แม้ว่าตอนนี้ไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวและตลาดการส่งออกก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการของหลาย ๆ ประเทศ อย่างไรก็ตามยังมีคลื่นที่กำลังก่อตัวและมีแนวโน้มอย่างมากที่จะสะเทือนเศรษฐกิจในระยะยาวได้นั้นก็คือ “เงินเฟ้อ”
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเงินเฟ้อคือสิ่งสะท้อนการเติบโตของเศรษฐกิจโดยมีที่มาจากอัตราการเติบโตของราคาสินค้าพื้นฐานและพลังงาน ที่นี้ถ้าหากสินค้าเติบโตและคนมีกำลังซื้อตามราคาก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจดีตาม และตรงข้ามหากสินค้าราคาตกต่ำแต่คนไม่มีกำลังซื้อก็จะเกิดเป็นภาวะเงินฝืด ทีนี้เงินต้องเฟ้อแค่ไหนถึงจะดีเพราะหากราคารอบตัวสูงขึ้นตลอดคงไม่มีทางที่รายได้จะสามารถรองรับไหวอย่างแน่นอน และจะเกิดวิกฤติต่อทั้งระบบตามมาแบบลูกโซ่ และตอนนี้ทั่วโลกกำลังเจอแบบเดียวกันนั้นคือ ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ปัจจุบันกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค พุ่งขึ้น 8.3% ในเดือนเม.ย. ส่งผลให้ค่าเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 40 ปี และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในปีนี้แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะลดเงินเฟ้อโดยการเพิ่มดอกเบี้ยธนาคารครั้งใหญ่จากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสัญญาณว่าจะลดลงได้เนื่องจากปัจจัยปัญหาราคาของทุกอย่างที่ปรับขึ้นรวมถึงผลกระทบจากโควิด-19 ส่งผลให้แม้ราคาของสินค้าเพิ่มขึ้นสูงแต่กลับกัน รายได้กลับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและยังจะมีแนวโน้มที่จะเร่งให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะที่สินค้าแพงมีสาเหตุจากราคาน้ำมัน การเพิ่มดอกเบี้ยจึงไม่เพียงพอที่จะจูงใจให้นักลงทุนฝากเงิน และส่งผลให้เงินทุนไหลออกนอกประเทศเนื่องจากดอกเบี้ยที่เพิ่มก็หมายถึงต้นทุนที่เพิ่มนั้นเอง
ทั้งนี้จากตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งขึ้นกว่าการคาดการณ์ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงต่อเนื่อง สิ่งที่เห็นชัดเจนคือตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงตลอดเนื่องจากไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพิงเศรษฐกิจสหรัฐ รวมถึงค่าเงินเฟ้อของไทยเองก็ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ทั้งมาจากราคาต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น ราคาน้ำมัน และภาวะเงินเฟ้อจากประเทศคู่ค้าทั่วโลก แม้ว่าตอนนี้อัตราเงินเฟ้อไทยจะยังไม่สูงเท่าสหรัฐฯ แต่ด้วยขนาดเศรษฐกิจและความเข้มแข็งของตลาดก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้หากไม่ระวัง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้วการจะลดค่าเงินที่สูงขึ้นให้กลับมาอยู่จุดที่ควรจะเป็นนั้นยากและไม่มีวิธีที่ได้ผลในทันที
ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นตอนนี้ไม่ได้เป็นเพราะระบบเศรษฐกิจหรือตลาดค่าเงินเพียงอย่างเดียว แต่สาเหตุหลักเป็นเพราะผลจากการระบาดของโควิดที่สะสมมาตลอด สงครามที่ทำให้ราคาน้ำมันโลกขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ดังนั้นนโยบายทางการเงินไม่เพียงพอต่อการแก้ไขและยังมีปัญหาที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั้งสหรัฐและจีนกำลังเพชิญ
สำหรับนักลงทุนและสตาร์ทอัพที่จะเริ่มธุรกิจในปีนี้นับเป็นความท้าทายอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อสถานการณ์ในอนาคตมูลค่าเงินและต้นทุนสำหรับการลงทุนมีการเปลี่ยนแปลง แม้จะยังมีโอกาสที่รอคอยอยู่เนื่องจากทุนที่ไหลออกจากที่หนึ่งก็มีโอกาสจะมาที่อาเซียนและไทยมากขึ้น แต่ความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินเฟ้อที่อาจจะพุ่งสูงขึ้นกว่านี้ก็ยังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้และต้องระวังอย่างมาก
Reference
US inflation dips to 8.3% but stays close to 40-year high –as it happened
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด