อีกหนึ่งสายพันธุ์ โควิดเอปซีลอน ในสหรัฐฯ รุนแรงแค่ไหน วัคซีนที่มีตอนนี้จะเอาอยู่หรือไม่ | Techsauce

อีกหนึ่งสายพันธุ์ โควิดเอปซีลอน ในสหรัฐฯ รุนแรงแค่ไหน วัคซีนที่มีตอนนี้จะเอาอยู่หรือไม่

จากการแพร่ระบาดของ โควิดเอปซีลอน  ในสหรัฐฯ เมื่อปลายปี 2020 ที่ก่อให้เกิดการติดเชื้ออย่างก้าวกระโดดในแคลิฟอร์เนีย จึงส่งผลให้มีการตรวจสอบความรุนแรงของสายพันธุ์ดังกล่าว และพบว่า โควิดเอปซีลอน สามารถต้านทานการรักษาผู้ป่วย covid-19 ในเบื้องต้นได้ และยังมีความเป็นไปได้ที่จะหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากวัคซีน ซึ่งการวิจัยในเบื้องต้นได้เปิดเผยอีกว่า สายพันธุ์นี้มีความเป็นไปได้ที่จะระบาดหนักกว่าทุกสายพันธุ์ก่อนหน้าถึง 20% ซึ่งล่าสุด WHO ได้จัดให้ไปอยู่ในหมวดที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

โควิดเอปซีลอน

โควิดเอปซีลอน เกิดมาจากอะไรและพบได้ที่ไหน

โควิดเอปซีลอน ประกอบด้วยเชื้อ 2  ได้แก่ B.1.427 ที่กลายพันธุ์มาจาก S protein ประเภท L452R และ B.1.429 ที่กลายพันธุ์มาจาก S protein ประเภท L452R, ORF1a ประเภท I4205V, ORF1b ประเภท D1183Y, S13I และ W152C พบครั้งแรกประมาณเดือนพฤษภาคม 2020 จากนั้นไวรัสสายคู่นี้ก็ได้แตกออกเป็น 2 สาย และเริ่มระบาดในสหรัฐฯ ช่วงเดือนมิถุนายน 2020 แม้ว่ายังไม่พบแหล่งที่มาเฉพาะชัดเจน แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มียอดผู้ติดเชื้อโควิดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในแคลิฟอร์เนีย 

โดยโควิดเอปซีลอน เกิดจากการกลายพันธุ์จากเชื้อไวรัส covid-19 ของผู้ที่เดินทางเข้า-ออกประเทศสหรัฐฯ ในช่วงปลายปี 2020 จากการทดสอบความถี่ของการติดเชื้อของสายพันธุ์ Epsilon ในช่วงเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์ของปี 2021 และพบว่ามีการติดเชื้อจากสายพันธุ์นี้สูงที่สุดในช่วงกุมภาพันธ์ คือ 15% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และต่อมาก็มีการติดเชื้อที่เกิดจากสายพันธุ์นี้อีกเป็นระยะ ๆ แต่ไม่ถี่จนน่ากังวล 

ทางด้าน GISAID (โครงการระหว่างประเทศที่ติดตามและแบ่งปันข้อมูลทั่วโลกที่เกี่ยวกับไวรัส ที่รวมไปถึง covid-19) ได้ระบุว่า มีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์นี้ในสหราชอาณาจักรอีกเช่นกัน ซึ่งพบผู้ติดเชื้อจากสายพันธุ์ดังกล่าว 20 ราย ด้วยตัวเลขที่อยู่ในอัตราต่ำ จึงทำให้ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ลงในสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงหรือน่าสนใจ แต่จะยังเฝ้าระวังสายพันธุ์นี้ต่อไปในอนาคต 

วัคซีนที่มีตอนนี้สามารถป้องกัน โควิดเอปซีลอน ได้หรือไม่

โควิดเอปซีลอน ประกอบด้วย B.1.427 และ B.1.429 ที่มีการกลายพันธุ์ของ L452R ทำให้ไวรัสจับกับเซลล์ในร่างกายได้ดีขึ้น และยังต้านทานระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้เชี่ยวชาญจึงกังวลถึงผลกระทบต่อประสิทธิภาพของวัคซีนที่มีในปัจจุบัน

จากการทดสอบกับสายพันธุ์ที่ใกล้เคียง พบว่าการตอบสนองของร่างกายในการสร้างภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติ หรือการฉีดวัคซีนเข้าไปเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทาน มีประสิทธิภาพลดน้อยลงจากการติดเชื้อประเภทนี้ ซึ่งโดยทั่วไป แอนติบอดี้ที่ถูกสร้างจากการฉีดวัคซีนจะมีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นต่อการรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อใหม่ๆได้ดีกว่าการติดเชื้อโดยธรรมชาติ สายพันธุ์นี้จึงต้านทานภูมิคุ้มกันที่ได้จากการติดเชื้อโควิด 4-6.7 เท่า และต้านทานวัคซีนได้ 2 เท่า 

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังกังวลถึงการกลายพันธุ์ในโปรตีนส่วนหนามของไวรัสสายพันธุ์นี้ ในการจับกับเซลล์ของร่างกาย ที่จะส่งผลต่อการติดเชื้อที่ง่ายและรุนแรงยิ่งขึ้น และยังอาจต้านทานภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นจากการกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA ได้อีกด้วย 

โดยการศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตันในสหรัฐอเมริกายังพบว่า หากมีการกลายพันธุ์ 3 ครั้งในโปรตีนส่วนหนามของโควิดเอปซีลอน จะทำให้ศักยภาพของแอนติบอดีที่เกิดจากวัคซีนหรือเป็นภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อ covid-19 นั้นลดลง 

ความเห็นจากองค์กรสาธารณสุขระดับโลกที่มีต่อ โควิดเอปซีลอน

หลังจากที่หลายประเทศได้แสดงถึงความกังวลในสายพันธุ์นี้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) จึงได้ออกมาประกาศให้ Epsilon เป็นสายพันธุ์ที่ต้องสนใจ ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงน้อยกว่าการประกาศว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล และในเวลาต่อมา หลังจากที่ไม่มีการติดเชื้อในสหรัฐฯที่เกิดจากสายพันธุ์นี้เพิ่มมากนัก ต่อมา WHO  ก็ได้ตัดสินใจถอดโควิดเอปซีลอน ออกจากสายพันธุ์ที่ต้องสนใจ เป็นสายพันธุ์ที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม

ในฝั่งของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อของสหรัฐฯ (CDC) ก็ได้ตัดสินใจลดระดับลงเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจ (Variant of Interest) เช่นเดียวกัน เพราะแท้จริงแล้ว สายพันธุ์โควิด-19 ที่สร้างความกังวลให้กับสหรัฐฯ มากกว่านั้นคือ สายพันธุ์อัลฟ่าที่ค้นพบในสหราชอาณาจักร ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็ได้สร้างความกังวลให้กับสหรัฐฯ มากกว่า Epsilon จากการแพร่เชื้อที่มีประสิทธิภาพถึง 70% 

อ้างอิง : independent.co.uk


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KKP คาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 หดตัว บ้านใหม่เสี่ยงค้างสต๊อกสูงสุดใน 8 ปี หวังมาตรการใหม่ช่วยกระตุ้น

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผย ตลาดอสังหาฯ ไทยปี 2567 ยังเผชิญความท้าทายจากเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาดชะลอตัวได้แก่ หนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 90%...

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...