APEC หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) คือเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1989 โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในด้านมิติสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ อาทิ ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค ซึ่งปี 2022 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งปี มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของระบบเศรษฐกิจโลก โดยรัฐบาล นำโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการประชุมผู้นำเอเปค เป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ต.ค.2565
การประชุมครั้งนี้ได้สรุปรายชื่อผู้นำเขตเศรษฐกิจและผู้แทนที่จะเข้าร่วมการประชุมในวันที่ 18-19 พ.ย.2565
1.แอนโทนี อัลบาเนซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย
2.สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ นายกรัฐมนตรีบรูไน
3.จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา
4.สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน
5.จอห์น ลี ผู้บริหารสูงสุดฮ่องกง
6.โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
7.ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
8.แกเบรียล บอริช ประธานาธิบดีชิลี
9.เปโดร แคสเทลิโอ ประธานาธิบดีเปรู
10.มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
11.เหงียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีเวียดนาม
12.จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์
13.เจมส์ มาราเป นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี
14. ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์
15.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย
สำหรับผู้นำที่รอยืนยัน คือ "วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย"
1.เม็กซิโก เพราะมีนโยบายชัดเจนตั้งแต่ต้นปี 2022 ว่าจะไม่เดินทางไปต่างประเทศ เพราะต้องจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจภายในก่อนเป็นอันดับแรก
2.มาเลเซีย ที่ติดปัญหาการเมืองภายในที่อยู่ระหว่างการยุบสภา
3.เกาหลีใต้ เดิมทีประธานาธิบดี “ยุน ซอกย็อล” จะมาร่วมประชุม แต่เกิดเหตุโศกนาฏกรรมอิแทวอนก่อน จึงมอบหมายนายกรัฐมนตรีมาประชุมแทน
4.จีนไทเป ประธานาธิบดี “ไช่ อิงเหวิน” ลดการเผชิญหน้าจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ จึงส่งรองประธานาธิบดีมาแทน
5.สหรัฐ ประธานาธิบดี “โจ ไบเดน” ส่งรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริส มาแทน
1.ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียน
2.เอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
3.เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร นายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย
อ้างอิง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด