เมื่อวันที่สิงคโปร์ประกาศเป็นศูนย์กลางแห่ง Fintech พร้อมการสนับสนุนจากธนาคารกลางสิงคโปร์ | Techsauce

เมื่อวันที่สิงคโปร์ประกาศเป็นศูนย์กลางแห่ง Fintech พร้อมการสนับสนุนจากธนาคารกลางสิงคโปร์

free-photo-singapore-561

เมื่อสัปดาห์ก่อนเราได้เผยแพร่ข่าวการสนับสนุน Startup ของรมต.คลัง Heng Swee Keat กันไปแล้วนั้น ล่าสุดมีรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ SG-Innovate ที่ส่งเสริม Startup ด้านนวัตกรรมในการทำธุรกิจ และชู one-stop office เพื่อให้สิงโปร์เป็นเสมือนศูนย์กลางแห่ง Financial Technology (Fintech)

  • SG-Innovate เป็นโครงการภายใต้ National Research Foundation (NRF) ที่ รมต. Heng เผยว่าเปนหนึ่งในแผนการสนับสนุนของปี 2016 ที่เขาประกาศไปเมื่อช่วงสัปดาห์ก่อน โดยจะเชื่อมโยงผู้ประกอบการกับเงินทุนที่มาจากนักลงทุน ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจ และการขยายสู่ตลาดโลก เน้นการสนับสนุนให้นักศึกษา และนักวิจัยสามารถนำงานวิจัยเหล่านั้นไปทำให้เกิดเป็นธุรกิจได้จริง ซึ่งดูเหมือนประโยคนี้เป็นปัญหาหลักของหลายๆ ประเทศเลยทีเดียว (ความคิดเห็น editor : หลายครั้งงานวิจัยดีๆ กลับต้องขึ้นหิ้ง ไม่ได้ถูกนำเอาไปใช้ และกลายเป็นงบประมาณที่ต้องลงไป และไม่ได้กลับคืนสู่ภาคธุรกิจของประเทศ ซึ่งเป็นปัญหาไก่กับไข่มาโดยตลอด เราลองมาเจาะลึกกันต่อในบทความถัดๆ ไปว่าเหตุใดความร่วมมือระหว่างภาคเอกชน และหน่วยงานวิจัยของประเทศที่ได้รับการพัฒนา ถึงแน่นแฟ้นกว่าบ้านเรา)
  • ส่วน Financial technology (Fintech) office เป็นการจับมือกันระหว่าง National Research Foundation (NRF) และ Monetary Authority of Singapore (MAS) โดยคนที่จะมากุมบังเหียนหลักคือ Sopnendu Mohanty, Chief FinTech Officer, MAS, and Mr Steve Leonard, Chief Executive Officer, SG-Innovate Fintech office จะให้บริการแบบ one stop service สำหรับ Startup ด้าน Fintech ที่สนใจตั้งบริษัทในสิงคโปร์สามารถที่จะขอคำปรึกษาด้านกฎเกณฑ์ สิทธิพิเศษ และเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่มีความซับซ้อนและต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ภาครัฐสิงคโปร์เล็งเห็นว่าถ้าพวกเขาไม่เข้ามา ก็จะพบกับความท้าทายในการรักษาความเป็นผู้นำด้านนี้ด้วย เพราะถ้าติดตามข่าวก็จะได้เห็น Fintech Incubator ผุดขึ้นจำนวนมากในสิงโปร์ทั้ง HSBC, Standard Chartered และอีกมากมายเลยทีเดียว

ที่มา :Monetary Authority of Singapore  และ Straitstimes ภาพ: Ye Myo a.k.a Helix =================================================

การปูพื้นการสนับสนุนด้าน Startup ของสิงคโปร์เรียกว่าทำกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว ตั้งแต่มีการตั้งหน่วยงานอย่าง Infocomm Investment Priviate Limited (IIPL) ช่วยเหลือ Startup ที่เข้ามาจดบริษัทในสิงโปร์ให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถตั้งตัวได้ มีโครงการ Incubator, Accelerator ที่จับมือกับภาคธุรกิจต่างๆ อาทิเช่น

และรวมไปถึงการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ทั้ง Ecommerce, Media, Adtech แม้จำนวนบริษัทที่ exit ไปแล้วอาจจะยังมีไม่มากนัก

แม้ Fintech เป็นภาคธุรกิจที่กำลังมาแรง แต่ในขณะเดียวกันเป็นสายธุรกิจที่มีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบมากที่สุด หลาย segment ต้องขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินกิจการ "ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากถ้าโลกของเทคโนโลยีอย่าง Tech Startup และโลกการเงินไม่มีการสนับสนุนที่มาพบเจอกัน" ก่อนที่บริการจะเปิดตัว ก็ต้องตรวจสอบกฎระเบียบหลายที่หลายหน่วยงาน เพราะอาจจะไปผิดกฎในส่วนอื่นโดยไม่รู้ตัวก็ได้

แน่นอนว่าการออกมาประกาศจุดพลุว่าสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางแห่ง Fintech ก็ดูเหมือนเป็นการสร้างภาพลักษณ์และการทำตลาดที่ดีให้กับประเทศสิงคโปร์ แต่ในขณะเดียวกัน ถ้ามองแง่การสนับสนุนการจับมือของ NRF และ MAS เพื่อ Fintech Office ก็ถือว่าน่าสนใจมากๆ เพราะเข้าใจคุณลักษณะของธุรกิจสาย Fintech ว่าต้องการการสนับสนุนอะไร การจับมือร่วมกันของทั้ง  เป็นการพัฒนาก้าวลึกไปอีกขั้นสำหรับภาคธุรกิจนี้โดยตรง เรียกได้ว่านาทีนี้สิงคโปร์ไปไกลกว่าแค่คุยกันเรื่องของสิทธิพิเศษพื้นฐานที่พึงมีของบริษัทเพื่อดึงประเทศอื่นเข้ามาลงทุนแล้ว...

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...