3 ก.ค. 66 อากาศร้อนที่สุดทุบสถิติเดิม Climate change รุนแรงขึ้นทั่วโลก อาจร้อนขึ้นอีกจากเอลนีโญ | Techsauce

3 ก.ค. 66 อากาศร้อนที่สุดทุบสถิติเดิม Climate change รุนแรงขึ้นทั่วโลก อาจร้อนขึ้นอีกจากเอลนีโญ

ศูนย์พยากรณ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติของสหรัฐ (US National Centers for Environmental Prediction) รายงานว่า วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 66 เป็นวันที่โลกร้อนที่สุดตั้งแต่เคยมีการบันทึกมา โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงถึง 17.01 องศาเซลเซียส ทุบสถิติเดิมเมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ 16.92 องศาเซลเซียส

นักวิจัยคาดว่า การที่อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นจนทุบสถิติมีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปรากฏการณ์เอลนีโญ และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างต่อเนื่องยาวนาน 

ความรุนแรงของ Climate change ที่เพิ่มสูงขึ้น

Leon Simons นักวิจัยด้านภูมิอากาศอธิบายว่า อุณหภูมิของโลกจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ครั้งนี้มีตัวเร่งอุณหภูมิอย่างปรากฏการณ์เอลนีโญ จึงทำให้โลกร้อนขึ้นจนทำลายสถิติเดิม ซึ่งเอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะส่งผลกระทบ 3 ช่วง ได้แก่ ร้อน เย็น หรือเป็นกลาง

Simons คาดว่าเมื่อโลกเข้าสู่ช่วงร้อน อุณหภูมิของโลกก็มีโอกาสที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นในอีก 1.5 ปีข้างเราจะมีวันที่ร้อนกว่าที่เคยมี เดือนที่ร้อนกว่าปกติ หรือตลอดทั้งปีที่ร้อนกว่าปีอื่น ๆ

Karsten Haustein นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Leipzig ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมโลกของเราอาจจะมีวันที่ร้อนได้มากกว่านี้ เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญที่เข้ามาเสริมและทวีความรุนแรงขึ้น

หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ เช่น ตอนใต้ของสหรัฐฯ ที่ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาต้องเจอกับ “โดมความร้อน” ซึ่งพื้นที่บริเวณนั้นจะมีอากาศที่ร้อนจัดระอุอยู่ ไม่พัดผ่านไป เกิดจากคนปล่อยมลพิษสะสมจนทำลายชั้นบรรยากาศโลก

ประเทศจีน ในบางส่วนของประเทศยังคงมีคลื่นความร้อนกระจายอยู่ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส รวมถึงแอฟริกาเหนือมีอุณหภูมิสูงเกือบ 50 องศาเซลเซียส

ซาอุดีอาระเบีย ประชากรหลายพันคนต้องทนทุกข์กับอากาศร้อนที่แผดเผาระหว่างการแสวงบุญทางศาสนาฮัจญ์ และฤดูหนาวในแอนตาร์กติกา ก็กลับมีอุณหภูมิที่สูงผิดปกติจนส่งผลให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

เสี่ยงกระทบเศรษฐกิจไทย

Jeni Miller ผู้อำนวยการ Global Climate and Health Alliance เผยว่า ผู้คนทั่วโลกกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น คลื่นความร้อน ไฟป่า มลพิษทางอากาศ น้ำท่วม และพายุรุนแรง สิ่งเหล่านี้ทวีความรุนแรงขึ้น จากการสกัดและการใช้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้คน เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศ

ในมุมของเศรษฐกิจไทยวิกฤตสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพาะปลูกและผลผลิตทางเกษตรของไทย ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจภาคเกษตร (Agriculture GDP) ชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบด้านลบต่อภาคการลงทุนของไทย เนื่องจากโครงสร้างแรงงานไทยมาจากภาคเกษตรราว 40% ซึ่งหากเกิดภัยแล้งก็จะส่งผลกระทบต่อพืชผล นำไปสู่รายได้ที่ลดลงและกำลังซื้อก็น้อยลงตามไปด้วย

อ้างอิง : theguardian, bbc, innovestx

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Bluebik กางแผนธุรกิจปี 2568 ปักธงผู้นำ AI Transformation ในไทย ตั้งเป้าโต 20% ในปีหน้า

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร ประกาศปรับกลยุทธ์ครั้งใหญ่โดยใช้ AI เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 3-5 ปีข้างหน้า ผ่าน...

Responsive image

NIA จับมือ Business Finland ต่ออายุ MOU พัฒนานวัตกรรม & สตาร์ทอัพ ไทย-ฟินแลนด์อีก 5 ปี

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ Business Finland ได้ต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอีก 5 ปี...

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...