พนักงานเดลิเวอรี่ในนิวยอร์ก ไม่พอใจกับค่าแรงขั้นต่ำ ชี้ไม่พอกับค่าครองชีพในแต่ละวัน | Techsauce

พนักงานเดลิเวอรี่ในนิวยอร์ก ไม่พอใจกับค่าแรงขั้นต่ำ ชี้ไม่พอกับค่าครองชีพในแต่ละวัน

นครนิวยอร์กออกกฎหมายใหม่ กำหนดอัตราค่าจ้างใหม่กับแอปส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่เป็น 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 623 บาทต่อชั่วโมง แต่ฝั่งพนักงานยังไม่พอใจ ชี้ไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในแต่ละวัน

ต้องมากกว่านี้

นครนิวยอร์กออกกฎหมายกำหนดอัตราค่าจ้างสำหรับแอปสั่งอาหารเดลิเวอรี่ ไม่ว่าจะเป็น Uber Eats, DoorDash, Grubhub และ Relay ขึ้นเป็น 17.96 หรือ 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือ 623 บาทต่อชั่วโมง

โดยปกติแล้วค่าแรงของพนักงานจะอยู่ที่ 7.09 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งก็มีกลุ่มพนักงานส่งอาหาร กลุ่มนึงที่สนับสนุนกับนโยบายขึ้นอัตราค่าจ้างเป็น 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง 

บริษัทที่ใช้พนักงานส่งของจะได้เลือกระหว่างตัวเลือกอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 1 ใน 2 แบบที่กฎหมายของเมืองนิวยอร์กระบุไว้ โดยตัวเลือกแรกบริษัทต่างๆ ต้องจ่ายค่าจ้างให้คนงานอย่างน้อย 17.96 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงแบบไม่รวมทิป และเวลาที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับแอป รวมถึงเวลารอรับงาน 

หากขึ้นอัตราค่าจ้างที่ 17.96 ถึง 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง แล้วคิดอัตราเงินเฟ้อในปีหน้าจะอยู่ที่ประมาณ 19.96 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

แน่นอนว่าการขึ้นอัตราค่าจ้างครั้งนี้จะมีผู้เห็นต่างเช่นกัน กลุ่มพนักงาน, แรงงาน และ นักกิจกรรมสิทธิแรงงาน  ระบุว่าอัตราค่าจ้าง 18 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย สำหรับใช้ชีวิตในเมืองนิวยอร์ก เพราะเมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วก็เหมือนกับได้รับค่าจ้างราวๆ 13 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงอยู่ดี 

นอกจากนี้ยังมองว่าทางการนครนิวยอร์กนั้นตัดสินใจช้าเกินไปถึง 6 เดือน เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำนี้สำหรับพนักงานส่งอาหาร อีกทั้งกฎที่แก้ไขนั้นมีการปรับลดสูตรการจ่ายเงินที่เสนอในตอนแรก ซึ่งเสนอค่าแรงขั้นต่ำ 24 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว 

งานเพิ่มขึ้นหรือแทบไม่ได้ทำงาน

ในขณะเดียวกันบริษัทต่าง ๆ ให้เหตุผลว่าการตัดสินใจกำหนดอัตราค่าจ้างครั้งนี้จะส่งผลเสียต่อ การจ้างพนักงานส่งของ 

โฆษกจาก DoorDash และ Grubhub การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะทำให้บริษัทต้องดำเนินการ เปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มที่อาจทำให้คนรับงานแบบเต็มเวลาหรือทำงานแบบ Part-time ลดลง 

เมืองนี้กำลังโกหกกับพนักงานส่งอาหาร พวกเขาต้องการให้แอปพลิเคชันเป็นแหล่งทุนในการเพิ่มค่าจ้าง ด้วยการลดงานและลดการให้ทิปกับคนงาน ขณะเดียวกันก็บังคับให้คนงานที่เหลือต้องส่งอาหารให้เร็วมากขึ้น

                                          Josh Gold โฆษก Uber กล่าว 

ถึงอย่างนั้นการรับงานผ่านแอปพลิเคชั่นก็ยังเป็นช่องว่างในการรับงานสลับกันระหว่างแอปพลิเคชั่น โดยในกรณีนี้เรียกว่า “Dirty Apping” เหตุผลก็เพื่อให้สามารถรับงานให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

เพราะการกระทำแบบนี้ด้วยเช่นกันที่ทำให้แพลตฟอร์มส่งอาหารต่างๆต้องปรับเปลี่ยนระบบเพื่อไม่ให้พนักงานสามารถรับงานสลับแอปพลิเคชั่นกันได้ง่ายขึ้น

Dr.Parrott ซึ่งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับค่าจ้างพนักงานส่งของ กล่าวว่า เขาไม่ได้คาดหวังว่าการขึ้นค่าจ้าง จะเปลี่ยนภูมิทัศน์การส่งอาหารในนิวยอร์ก แต่คาดการณ์ว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จำนวนพนักงานส่งของในเมืองเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาด จากที่มีคนงานประมาณ 25,000 ถึง 30,000 คนในปี 2019 แต่ตอนนี้กลับมีมากกว่า 60,000 คนในปัจจุบัน

โดย Dr.Parrot มองว่า บริษัทขนส่งมีส่วนต่างมากพอที่จะช่วยชดเชยการขึ้นค่าจ้างเพราะเมื่อปีที่แล้ว พนักงานทำเงินได้ประมาณ 4.32 ดอลลาร์ต่อการจัดส่ง 1 ครั้งและไม่รวมทิป ในขณะที่บริษัทขนส่ง ทำกำไรได้ถึง 4.19 ดอลลาร์โดยเฉลี่ย 

ที่มา :TechCrunch, The New York Time

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ฟินแลนด์ครองอันดับ 1 ของยุโรป ด้าน Digital Economy and Society Index เจาะลึกบทเรียนสู่สังคมดิจิทัลไทย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิได้เผยรายงานว่า ฟินแลนด์ครองอันดับ 1 ของ EU ในด้าน Digital Economy and Society Index (DESI) ประจำปี 2022 สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการวางรากฐานสู่...

Responsive image

แอปจีนครองสหรัฐฯ Temu และ TikTok ยอดดาวน์โหลดสูงสุดในหมู่ Gen Z ประจำปี 2024

ข้อมูลจาก Appfigures เผยแอปยอดนิยมในกลุ่มผู้ใช้อายุ 18-24 ปีในสหรัฐฯ หรือ Gen Z ที่สะท้อนพฤติกรรมการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ...

Responsive image

เผย Apple พัฒนาแท็บเล็ตติดบ้าน มี Apple Intelligence สั่งทุกอย่างในบ้านจากปลายนิ้ว

Mark Gurman จาก Bloomberg เผยข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ Apple ที่เตรียมเปิดตัวให้เห็นในเวลาอันใกล้ ซึ่งไม่ใช่ iPhone, iPad หรือ Macbook รุ่นใหม่ แต่เป็นแท็บเล็ตรุ่นใหม่ที่สามาร...