OpenAI ส่อแววดราม่า หลังนักวิจัยมือทอง ผู้ร่วมก่อตั้งลาออก เกิดอะไรขึ้นภายใน ? | Techsauce

OpenAI ส่อแววดราม่า หลังนักวิจัยมือทอง ผู้ร่วมก่อตั้งลาออก เกิดอะไรขึ้นภายใน ?

ส่อแววเกิดดราม่าใน OpenAI อีกครั้ง ! หลังการเปิดตัว GPT-4o เพียงแค่ 1 วัน ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอย่าง Ilya Sutskever ก็ลาออกจากบริษัท และล่าสุด Jan Leike นักวิจัยคนสำคัญของ OpenAI ก็เพิ่งประกาศลาออก พร้อมเปรยทิ้งท้ายผ่าน X ว่าบริษัทเริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ล้ำๆ มากว่าความปลอดภัยด้าน AI

ย้อนรอยดราม่า Sam Altman 

การลาออกของผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทและนักวิจัยคนสำคัญในเวลาไล่เลี่ยกันยิ่งตอกย้ำถึงความขัดแย้งภายใน OpenAI หรือบริษัทผู้พัฒนา ChatGPT 

หากทุกคนยังจำได้ เมื่อปลายปีที่แล้วก็มีมหากาพดราม่าที่ CEO อย่าง Sam Altman ถูกบอร์ดบริหารถอดชื่อออกจากตำแหน่ง จนเขาต้องย้ายไปซบอก Microsoft อยู่พักหนึ่ง และหนึ่งในสมาชิกบอร์ดตัดสินใจที่ถอด Altman ออกก็คือ Ilya Sutskever 

ส่วนเหตุผลที่ปลด Altman เมื่อปีที่แล้วยังไม่มีการระบุแน่ชัด แต่ Reuters อ้างแหล่งข่าวที่รู้เรื่องนี้ ระบุว่าก่อนจะมีการตัดสินใจไล่ Altman ออก กลุ่มนักวิจัยได้ส่งข้อมูลให้บอร์ดเตือนภัยเรื่องการค้นพบปัญญาประดิษฐ์ทรงพลังที่อาจคุกคามมนุษยชาติ ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่บอร์ดตัดสินใจขับไล่เขา

ตอนนี้แม้ทาง Sutskever จะไม่ได้เปิดเผยถึงสาเหตุการลาออกที่แน่ชัด แต่เป็นไปได้หรือไม่ว่าการลาออกของเขาจะเกี่ยวข้องกับความไม่ไว้วางใจระหว่างเขากับ Altman ส่งผลให้ทั้งคู่ทำงานด้วยกันต่อไปไม่รอด

เป้าหมาย OpenAI เปลี่ยนไป กลายเป็นจุดแตกหัก

ก่อนหน้านี้แนวคิดสำคัญที่ OpenAI ยึดถือ คือ การแบ่งปันโมเดล AI ของตนอย่างเปิดเผยกับสาธารณะ แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าแนวคิดของบริษัทจะเริ่มเปลี่ยนไป 

ข้อมูลจากสำนักข่าว Wired รายงานว่า OpenAI ได้ยุบทีม Superalignment ที่ Jan Leike เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งเป็นทีมที่ทำหน้าที่จัดการความเสี่ยงและดูแลความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ด้าน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ OpenAI ทำงานเพื่อสร้าง AI ที่สามารถคิดและหาเหตุผลได้เหมือนมนุษย์

หลังจากการยุบทีม Leike ก็โพสต์เชิงตัดพ้อลง X ว่า “ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา OpenAI เริ่มให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ล้ำๆ มากว่าความปลอดภัยด้าน AI”  นอกจากนี้เธอยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงของ AI ขั้นสูง (AGI) อย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่า AGI จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

การเปลี่ยนจุดโฟกัสในครั้งนี้ทำให้เกิดความตึงเครียดภายในบริษัทเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่นักวิจัยของ OpenAI ทำงานเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี AI และผลิตภัณฑ์ยอดนิยม เช่น ChatGPT และ DALL-E  ด้านทีมของ Leike กลับถูกลดความสำคัญลงและไม่ได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรอื่นๆ เพื่อทำงานที่ "สำคัญ" ได้

จนสุดท้าย Leike ก็ออกมาโพสต์อีกครั้งว่า “ฉันมาทำงานที่นี่ เพราะฉันคิดว่า OpenAI จะเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในโลกในการทำวิจัยนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ฉันไม่เห็นด้วยกับการจัดลำดับความสำคัญของบริษัทมาระยะหนึ่งแล้ว จนกระทั่งในที่สุดเราก็มาถึงจุดแตกหัก”

อ้างอิง: techcrunch, theverge

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ททท. x TikTok หนุนครีเอเตอร์ ร่วมฝึกคน ททท. เล่าเรื่องเมืองไทย เพิ่มรายได้เข้าท้องถิ่น

เจาะความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ TikTok ในด้านวิธีส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ทั้งการดึงครีเอเตอร์ทั้งไทยและเทศ มามีส่วนร่วมมากขึ้น, การพั...

Responsive image

True IDC จับมือ Siam AI Cloud ยกระดับ AI Ecosystem ไทยสู่ระดับโลก

ทรู ไอดีซี และ สยามเอไอคลาวด์ ร่วมมือพัฒนาระบบนิเวศ AI ของไทย ครอบคลุมดาต้าเซ็นเตอร์ AI โมเดล และบริการ AI-as-a-Service มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาคอย่างยั่งยืน...

Responsive image

OpenAI ปล่อย ChatGPT o1 ตัวเต็ม เจาะกลุ่ม STEM ใช้ได้บน ChatGPT Pro ราคาราว 6,800 บาท

OpenAI ฉลองเทศกาลคริสต์มาส 2024 ด้วยแคมเปญพิเศษ "12 Days of OpenAI" เปิดตัวโมเดล o1 และ ChatGPT Pro พร้อมอัปเดตความสามารถใหม่ รองรับการใช้งาน AI ขั้นสูงสุดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ...