โควิดเดลตาพลัส ไวรัสกลายพันธุ์จากอินเดีย ต่างจากของเดิมอย่างไร แบบไหนร้ายแรงกว่า | Techsauce

โควิดเดลตาพลัส ไวรัสกลายพันธุ์จากอินเดีย ต่างจากของเดิมอย่างไร แบบไหนร้ายแรงกว่า

โควิดเดลตาพลัส อีกเวอร์ชั่นการกลายพันธุ์ของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า (B.167.2) ที่ขึ้นแท่นเป็นสายพันธุ์หลักน่ากังวลระดับโลก ที่นอกจากจะแพร่กระจายไปรวดเร็วกว่า 80 ประเทศทั่วโลกแล้ว ความรุนแรงของเชื้อไวรัสก็สร้างผลกระทบมหาศาลต่อระบบสาธารณสุขในหลายประเทศ แม้แต่ประเทศไทยเองมีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้าแพร่กระจายไปทั่ว 25 จังหวัด และกรุงเทพฯ พบคนติดเชื้อสายพันธุ์เดลตามากที่สุดถึง 491 ราย (รายงานเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 64) 

เดลต้าพลัส


ขณะนี้ ทั่วโลกก็ได้จับตามองไปยังการกลายพันธุ์ครั้งใหม่ของสายพันธุ์เดลต้า โดยมีชื่อว่า สายพันธุ์เดลต้าพลัส (Delta Plus) หรือ AY.1 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของอินเดียได้ประกาศการกลายพันธุ์ว่าอยู่ในระดับที่น่ากังวล ไปไม่กี่วันที่ผ่านมา มาทำความรู้จักกันว่า สายพันธุ์เดลต้าพลัสมีความแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างไร รุนแรงแค่ไหน แล้วผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขให้ความคิดเห็นอย่างไรบ้าง 

โควิดเดลต้าพลัส แตกต่างจากสายพันธุ์เดลต้าเดิมอย่างไร

โควิดเดลต้าพลัส เป็นสายพันธุ์ย่อยของเดลต้าที่เกิดจากการกลายพันธุ์ส่วนหนามโปรตีนที่ตำแหน่ง K417N ส่งผลให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์บนปอดได้แน่นขึ้น ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และมีศักยภาพในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกัน ขณะนี้เป็นที่ทราบกันว่า สายพันธุ์เดลต้าพลัสได้เปลี่ยนจากระดับสายพันธุ์ที่น่าสนใจ (variant of interest) มาอยู่ในระดับสายพันธุ์น่ากังวล (variant of concern) 

เชื้อไวรัสกลายพันธุ์เดลตาพลัส ค้นพบครั้งแรกในยุโรป และเริ่มแพร่ระบาดในอินเดีย แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะฟันธงไม่ได้ว่าสายพันธุ์นี้เป็นภัยคุกคามที่น่ากลัวกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ เพราะหลักฐานทางการแพทย์ที่มีอยู่นั้นยังไม่เพียงพอต่อการประเมินความรุนแรงของสายพันธุ์ แต่มีการคาดการณ์ว่าอาจส่งผลทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในอินเดียระลอกที่สองในฤดูร้อนนี้ป้องกันยากขึ้นกว่าเดิม

ในส่วนของประสิทธิภาพวัคซีนต่อเดลต้าพลัส เบื้องต้นจากสื่อท้องถิ่นของอินเดีย Hindustan Times เผยว่าเนื่องจากไวรัสนี้เป็นสายพันธุ์ที่พึ่งเกิดใหม่ จึงไม่มีหลักฐานเพียงพอว่าวัคซีนที่มีอยู่เดิมนั้นจะป้องกันได้ดีเพียงใด แต่ถ้าอ้างอิงจากสายพันธุ์เดลต้าเดิม หน่วยงานสาธารณสุขอังกฤษกล่าวว่าวัคซีนจากผู้ผลิต Pfizer และ AstraZeneca ได้ให้ประสิทธิภาพป้องกันอาการติดเชื้อไม่ให้หนักกว่าเดิมได้ถึง 90% 

โควิดเดลต้าพลัส กระจายไปประเทศไหนแล้วบ้าง 

กระทรวงสาธารณสุขของอินเดีย เผยว่าได้พบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิดรายใหม่ที่เชื้อได้กลายพันธุ์เป็นเดลต้าพลัสราว 40 ราย และได้ระบุว่าขณะนี้พบสายพันธุ์ดังกล่าวในรัฐมหาราษฎร์ เกรละ และมัธยประเทศ

นอกจากนี้ในข้อมูลที่รายงานประจำวันที่ 16 มิ.ย. มีการค้นพบเชื้อไวรัสเดลต้าพลัสในสหรัฐฯ 83 ราย และประเทศอื่นๆที่เริ่มพบเห็นการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าพลัส ได้แก่ สหราชอาณาจักร แคนาดา อินเดีย ญี่ปุ่น เนปาล โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ และตุรกี 

ในส่วนของประเทศไทย ยังไม่พบการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามก็ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 

ผู้เชี่ยวชาญประเมินความรุนแรงของ โควิดเดลต้าพลัส ไว้อย่างไรบ้าง

ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจากเว็บไซต์ขององค์กร Science Media Centre ของสหราชอาณาจักร ได้มีความคิดเห็นไปในทิศทางที่ว่าเป็นไวรัสที่อยู่ในระหว่างการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ  และขณะนี้การแพร่ระบาดยังไม่ถึงขั้นที่ต้องน่ากังวล

โดย David Robertson ศาสตราจารย์สาขาวิชาไวรัสวิทยาและชีวสารสนเทศจากมหาวิทยาลัย Glasglow กล่าวถึงไวรัสสายพันธุ์นี้ว่า ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนว่าสายพันธุ์เดลต้าพลัสจะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้าอย่างไร เพราะเป็นเพียงการกลายพันธุ์ในส่วนของหนามโปรตีน K417N ชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งเบื้องต้นถ้าอ้างอิงจากสายพันธุ์เดลต้าเดิมก็จะพบว่าระบาดง่ายกว่าและเป็นสายพันธุ์หลักที่ครอบคลุมทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ 

ด้าน Francois Balloux ศาสตราจารย์ด้านชีวสารสนเทศศาสตร์และผู้อำนวยการของสถาบันพันธุศาสตร์ (Genetics Institute) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (UCL) ได้ให้ความคิดเห็นต่อสายพันธุ์เดลต้าพลัสว่า ยังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวลเท่าไรนัก แม้ว่าจะมีการค้นพบในหลายประเทศ แต่อัตราส่วนของผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับต่ำมาก ยกเว้นประเทศเนปาลที่ได้ประเมินสัดส่วนของผู้ติดเชื้อเดลต้าพลัสไว้ที่ราว 4% ทั้งนี้ สัดส่วนการแพร่เชื้อของเดลต้าพลัสเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วโลกสะท้อนอยู่ที่ราว 0.00002% และยังไม่มีหลักฐานการแพร่เชื้อที่ชัดเจนในประเทศต่าง ๆ 

อ้างอิง: https://www.sciencemediacentre.org/expert-comment-on-the-delta-plus-variant-b-1-617-2-with-the-addition-of-k417n-mutation/

https://www.bbc.com/news/world-asia-india-57564560

https://www.cnbc.com/2021/06/24/delta-plus-covid-variant-heres-what-you-need-to-know.html

https://www.prachachat.net/general/news-698260#google_vignette




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...