กอบศักดิ์ มอง ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นป่วนหนัก เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve สะท้อนสัญญาณ Recession | Techsauce

กอบศักดิ์ มอง ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นป่วนหนัก เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve สะท้อนสัญญาณ Recession

กอบศักดิ์ มอง ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นป่วนหนัก เศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve สะท้อนสัญญาณ Recession ในอีก 12-24 เดือน 

ตลาดพันธบัตรสหรัฐฯ ปั่นป่วนหนัก

คุณกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้มีการโพสต์ผ่าน facebook เกี่ยวกับ ‘ตลาดพันธบัตรสหรัฐปั่นป่วนหนัก’ โดยมีใจความสำคัญระบุว่า ไม่ใช่เพียงแค่ตลาดหุ้น หรือ ตลาดคริปโตเท่านั้นที่ระเนระนาด แต่ตลาดพันธบัตรก็ถูกกระทบหนักเช่นกัน

ในระยะเวลาสั้นๆ เพียงแค่ 3 วัน ดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯ 2 ปี เพิ่มขึ้น +0.58% สูงสุดในรอบ 14 ปี เป็น 3.354% รับกับดอกเบี้ยพันธบัตรสหรัฐฯ ในอายุอื่นๆ ที่พุ่งขึ้นเช่นกัน นำมาซึ่งความเสียหายกับผู้ที่ได้ลงทุนในกองพันธบัตรสหรัฐฯ ต่างๆ

ยิ่งไปกว่านั้น ดอกเบี้ยพันธบัตรระยะสั้นเช่น 2 ปี ได้เริ่มพุ่งไปอยู่ระดับที่สูงกว่าดอกเบี้ยระยะยาว 10 ปี 30 ปี ทำให้เริ่มเข้าสู่ภาวะ Inverted Yield Curve เป็นรอบที่สองของปี สะท้อนสัญญาณว่าจะมี Recession ในอนาคต 12-24 เดือนข้างหน้า

ภาวะเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่ตลาดคิดว่า เฟดต้องขึ้นดอกเบี้ยไปจัดการปัญหาระยะสั้น และนำมาซึ่งเศรษฐกิจที่ซบเซาหรือถดถอย (Recession) จนท้ายสุดเฟดต้องลงดอกเบี้ยมาในระยะยาว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง 

ทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจากตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์ ที่ออกมาว่า เงินเฟ้อที่คิดกันว่าผ่านจุดสูงสุดแล้ว ยังสามารถสูงขึ้นได้อีก Inflation is alive and well ดื้อยา กว่าที่คิด ซึ่งมีนัยยะต่อไปกับการประชุมของเฟดในคืนวันอังคารและคืนวันพุธ ว่ากรรมการจะตัดสินใจอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ สูตรยาโดยรวมจะต้องแรงขึ้น โดยตลาดคิดว่า จะต้องเพิ่มไปอีกอย่างน้อย .50% จากแนวทางเดิมที่ท่านประธานเฟดเคยประกาศไว้เมื่อการประชุมครั้งที่แล้ว เพียงแค่ว่าจะเป็นแบบทำเลย หรือ Front Load คือ ขึ้น +0.75% ในรอบนี้เลย หรือ ค่อยเป็นค่อยไป คือ ยังขึ้น +0.5% ในรอบนี้ และประกาศว่าจะขึ้นต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปีไปอีก 3-4 ครั้ง ปรับเพิ่มจากแนวทางเดิม ที่เหลืออยู่อีก 1-2 ครั้งเท่านั้น

ซึ่งการประชุมเฟดที่จะถึงนี้ จะมีเรื่องให้เราติดตาม 4 เรื่อง คือ

1. การตัดสินใจครั้งนี้ว่าขึ้นเท่าไร

2. Dot Plot ว่าจะไปจบที่ตรงไหน จะไปทะลุ 4% หรือไม่

3. ประมาณการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯล่าสุด โดยเฉพาะว่าแนวโน้มเงินเฟ้อ ว่าต่างจากเดิมแค่ไหน เศรษฐกิจสหรัฐฯจะซบเซาลงแค่ไหน จะเข้าใกล้ หรือเป็น Recession หรือไม่

4. ที่สำคัญสุด คือ การแถลงและตอบคำถามของท่านประธานเฟด ที่แสนจะเดายาก ว่าท่านจะหลุดอะไร และเมื่อท่านพูดแล้ว ตลาดจะเหวี่ยงไปทางไหน 

และทุกคนอยากรู้ว่า ท่านประธานเฟดจะพูดอะไรเพิ่ม นอกจากแผ่นเสียงที่ตกร่องว่า 

"Inflation is much too high" เงินเฟ้อสูงเกินไป  

"Restoring price stability is essential" การดูแลให้ราคากลับมามีเสถียรภาพ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง 

"เฟดพร้อมทำทุกอย่าง ที่จะสู้ไม่ให้เงินเฟ้อฝังรากลึก" "เฟดพร้อมขึ้นดอกเบี้ยไปจนเงินเฟ้อลดลงมา" 

แต่ที่แน่ๆ คำถามของนักข่าวและสังคมต่อท่านประธานเฟด จะเริ่มร้อนแรงขึ้นจากนี้ต่อไป เพราะท่านคือแม่ทัพที่บัญชาการศึกสู้เงินเฟ้อ แต่กำลังเอาเงินเฟ้อไม่อยู่ สุดท้ายอาจจะต้องจำใจงัดยาแรง ใช้ขีปนาวุธสุดท้าย ก็คือ ทำให้เกิด Recession เพื่อให้เงินเฟ้อลงมา ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็หมายความว่า คนนับสิบล้านที่จะต้องตกงาน สูญเสียบ้าน มีปัญหาครอบครัว บริษัทหลายแสนแห่งที่จะต้องปิดกิจการ ไม่นับ Emerging markets อีกหลายประเทศที่จะเกิดวิกฤต กระทบคนไปอีกหลายร้อยล้านคนทั่วโลก

ทั้งหมดมาจาก "เฟดที่พลาดแล้วพลาดอีก" จนนำไปสู่ความเสียหายดังกล่าว ซึ่งต้องมาลุ้นกันว่าอีก 2 คืน เฟดจะตัดสินใจอย่างไร ตลาดจะเหวี่ยงแค่ไหน ทั้งหุ้น พันธบัตร ค่าเงินประเทศต่างๆเพราะโค้งนี้คือโค้งสำคัญ ที่เดิมพันคือความเป็นอยู่ของทุกคน 

อ้างอิง facebook กอบศักดิ์ ภูตระกูล

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ห่วงโซ่อุปทานอินเดีย-อาเซียนเนื้อหอม ขึ้นแท่นตัวเลือกหลักที่น่าจับตาหวังลดพึ่งพาจีน-สหรัฐฯ

อินเดีย-อาเซียนเนื้อหอม ผู้นำธุรกิจทั่วโลกฝากความหวังเป็นห่วงโซ่อุปทานในอนาคต หลังความตึงเครียดระหว่างมหาอำนาจจีนและสหรัฐย่ำแย่ลง...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ T.R.A.V.E.L ของ Grab กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นและมหภาค

แกร็บ ประเทศไทย ยกระดับการท่องเที่ยวไทยผ่านกลยุทธ์ T.R.A.V.E.L...

Responsive image

SCB พลิกโฉมสู่ AI-First Bank ใช้ AI ขับเคลื่อนองค์กรรอบด้าน พร้อมเปิดตัว 3 AI ตัวเก่ง ช่วยอนุมัติสินเชื่อ ดูแลพอร์ต และให้คำแนะนำกองทุน

ไทยพาณิชย์โชว์ความสำเร็จกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch โดยเปิดผลดำเนินงานไตรมาสแรกปี 2567 ซึ่งเติบโตต่อเนื่องในทุกมิติ พร้อมมุ่งหน้ายกระดับประสบการณ์ดิจิทัลแบงก์สู่การเป็น A...