บอร์ดตั้งสอบ CEO ของ Zilingo หลังเกิดข้อสงสัยในการระดมทุน | Techsauce

บอร์ดตั้งสอบ CEO ของ Zilingo หลังเกิดข้อสงสัยในการระดมทุน

Ankiti Bose ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Zilingo สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นจากสิงคโปร์ถูกสั่งพักงานจนถึงวันที่ 5 พฤษภาคม หลังจากเกิดข้อสงสัยเรื่องความพยายามในการระดมทุนรอบใหม่ที่มีมูลค่ากว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 6.8 พันล้านบาท ด้วยการสนับสนุนจาก Goldman Sachs Group Inc. โดยข้อกังวลนี้เกี่ยวข้องกับงบการเงินและรายได้บนแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้ารายย่อยหลายพันรายใช้งาน รวมถึงการควบรวมกิจการในอินโดนีเซียด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนและตรวจสอบบัญชี

โดยในระหว่างการพักงานนี้ Bose ได้มีการโต้แย้งกับคณะกรรมการของ Zilingo ในการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบสถานะทางการเงินของบริษัท ซึ่งคณะกรรมการยังไม่มีมติว่าจะให้ใครมาแทนที่ Bose แต่ในขั้นต้นได้หารือเรื่องการแต่งตั้งชั่วคราว โดยอาจเลือกผู้บริหารระดับสูงหรือนักลงทุน ซึ่งคงหนีไม่พ้นคนจาก Sequoia ในขณะที่บริษัทสืบสวนเอกชน Kroll กำลังตรวจสอบทำบัญชีของ Zilingo ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นเร็วๆ นี้ โดยการปะทะกันครั้งนี้ถือเป็นการพลิกผันครั้งใหญ่ของหนึ่งในสตาร์ทอัพที่โด่งดังที่สุดของสิงคโปร์ 

อย่างไรก็ตาม Bose ได้กดดันให้คณะกรรมการชี้แจงสถานะของเธอโดยเร็ว เนื่องจากเธอกังวลว่าบริษัทจะเติบโตอย่างไร้ทิศทาง โดยเธอปฏิเสธการกระทำผิดกฎหมายทุกข้อกล่าวหา และยินดีร่วมมือในการสืบสวนอย่างเต็มที่ ซึ่งในฐานะสมาชิกคณะกรรมการบริหาร เธอได้ตัดสินใจและทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับบริษัท เพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าทุกคน พนักงานหลายร้อยคน และผู้ถือหุ้น นอกจากนี้เธอยังกล่าวกับสำนักข่าว Bloomberg ว่าข้อกล่าวหาครั้งนี้เป็นเหมือนการล่าแม่มด โดยมีความต้องการปลดเธอออกจากตำแหน่งอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ยังไม่เป็นที่ยืนยันว่าเธอได้กระทำผิดจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับวงการ Startup ในเรื่องการทำตามกฎเกณฑ์การระดมทุน รวมถึงสัญญาข้อตกลงที่ต้องตกลงระหว่างบอร์ดบริหารและคณะกรรมการ

                            --------------------------------------------------------------

Zilingo ก่อตั้งโดย Ankiti Bose และ Dhruv Kapoor เริ่มต้นจากการพูดคุยกับผู้ขายรายย่อยและพบว่าหลายคนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและเงินทุน ทำให้พวกเขาพัฒนาซอฟต์แวร์และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยให้ผู้ค้าสามารถเข้าถึงโรงงานในสถานที่ต่างๆ เช่น เวียดนามหรือบังกาลอร์ และทำให้กระบวนการขนส่งข้ามพรมแดนที่ซับซ้อนเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งได้เปิดระดมทุนครั้งแรกในปี  2015 และภายในเวลาไม่ถึง 5 ปีก็กลายเป็นยูนิคอร์นในปี 2019 โดยได้รับเงินทุนหลักจาก Sequoia Capital India และ Temasek 

Zilingo จึงได้เปลี่ยนจาก Marketplace Platform ด้านแฟชั่น กลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาด e-Commerce และมี Zilingo Asia Mall หรือ ZAM ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม B2B สำหรับเชื่อมธุรกิจค้าปลีกจากทั่วโลกเข้าหากัน โดยในปัจจุบันได้ให้บริการใน 8 ประเทศทั่วโลก

อ้างอิง: Bloomberg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG จับมือ 3 มหา’ลัยชั้นนำ สร้าง Co-Master's Degree ปั้น ป.โท เก่ง AI ออกสู่ตลาด

หลักสูตรการศึกษามาใหม่! ที่ KBTG จับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) มหาวิทยาลัยมหิดล (MU) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU)...

Responsive image

Apple ทุ่มลงทุน 336 ล้านบาท หวังปลดล็อคแบน iPhone 16 ในอินโดฯ

iPhone 16 ในอินโดจะยังได้ไปต่อไหม? เมื่อ Apple เสนอเงินลงทุนกว่า 336 ล้านบาทในอินโดนีเซีย หวังปลดล็อคการแบน iPhone รุ่นล่าสุด หลัง Apple ยังไม่บรรลุเป้าหมายการลงทุนในประเทศตามที่ต...

Responsive image

จีนท้าชนสหรัฐฯ เดินหน้าครองอุตสาหกรรมเทคโนโลยีโลก ท่ามกลางแรงกดดัน

สหรัฐฯ ได้ใช้กลยุทธ์หลายอย่าง เช่นการควบคุมการส่งออกและการห้ามจำหน่ายอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสกัดกั้นการเติบโตของจีนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น ชิป AI และเซมิคอนดักเตอร์ อย่างไ...