8 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทวิตเตอร์เทรนด์ | Techsauce

8 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับ ทวิตเตอร์เทรนด์

สิ่งที่ทำให้ทวิตเตอร์เป็นทวิตเตอร์ คือ ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ เสียงอันเป็นเอกลักษณ์ ภูมิหลังที่หลากหลาย บทสนทนาและการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกันของพวกเขาได้เป็นแรงบันดาลใจให้ทวิตเตอร์เดินหน้าปรับปรุงและพัฒนากฎ ขั้นตอน เทคโนโลยี รวมทั้งเครื่องมือต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนสามารถเข้าร่วมบทสนทนาสาธารณะได้อย่างเสรีและปลอดภัย

เนื่องในสัปดาห์แห่งการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (Global Media and Information Literacy Week) ระหว่างวันที่ 24- 31 ตุลาคมนี้ ทวิตเตอร์ได้ร่วมมือกับองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ-ยูเนสโก ในการเฉลิมฉลองธีมในปีนี้เรื่อง การต่อต้านการแพร่กระจายของเชื้อโรค: การรู้สื่อและข้อมูลสำหรับทุกคนและโดยทุกคน (Resisting Disinfodemic: Media & Information Literacy) และเปิดตัวอีโมจิพิเศษเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนใช้ #คิดก่อนแชร์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างการสนทนาที่มีคุณภาพ โดยอีโมจิจะปรากฏขึ้นเมื่อมีคนใช้แฮชแท็กต่อไปนี้:  #สัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล, #คิดก่อนแชร์ และ #คิดก่อนคลิก นอกจากนั้น ทวิตเตอร์ยังได้อธิบายถึงฟีเจอร์เฉพาะที่ทุกคนต่างรู้จักดี แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้วิธีการใช้งานของฟีเจอร์ ขณะเดียวกันก็ยังเป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ ทวิตเตอร์เทรนด์

เรามาทำความรู้จักกับ 8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับทวิตเตอร์เทรนด์ เพื่อให้คุณเข้าใจการทำงานของฟีเจอร์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนี้

1) เทรนด์เกิดจากอัลกอริทึม

อัลกอริทึม คือ ตัวกำหนดเทรนด์ โดยค่าเริ่มต้นเทรนด์ได้ถูกกำหนดให้เหมาะสมกับผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอ้างอิงจากคนที่กำลังติดตาม เรื่องที่สนใจ และจากตำแหน่งที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนค่าเริ่มต้นของเทรนด์โดยเลือกสถานที่ที่ต้องการได้ เช่น ตั้งค่าเป็นประเทศไทย และเห็นหัวข้อที่ได้รับความนิยมหรือกำลังติดเทรนด์ทวิตเตอร์อยู่ในตำแหน่งที่ตั้งที่เจาะจงได้

2) เทรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของจำนวนทวีต

เทรนด์แสดงให้เห็นว่า ณ ตอนนี้มีเรื่องอะไรที่กำลังได้รับความนิยมบนทวิตเตอร์ ซึ่งไม่ได้นับจากจำนวนทวีตทั้งหมดในหัวข้อเฉพาะแล้วแสดงรายการที่มีทวีตมากที่สุด แต่เทรนด์สะท้อนถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ ณ ปัจจุบัน และยังช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหาหัวข้อที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงบนทวิตเตอร์ในตอนนั้นแบบเรียลไทม์ได้

3) ไม่ติดแฮชแท็กก็ติดเทรนด์ได้

การติดแฮชแท็กเป็นส่วนหนึ่งของทวิตเตอร์เทรนด์ ทั้งนี้ คำหรือวลีที่ใช้ในทวีตจะถูกนับรวมด้วยเช่นกัน ซึ่งทวิตเตอร์ยังจัดกลุ่มแฮชแท็กที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน ตัวอย่าง เช่น #MondayMotivation และ #MotivationMonday จะแสดงเป็น #MondayMotivation ในเทรนด์ เป็นต้น

4) วิธีการดูทวีตที่ติดเทรนด์

สามารถคลิกหรือแตะตรงข้อความที่อยู่ในเทรนด์ แล้วระบบจะนำไปสู่หน้าแสดงผลการค้นหาเทรนด์นั้นๆ ซึ่งจะเห็นการแสดงทวีตต่างๆ รวมถึงวลี คำ หรือแฮชแท็กที่เกี่ยวข้อง หากต้องการดูทวีตที่เคยติดเทรนด์ก่อนหน้าแต่ไม่ได้อยู่ในลิสต์ของเทรนด์แล้ว ผู้ใช้ทวิตเตอร์ยังคงสามารถค้นหาทวีตเหล่านั้นในช่องค้นหาได้

5) การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์

ผู้ใช้ทวิตเตอร์สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ โดยการทวีตข้อความที่มีวลี คำ หรือแฮชแท็กที่กำลังติดเทรนด์อยู่ เพียงเท่านี้ข้อความดังกล่าวก็จะเป็นส่วนหนึ่งของเทรนด์ในทันที หมายเหตุ ทวิตเตอร์มีตัวกรองในการค้นหาเฉพาะข้อความที่มีคุณภาพ หากอยากรู้ว่าการกระทำแบบใดที่จะทำให้ทวีตถูกคัดกรองออกไป สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่กฎและข้อจำกัดของการค้นหา

6) คำอธิบายของเทรนด์

ในบางครั้ง ผู้ใช้อาจจะเห็นข้อมูลของเทรนด์ได้ เช่น จำนวนทวีตโดยประมาณ หรือบริบทส่วนบุคคลเช่นใครในเครือข่ายกำลังทวีตเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ อยู่ หากดูที่จำนวนทวีตที่แสดง คุณจะเห็นว่าทวีตที่มีจำนวนมากกว่าอาจปรากฏอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าทวีตที่มีจำนวนทวีตน้อยกว่าก็ได้ ตามที่อธิบายไปแล้วข้างต้นในข้อที่ 2 ว่า เทรนด์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนทั้งหมดของทวีตในหัวข้อเรื่องนั้น แต่เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น

7) นโยบายและกฎที่เกี่ยวข้องกับทวิตเตอร์เทรนด์

ทวิตเตอร์ต้องการให้ฟีเจอร์เทรนด์เป็นการโปรโมทบทสนทนาที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายความว่าในบางครั้ง ทวิตเตอร์อาจป้องกันเนื้อหาบางประเภทไม่ให้ติดเทรนด์ เช่น

  • มีเนื้อหาหยาบคายหรือมีการอ้างอิงรูปภาพที่ไม่เหมาะสม
  • ปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังในเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ชาติกำเนิด รสนิยมทางเพศ เพศ อัตลักษณ์ทางเพศ ความเกี่ยวข้องทางศาสนา อายุ ความทุพพลภาพ หรืออาการป่วยโรคต่างๆ
  • ละเมิด ข้อบังคับของทวิตเตอร์

 8) ประเภทของทวิตเตอร์เทรนด์ มี 2 แบบคือ เทรนด์แบบทั่วไปและเทรนด์ที่โปรโมทบนทวิตเตอร์เทรนด์แบบทั่วไปคือสิ่งที่อธิบายไปข้างต้นและทำงานภายใต้ข้อบังคับของทวิตเตอร์ ซึ่งไม่สามารถทำการซื้อขายได้ อย่างไรก็ตาม ทวิตเตอร์มี 2 ฟีเจอร์โฆษณาที่เปิดโอกาสให้สามารถโปรโมทเทรนด์บนทวิตเตอร์ได้ คือ

  • โปรโมทเทรนด์ (Promoted Trends) คือ ฟีเจอร์โฆษณาที่สร้างผลลัพธ์สูงใน 24 ชั่วโมงซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากแบรนด์ต่าง ๆ และเพื่อความโปร่งใส เทรนด์ที่เป็นการโปรโมทในรูปแบบนี้จะมีเครื่องหมายแสดงอย่างชัดเจนว่าโปรโมท และจะต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้โปรโมทเทรนด์ของทวิตเตอร์ 
  • โปรโมทสปอตไลท์เทรนด์ (Promoted Trend Spotlight)  คือรูปแบบการโฆษณาแบบภาพที่ปรากฏเหนือรายการเทรนด์ ฟีเจอร์นี้รองรับวิดีโอและภาพเคลื่อนไหว (GIFs) ไม่เกิน 6 วินาที รวมทั้งภาพนิ่ง 

คุณสามารถดูเทรนด์ทวิตเตอร์ได้จากทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชันบน iOS หรือแอนดรอยด์ และเว็บไซต์ twitter.com สำหรับแอพพลิเคชันทวิตเตอร์บนมือถือ ผู้ใช้สามารถค้นหาเทรนด์ที่แสดงอยู่ได้ในส่วนของเทรนด์ที่หน้าสำรวจ (Explore) ส่วนผู้ที่ใช้งานทวิตเตอร์บนคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กผ่านทางเว็บไซต์ twitter.com เทรนด์จะแสดงให้เห็นจากหลายๆ ที่ ทั้งในไทม์ไลน์ของหน้าแรก, หน้าการแจ้งเตือน, หน้าการแสดงผลการค้นหา, และจากหน้าโพรไฟล์ หากอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของฟีเจอร์ทวิตเตอร์เทรนด์ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี ยกระดับ "ยินดี-Yindee" ผู้ช่วย AI อัจฉริยะ ตอบทุกคำถามฉับไว บน Mobile Banking ด้วย Azure OpenAI ครั้งแรกในไทย

ทีทีบี มุ่งขับเคลื่อนองค์กรด้วย Digital Transformation โชว์ความสำเร็จการพัฒนาผู้ช่วยบนมือถือ “ยินดี-Yindee” เวอร์ชันใหม่ ถือเป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่นำ Generative AI ผ่าน Microsoft A...

Responsive image

สำรวจ KPMG เผย ซีอีโอพลังงานเดินหน้าลงทุนเทคโนโลยี แม้เศรษฐกิจผันผวน

การสำรวจ CEO Outlook ของเคพีเอ็มจี (KPMG) แสดงให้เห็นว่าซีอีโอร้อยละ 78 มั่นใจในการเติบโตทางเศรษฐกิจในสามปีข้างหน้า สะท้อนความเชื่อมั่นในระดับสูง แม้จะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเ...

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...