สจล. เปิดตัว AI ตรวจคุณภาพหน้ากากอนามัยกับระบบประเมินคุณภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส | Techsauce

สจล. เปิดตัว AI ตรวจคุณภาพหน้ากากอนามัยกับระบบประเมินคุณภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตรวจสอบคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัย ผลงานของวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. โดยนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการนำเอาระบบ AI มาใช้ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพการผลิต เพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบ และเพิ่มกำลังการผลิต ตอบสนองภาวะหน้ากากอนามัยขาดตลาด โดย สจล. มุ่งหวังให้องค์ความรู้ดังกล่าวถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตหน้ากากอนามัยเพื่อบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด (KMITL 60th Year: Go Beyond the Limit)  

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า สจล. มีความมุ่งมั่นที่จะนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อช่วยสังคมก้าวผ่านช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อีกทั้งส่งเสริมให้นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนประชาชนทั่วไป ปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข โดยการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) การหมั่นทำความสะอาดมือด้วยการล้างมือ หรือใช้สเปรย์ เจลแอลกอฮอล์ ตลอดจนสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่ที่มีคนหมู่มากและแออัด อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะหน้ากากอนามัยขาดตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ที่จำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ สจล. จึงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตรวจสอบคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัย ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตหน้ากากอนามัยให้ทันต่อความต้องการการใช้ในสถานพยาบาล รวมถึงประชาชนทั่วไป ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด (KMITL 60th Year: Go Beyond the Limit) ทั้งนี้ การนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม และทันสถานการณ์จะช่วยดิสรัปต์ภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้  

รศ.ดร.ศิริเดช บุญแสง คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ในกระบวนการผลิตหน้ากากอนามัย มีระบบการตรวจสอบการผลิต 2 ส่วน ได้แก่ 1) ตรวจสอบมาตรฐานกระบวนการผลิต 2) ตรวจสอบคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยผลงานนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) และจอแสดงผลตรวจสอบคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัย ของวิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สจล. สามารถเข้ามาช่วยตรวจสอบการผลิตได้ในทั้ง 2 ส่วน ในส่วนของมาตรฐานกระบวนการผลิต นวัตกรรมสามารถตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพ ทั้งความสมบูรณ์ของหน้ากาก และขนาดที่ได้ตามมาตรฐาน ในขณะที่การตรวจสอบคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการผลิต 

นวัตกรรมจะตรวจสอบส่วนประกอบของการผลิตหน้ากากอนามัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ดังนี้

•    สายคล้องหู: ต้องใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง ไม่ขาดหลุดง่าย และมีการเย็บติดเข้ากับตัวหน้ากากอย่างแน่นหนา

•    โครงลวด: ต้องใช้โครงลวดที่มีขนาดตามมาตรฐาน และมีการปะยึดลวดไม่ให้หลุดระหว่างการใช้งาน

•    ตัวล็อคโครงลวด: ตัวล็อคโครงลวดมีความสำคัญในการช่วยยึดลวดให้ไม่เลื่อนหลุดจากตัวหน้ากาก ซึ่งอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหน้ากาก ทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตราย รวมถึงเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรค

•    ตัวแผ่นหน้ากาก: จะต้องมีความหนาแน่นของเส้นใยที่ได้มาตรฐาน โดยแผ่นหน้ากากชั้นนอกและชั้นในใช้เส้นใยชนิดเดียวกัน มีรูพรุนขนาด 3 ไมครอน ในขณะที่ชั้นกลาง (active) ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ป้องกันไวรัส จะต้องมีรูพรุนสูงประมาณ 1 ไมครอนหรือต่ำกว่า และมีความหนาแน่นของเส้นใยสูง เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส เมื่อประกอบกันทั้ง 3 ชั้น ด้วยกระบวนการยึดติดที่ได้มาตรฐาน จึงจะเป็นหน้ากากอนามัยที่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้

นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) และจอแสดงผลตรวจสอบคุณภาพการผลิตหน้ากากอนามัย มีหลักการทำงานได้แก่ 1) รักษามาตรฐานความสะอาดในกระบวนการผลิต ลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อโรคจากการใช้แรงงานคน 2) เพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบคุณภาพการผลิต และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพและกำลังการผลิต ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการผลิตหน้ากากอนามัยที่ขาดตลาดในปัจจุบัน ให้ทันต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในส่วนของผู้ที่มีความจำเป็นในการใช้งานอย่างบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยนวัตกรรมดังกล่าว นับเป็นความภาคภูมิใจของ สจล. ที่สามารถนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มี เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภาวะที่สังคมต้องการความช่วยเหลือในด้านนี้ได้ นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลงานที่ สจล. ได้ร่วมวิจัยกับ CP โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และตั้งเป้าเตรียมนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ทันทีในโครงการผลิตหน้ากากอนามัยของ CP เพื่อแจกฟรีสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ รศ.ดร.ศิริเดช กล่าวทิ้งท้าย

ทั้งนี้ สจล. มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยสังคมก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ภายใต้โครงการ 60 ปี พระจอมเกล้าลาดกระบัง ไร้ขีดจำกัด (KMITL 60th Year: Go Beyond the Limit) สำหรับหน่วยงานที่สนใจนวัตกรรมต่างๆ ของ สจล. ก็พร้อมที่จะร่วมมือในการต่อยอดทั้งในด้านวิชาการ และเชิงพาณิชย์ 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทีทีบี จับมือ databricks ผสานพลัง Data และ AI สร้างอนาคตการเงินที่ดีขึ้นให้คนไทย

ทีทีบี ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลักดันดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการธนาคารไทย จับมือพันธมิตร databricks พร้อมเดินหน้าสร้าง Data-driven Culture ปักธงก้าวสู่ธนาคารที...

Responsive image

LINE SCALE UP เปิดรับสตาร์ทอัพทั่วโลก ต่อยอดธุรกิจกับ LINE ก้าวสู่ระดับสากล

LINE SCALE UP เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน LINE Thailand Developer Conference 2024 ที่ผ่านมา เฟ้นหาสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ และพร้อมต่อยอดธุรกิจร่วมกับ LINE สู่เป้าหมายยกระดับธุรกิจสตา...

Responsive image

MarTech MarTalk 2024 EP.3 จากต้นกล้าสู่ความสำเร็จ ด้วยการพัฒนาคนและ MarTech

ChocoCRM จัดงานใหญ่ส่งท้ายปีกับงาน MarTech MarTalk 2024 EP.3 From Seeds to Success: Driving Business Growth with People and Marketing Technology ได้รับการตอบรับดีอย่างต่อเนื่องเป็น...