ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่

หลังจากมีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่องว่าท่านเจ้าสัวแห่งซีพี ธนินท์ เจียรวนนท์ จะพักและยกตำแหน่งสืบทอดให้กับลูกชายศุภชัย เจียรวนนท์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะผู้บริหารซีพีแทน ทำให้ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ของ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ว่างลง

แม้วงในได้มีการพูดคุยกันมาสักพักแล้วว่าตำแหน่งดังกล่าวต้องตกเป็นของผู้บริหารที่อยู่ในเครือทรูมานาน ไม่คนใดก็คนหนึ่งนั่นคือ "วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์" ผู้อยู่กับทรูมานานกว่า 25 ปี โดยมีส่วนสำคัญในการผลักดันโครงข่ายสื่อสารของทรูมาโดยตรง  ไม่ก็อีกท่านหนึ่งคือ "อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข" ซึ่งอยู่กับทรูมากว่า 19 ปี และมีประสบการณ์หมุนเวียนอยู่ในองค์กรหลายหน่วยงาน ทั้ง We PCT ในสมัยนั้น, ทรูมันนี่ (ก่อนที่จะมาอยู่กับ ascend), เคยดูแลการเปิดตัว 3G ให้กับทรูมูฟ, ดูแลส่วนงานไอที รวมถึงมีประสบการณ์ในการทำการตลาดส่วนภูมิภาคอีกด้วย

True-Corp-Management

ล่าสุดก็ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า จากการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ของทรู คอร์ปอเรชั่น มีมติเห็นชอบการแต่งตั้งและปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร ดังนี้

  • ศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร (Chairman of the Executive Committee)
  • วิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานด้านการพาณิชย์
  • อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) รับผิดชอบงานด้านปฎิบัติการ

โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560

นับเป็นการผลัดใบครั้งใหญ่ครั้งสำคัญ สำหรับช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา เรามาย้อนรอยเหตุการณ์สำคัญๆ กันเสียหน่อย

  • อดีตบริษัททรูชื่อ เทเลคอมเอเชีย มาก่อน ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม แบบ Fixed Line, อินเทอร์เน็ต และถ้าใครยังจำกันได้มี PCT ด้วย
  • เทเลคอมเอเชียเคยร่วมทุนกับ กับกลุ่มออเร้นจ์ จากประเทศฝรั่งเศส ภายใต้ ทีเอ ออเร้นจ์ แต่ในที่สุดกลุ่มออเร้นจ์ก็ถอนตัวกลับไป และบริษัทดังกล่าวกลับมาเป็นส่วนหนึ่ง ของบริษัท ทรู ภายใต้ชื่อ ทรูมูฟ ในปี 2547
  • ปี 2553 เข้าซื้อหุ้นของบริษัท กลุ่มฮัทชิสัน ไวร์เลส ซึ่งหลายคนรู้จักกันในเทคโนโลยีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือในรูปแบบ CDMA มีการควบรวมกิจการ เพื่อนำคลื่นความถี่ที่ได้มาเปิดให้บริการ 3G ในเวลานั้น และผนวกเอาพนักงานบางกลุ่มเข้ามา
  • ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มผันทำธุรกิจด้านการเงินในรูปแบบของ Non-bank บริการที่เห็นเด่นๆ ก็อย่างทรูมันนี่ ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่ภายใต้บริษัท ascend Money ในกลุ่มของ ascend Group 
  • นี่ยังไม่นับบริษัทอื่นๆ ในเครือซีพีที่มีประวัติซับซ้อนมากมายอย่าง ทรูวิชั่น อันเป็นธุรกิจเดิมที่ชื่อ ยูบีซี โดย กลุ่มชินวัตรได้ขายหุ้นให้กับซีพีในเวลานั้น และกลุ่มเอ็มไอเอช ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ขายหุ้นทั้งหมดให้กับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชัน จนกระทั่งปัจจุบันกลายมาเป็น ทรูวิชั้่น นั่นเอง

และนี่เป็นการผลัดใบครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2542 ที่ศุภชัย เจียรวนนท์ จะส่งไม้ต่อตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ให้กับผู้บริหาร (ร่วม) ทั้ง 2 แต่ก็เชื่อว่าหลายๆ อย่างในองค์กรไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะทั้ง 2 ท่านก็ดูแลองค์กรนี้มาอย่างยาวนานและอยู่ในระดับวางนโยบายของบริษัทมาโดยตลอดอยู่แล้ว

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...