เกิดอะไรขึ้นกับวัคซีน AstraZeneca ? หลังนายกฯไทยเลื่อนฉีดด่วน | Techsauce

เกิดอะไรขึ้นกับวัคซีน AstraZeneca ? หลังนายกฯไทยเลื่อนฉีดด่วน

ไม่นานมานี้ เราอาจได้ยินข่าวที่รายงานถึงผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน ไม่ว่าจะมาจาก Pfizer ที่พบคนแพ้และผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งหลังจากที่ฉีดวัคซีนแล้ว หรือเหตุการณ์ที่คนมีอาการแพ้รุนแรงหลังฉีดวัคซีนของ Moderna ก็ดี ข่าวดังกล่าวก็ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กลับคนทั่วไปจนไม่กล้าจะรับวัคซีน และได้กลายเป็นความท้าทายระดับชาติที่ต้องทำให้ประชาชนราว 70% มีภูมิคุ้มกันต่อโควิด-19 สำหรับคนไทยนั้น รัฐบาลได้เซ็นสัญญาซื้อวัคซีนกับทาง AstraZeneca บริษัทผลิตวัคซีนสัญชาติอังกฤษ-สวีเดน ที่ทำวิจัยร่วมกับทางมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ซึ่งก็เป็นหนึ่งในแคนดิเดตรายสำคัญที่ขนส่งวัคซีนโควิด-19 ไปทั่วโลก และได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาจากนานาประเทศเป็นที่เรียบร้อย ต่อให้เป็นวัคซีนที่ผ่านการวิจัยร่วมกับมนุษย์มาหลายครั้ง เราก็คงอดสงสัยไม่ได้ว่า เมื่อนำวัคซีนจาก AstraZeneca มาฉีดจะป้องกันการแพร่ระบาดได้ดีแค่ไหน มีประสิทธิภาพเท่าไร แล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง 

AstraZeneca

วัคซีน AstraZeneca ทำจากอะไร ?

บทความจาก BBC ได้เสนอข้อมูลที่น่าสนใจถึงที่มาของวัคซีน AstraZeneca ทาง AstraZeneca พัฒนาวัคซีนโดยนำไวรัสที่อ่อนแอก็คือ ไวรัสไข้หวัดทั่วไป หรือที่เรียกว่า อะดีโนไวรัส จากลิงชิมแปนซี จากนั้นก็นไวรัสดังกล่าวไปดัดแปลงทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันการขยายตัวในร่างกายมนุษย์ และนำยีนที่ได้จากโปรตีนของไวรัสโคโรนามาใส่ในเชื้อไวรัส เพื่อมาทดลองกับสัตว์และคนจนกระทั่งมั่นใจได้ว่าจะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 ได้จริง 

แม้ว่าวิธีการพัฒนาของวัคซีน AstraZeneca จะแตกต่างจากบริษัท Pfizer และ Moderna ที่อาศัยโปรตีน mRNA ที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตโปรตีนสู้กับโควิด-19 แต่ผลการวิจัยของ AstraZeneca ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าประสิทธิภาพของการวิจัยระยะสุดท้ายอยู่ในระดับ 62% และงานวิจัยล่าสุดออกมายืนยันแล้วว่าหากฉีด 2 dose จะมีประสิทธิภาพถึง 82% 

ประเทศอื่นๆ ตอบรับ AstraZeneca อย่างไร ?

ในช่วงแรก ประเทศในภูมิภาคยุโรปยังไม่แนะนำให้กลุ่มประชากรที่อายุ 65 ปีขึ้นไปรับการฉีดวัคซีน AstraZeneca โดยรัฐบาลได้อ้างถึงผลวิจัยว่ายังไม่มีน้ำหนักมากพอว่าวัคซีนสามารถป้องกันประชากรกลุ่มนี้ได้ 

ต่อมารัฐบาลเยอรมนีและฝรั่งเศสออกมายืนยันแล้วว่าวัคซีนไม่ส่งผลข้างเคียงหรืออันตรายกับกลุ่มคนเหล่านี้ และทางองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ได้อนุมัติให้มีการใช้วัคซีน AstraZeneca กับกลุ่มคนทุกเพศทุกวัยได้แล้วในเดือนม.ค. ที่ผ่านมา รวมไปถึงองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้วัคซีน AstraZeneca กับกลุ่มประชากรที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป 

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง  ?

เบื้องต้นแล้ว ผู้ที่ได้ฉีดวัคซีนจาก AstraZeneca ก็จะมีอาการเหมือนเวลาฉีดวัคซีนอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ เป็นไข้ รู้สึกหนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือหากคนที่มีอาการแพ้ง่ายก็อาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ หรือเสียชีวิต แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ทั้งหมด นี้ยังนับว่าเป็นสัดส่วนที่ต่ำมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและโรคประจำตัวที่มีอยู่เดิมของแต่ละบุคคล 

ในส่วนของข่าวล่าสุดไม่กี่วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจากประเทศเดนมาร์ก  เอสโตเนีย ลิธัวเนีย ลักเซมเบิร์ก และแลตเวีย ที่เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปได้สั่งระงับการฉีดวัคซีนจาก AstraZeneca ชั่วคราว เนื่องจากพบผู้ได้รับการฉีดยาจำนวนหนึ่งเกิดการแข็งตัวของลิ่มเลือด ส่งผลกระทบให้รัฐบาลไทยเลื่อนกำหนดการฉีดวัคซีนโควิด-19 จาก AstraZeneca ด้วย

อย่างไรก็ดี ทาง EMA ออกมาแถลงการณ์แล้วว่ายังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าอาการลิ่มเลือดอุตตันนั้นเกิดจากการใช้วัคซีน AstraZeneca และมองว่าเป็นวัคซีนที่ให้คุณประโยชน์ในการป้องกันไวรัสมากกว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ผู้ที่รายงานว่าตนเองเกิดอาการดังกล่าวมีเพียง 30 คน จากชาวยุโรปที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด 5 ล้านคน ทั้งประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนีก็ได้ยืนยันว่ายังคงใช้วัคซีน AstraZeneca ในการป้องกันโควิด-19 ต่อไป 

อ้างอิงจาก bbc 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Microsoft ร่วม BlackRock ตั้งกองทุน AI มูลค่า 3 ล้านล้าน ลุยแผนพัฒนาเอไอเต็มกำลัง

Microsoft และ BlackRock สองผู้นำในวงการเทคโนโลยีและการเงิน ร่วมกันเปิดตัวกองทุน Global AI Infrastructure Investment Partnership (GAIIP) โดยตั้งเป้าระดมทุนสูงสุดถึง 1 แสนล้านดอลลาร์...

Responsive image

แม่บ้าน AI ใกล้ความจริง Google Deepmind เริ่มพัฒนาแล้ว โมเดล AI เพื่ออัปเกรดความสามารถหุ่นยนต์

ชวนมารู้จักกับ ALOHA Unleashed และ DemoStart ระบบ AI ตัวใหม่จาก Google Deepmind ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยด้านความคล่องแคล่วของหุ่นยนต์ ซึ่งช่วยให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้งานที่ซับซ้อนไ...

Responsive image

Instagram ออกข้อจำกัดใหม่ เพิ่มความเข้มงวดเรื่องความเป็นส่วนตัวสำหรับวัยรุ่น

Instagram กำลังปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวใหม่สำหรับผู้ใช้งานวัยรุ่นในสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการควบคุมการใช้งานโซเชียลมี...