Voyager Station โรงแรมอวกาศ จองตั๋วล่วงหน้าได้แล้ว ในราคา 25 ล้านเหรียญ พร้อมเปิดให้บริการปี 2027 | Techsauce

Voyager Station โรงแรมอวกาศ จองตั๋วล่วงหน้าได้แล้ว ในราคา 25 ล้านเหรียญ พร้อมเปิดให้บริการปี 2027

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้นับเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอวกาศเลยก็ว่าได้ เมื่อเริ่มมีหลายบริษัทันมาสร้างการท่องเที่ยวบนอวกาศอย่างจริงจัง ทั้ง Virgin Galactic ของ Sir Richard Branson และ Blue Origin ของ Jeff Bezos ซึ่งการท่องเที่ยวอวกาศที่แต่ละองค์กรกำลังดำเนินอยู่นั้นเป็นการบินขึ้นไปชมบรรยากาศโลกในระดับเหนือชั้นบรรยากาศ ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกบริษัทที่แปลกแหวกแนวออกไป คือ SpaceX ของ Elon Musk ที่จะนำคนขึ้นไปท่องเที่ยวบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) เลยทีเดียว

ไม่เพียงเท่านี้ ความตื่นตาของอุตสาหกรรมอวกาศก็ได้ก้าวมาสู่อีกขั้น เมื่อบริษัท Orbital Assembly บริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมสำหรับอวกาศ ที่มีเหล่าผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเป็นถึงอดีตสมาชิก NASA ได้นำเอาเทคโนโลยีอวกาศมาพัฒนาต่อยอด และสร้างเป็น Voyager Station สถานีอวกาศรูปแบบใหม่ที่ไม่ได้เป็นแค่สถานีอวกาศ แต่ที่นี่ยังเป็นโรงแรมหรูระดับ 5 ดาว รวมทั้งเป็นสถานที่สำหรับนักวิจัยในการศึกษาวิจัยเรื่องแรงโน้มถ่วงเทียม (Artificial Gravity) ซึ่งสถานี Voyager Station นี้นับเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่มีการสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมขึ้นมาได้จากการหมุนของรูปแบบสถานี โดยจะมีลักษะการหมุนคล้ายกับดวงจันทร์ของโลก

รูปแบบและการทำงานของ Voyager Station

สำหรับสถานีอวกาศ Voyager Station จะมีลักษะเป็นวงล้อขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 200 เมตร โดยจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ของสถานีแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

  • Habitation Ring โมดูล (ห้อง) สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ : ส่วนนี้จะเป็นห้องที่เรียงรายกันอยู่ที่วงนอกสุดของสถานี มีทั้งหมด 44 โมดูล จะใช้รองรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งเป็นห้องพักหรู จำนวน 24 โมดูล ยิม สปาร์ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร บาร์ ห้องสำหรับลูกเรือ รวมทั้งห้องสำหรับค้นคว้าวิจัย

  • Docking Hub ท่าสำหรับรับ-ส่งลูกเรือ: ส่วนนี้จะอยู่ตรงกลางของวงล้อ เป็นสถานที่แรกที่ผู้โดยสารทุกคนจะต้องมาลงที่นี่ ซึ่งเป็นจุดที่ทุกคนจะได้สัมผัสประสบการณ์ไร้แรงโน้มถ่วง นอกจากนี้บริเวณนี้ยังเป็นจุดศูนย์กลางสำหรับควบคุมและจัดการสถานีอวกาศอีกด้วย

  • Elevators, Access Tubes and Couplings ลิฟท์ทางเดิน ท่อส่งน้ำ และอากาศ: จากส่วนกลางตรงท่ารับ-ส่งผู้โดยสารมาถึงโมดูลที่เป็นห้องพัก จะมีส่วนเชื่อมต่อเป็นลิฟท์โดยสารสำหรับผู้โดยสาร และถัดออกมาที่วงล้อภายนอกที่เป็นท่อล้อมรอบโมดูล ส่วนนี้จะเป็นท่อสำหรับขนส่งน้ำ และอากาศที่จะใช้ในโมดูลต่าง ๆ โดยน้ำบางส่วนจะถูกนำมารีไซเคิลเพื่อใช้ซ้ำอีกด้วย

  • Lifeboats ยานกู้ชีพ: ในทุก ๆ โมดูลจะมียานกู้ชีพจอดแสตนด์บายรอตลอดเวลา จำนวน 44 ลำ โดยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็จะสามารถอพยพขึ้นยานกู้ชีพได้ทันที และยานแต่ละลำก็จะทำการบินแบบอัตโนมัติทันที

สำหรับการเคลื่อนที่ของสถานีอวกาศ Voyager Station จะมีการหมุนรอบตัวเองเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมขึ้นมา และในขณะเดียวกันก็หมุนรอบโลกไปด้วย ทำให้ระดับแรงโน้มถ่วงนั้นใกล้เคียงกับบนดวงจันทร์ ผู้โดยสารที่เข้ามาพักก็จะรู้สึกสบายคล้ายคลึงกับอยู่บนโลก และ Voyager Station นี้ถือเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่สามารถสร้างแรงโน้มถ่วงเทียมนี้ขึ้นมาได้ พร้อมกันนี้เมื่อมีการหมุนโคจรไปรอบโลกผู้โดยสารจะสามารถสัมผัสกับประสบการณ์ชมบรรยากาศของโลกได้ตลอดเวลานั่นเอง

ก่อสร้างด้วยหุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติ (Semi-Autonomous Robots)

กับอีกหนึ่งความตื่ตาตื่นใจของ Voyager Station คือ การที่บริษัท Orbital Assembly ที่เป็นบริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอวกาศ กำลังทำการพัฒนาหุ่นยนต์กึ่งอัตโนมัติสำหรับขึ้นไปก่อสร้างชิ้นส่วนสำหรับ Voyager Station โดยเทคโนโลยีตัวนี้ถูกเรียกว่า Demonstrator Structural Truss Assembly Robot (DSTAR) 

สำหรับ DSTAR จะขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่ในการสร้างโครงสร้างวงล้อของสถานี โดยก่อนหน้านี้มีกำหนดการจะปล่อย DSTAR ไปทำภารกิจประมาณปี 2023 แต่ล่าสุดจากทวิตเตอร์ของบริษัท Orbital Assembly Company ก็ได้ออกมาทวีตว่า จากการทดสอบตัว demo ของเทคโนโลยีนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และบริษัทฯ ได้มีการปล่อย DSTAR ออกไปทำภารกิจแล้ว

นอกจาก DSTAR แล้ว ทางบริษัทฯ ยังมีแผนที่จะส่ง Prototype Structural Truss Assembly Robot (PSTAR) ออกไปเหนือชั้นบรรยากาศเพื่อใช้ประกอบชิ้นส่วนอื่น ๆ ของ Voyager Station อีกด้วย

ราคาสำหรับเข้าพักที่ Voyager Station

อีกประเด็นสำคัญที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ ราคาที่ต้องจ่ายหากอยากไปรับประสบการณ์พักโรงแรมหรูแบบใหม่บนอวกาศ สำหรับราคาที่ทาง Voyager Station ได้เปิดเผยออกมา คือ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 826 ล้านบาท!

สำหรับราคานี้ ผู้โดยสารทุกคนจะได้สัมผัสประสบการณ์ไร้แรงแรงโน้มถ่วง ได้เข้าพักในห้องพักหรู ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ และได้ชมบรรยากาศของโลกมาจากอวกาศ ไม่เพียงเท่านี้สิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งในห้องน้ำ ห้องนอน ห้องครัว ห้องนั่งเล่น ทุกอย่างล้วนใช้งานได้เหมือนอยู่บนพื้นโลก ทั้งนี้ Voyager Station ต้องการจะมอบมุมมองใหม่ ๆ ของการท่องเที่ยวอวกาศให้กับคนที่สนใจ

โดยตอนนี้สามารถเข้าไปจองตั๋วโดยสาร หรือเข้าไปร่วมลงทุนในการสร้าง Voyager Station ได้ที่ https://voyagerstation.com/ และสถานีอวกาศนี้ทางบริษัท Orbital Assembly มีแผนจะสร้างภายใน 2025 ดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 ปี และจะพร้อมให้บริการในปี 2027


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...