สหภาพยุโรปไฟเขียว กฎหมาย AI ฉบับแรกของโลก | Techsauce

สหภาพยุโรปไฟเขียว กฎหมาย AI ฉบับแรกของโลก

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (21 พฤษภาคม 2024) สหภาพยุโรปได้อนุมัติข้อตกลงขั้นตอนสุดท้ายของกฎหมายควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ AI Act เป็นฉบับแรกของโลก เพื่อกำกับดูแลการนำ AI มาใช้งานในมิติต่างๆ โดยเน้นที่การส่งเสริมและพัฒนาการใช้ AI ให้มีความปลอดภัย เชื่อถือได้ และมีความรับผิดชอบ

ปัจจุบันกฎหมาย AI ได้มีการแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 4 ประเภทตามระดับความเสี่ยงคือ 

1. ความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable risk) เช่น ระบบการให้คะแนนทางสังคม (social scoring)หรือ AI ที่ใช้เทคนิคจูงใจเพื่อบิดเบือนพฤติกรรมของมนุษย์ และการใช้ AI เพื่อคุมคามบุคคล

2. ความเสี่ยงสูง (High risk) ต้องผ่านการประเมินความเสี่ยงและปฏิบัติตามข้อกำหนดที่เข้มงวด เช่น ระบบจดจำใบหน้า

3. ความเสี่ยงจำกัด (Limited risk) เช่น แชทบอทหรือ Deep Face โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดพื้นฐาน 

4. ความเสี่ยงน้อยที่สุด (Minimal risk) คือ AI ส่วนใหญ่ที่มีจำหน่ายในตลาดของสหภาพยุโรป เช่น เครื่องมือค้นหา หรือ AI ในวิดีโอเกมหรือตัวกรองสแปม ซึ่งจะไม่ถูกควบคุมโดย EU AI Act

Mathieu Michel เลขาธิการแห่งรัฐด้านการแปลงเป็นดิจิทัลของเบลเยียม กล่าวว่า “การนำพระราชบัญญัติ AI มาใช้ถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับสหภาพยุโรป โดยข้อกำหนดดังกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญ ความไว้วางใจ ความโปร่งใส และความรับผิดชอบต่อการใช้เทคโนโลยี ในขณะเดียวกันก็ทำให้มั่นใจว่า เทคโนโลยี AI จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะส่งผลดีต่อการใช้งานในยุโรป”

ด้าน Matthew Holman หุ้นส่วนของบริษัทกฎหมาย Cripps กล่าวว่า กฎดังกล่าวจะมีผลกระทบที่สำคัญต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดๆ ที่กำลังพัฒนา สร้าง ใช้ หรือขาย AI ในสหภาพยุโรป โดยที่บริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ต้องจับตามองกฎระเบียบอย่างห้ามคลาดสายตา เพราะกฎหมายจากสหภาพยุโรปนั้นแตกต่างจากกฎหมายในภูมิภาคอื่นๆ และนี่ก็เป็นครั้งแรกที่มีการสร้างระบบการกำกับดูแลโดยละเอียดสำหรับ AI

นอกจากนี้ ทางฝั่งบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ก็กำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในการพัฒนา AI มีการระดมทุนจำนวนมาก ซึ่งจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎหมายใหม่

กฎหมาย AI ฉบับนี้จะถูกนำไปใช้ในหลายด้าน ตั้งแต่การพัฒนาแอปฯ การลดความเสี่ยงที่จะเกิดภัยคุกคามทางสังคม ความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือแม้แต่การคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น ในรถยนต์อัตโนมัติ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อคาดการณ์ว่ามีความปลอดภัยแค่ไหน 

อย่างไรก็ตาม หลังจากข้อกฎหมายดังกล่าวถูกประกาศบังคับใช้จริง ผู้ให้บริการหรือบริษัทเทคโนโลยีที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมด ต้องปรับหรือเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และบริการให้เข้าเกณฑ์ภายใน 36 เดือนหลังจากวันที่มีผลบังคับใช้ 

และหากมีการทำผิดกฎข้อบังคับ อาจเจอโทษปรับ 35 ล้านยูโร (ประมาณ 1,300 ล้านบาท) หรือปรับ 7% ของรายได้ทั่วโลกต่อปี

สามารถอ่านรายละเอียดอื่นๆ ของกฎหมาย AI ได้ที่ สรุปประเด็นสำคัญ AI Act กฎหมายปัญญาประดิษฐ์ฉบับแรกของโลก

อ้างอิง CNBC 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...