AIS และ dtac ชำระค่าคลื่นความถี่ พร้อมรับใบอนุญาตจากสำนักงาน กสทช. | Techsauce

AIS และ dtac ชำระค่าคลื่นความถี่ พร้อมรับใบอนุญาตจากสำนักงาน กสทช.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (21 ก.พ. 2563) บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ AWN ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz และบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz ได้นำเงินประมูลคลื่นความถี่มาชำระและรับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)  

ดีแทค ไตรเน็ต ชำระค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 26 GHz

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค ชำระค่าประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 26 GHz ที่ประมูลชนะ 2 ใบอนุญาต จำนวน 974,128,001.07 บาท แก่ กสทช. จากการประมูลคลื่นความถี่

นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “ลูกค้าดีแทคได้รับประสบการณ์ใช้งานดาวน์โหลดที่ได้รับการยอมรับว่าเร็วที่สุดในไทย* การได้คลื่นความถี่สูงย่าน 26 GHz ทำให้ดีแทคมีชุดคลื่นความถี่ที่สมบูรณ์ทั้งย่านต่ำ-กลาง-สูง เพื่อที่จะพัฒนาคุณภาพบริการ และประสบการณ์ความเร็วสูงต่อไปในอนาคต”

ดีแทคมั่นใจที่จะเปิดบริการ 5G ในพื้นที่ที่กำหนดเปิดให้บริการในช่วงแรก คาดว่าจะเปิดให้บริการราวไตรมาส 2 ปี 2563 พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายปัจจุบันให้รับส่งข้อมูลดีขึ้นถึง 3 เท่า ดีแทคจะพัฒนาโครงข่ายปัจจุบัน ด้วยการเร่งขยาย Massive MIMO เทคโนโลยีความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ใช้งานหนาแน่นทั่วประเทศ และขยายโครงข่ายเพื่อให้บริการเพิ่มอีก 3,400 สถานีฐานสำหรับการใช้งาน 4G คลื่น 2300 MHz ที่ให้บริการบนคลื่นทีโอที

เกี่ยวกับคลื่น 26 GHz - คลื่น 26 GHz หรือ mmWave เป็นคลื่นความถี่สูงที่มีคุณสมบัติพิเศษ เหมาะสำหรับการใช้งานความเร็วสูงสุดเพื่อรับส่งข้อมูล และสามารถเพิ่มความสามารถในการรองรับการใช้งานในปริมาณมากพร้อมทั้งมีความแม่นยำในการใช้งาน เพื่อรองรับนวัตกรรม 5G ต่างๆ ในอนาคตได้อย่างแท้จริง โดยสามารถนำมาพัฒนาคอนเทนท์ร่วมกับการใช้ VR หรือ AR, การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ใช้งานหนาแน่น เช่น คอนเสิร์ต รวมถึงออกแบบบริการ 5G เพื่อสาธารณสุขในที่ห่างไกล เป็นต้น

เกี่ยวกับ Massive MIMO technology - Massive MIMO คืออุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย 4G บนคลื่น 2300 MHz (บริการบนคลื่นทีโอที) ให้มีคุณภาพสูง พร้อมทั้งยังเพิ่มความสามารถ (Capacity) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้ใช้งานหนาแน่นและบริเวณตึกสูงอย่างในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความต้องการใช้งานข้อมูลในปริมาณมาก การนำเทคโนโลยี Massive MIMO มาใช้นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมไทย เพื่อรองรับการใช้งานยุคอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสู่ 5G สำหรับลูกค้าทุกคน

AIS ชำระเงินค่าคลื่นความถี่ 2600 MHz งวดแรก

บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หรือ AWN ในกลุ่มเอไอเอส นำโดยนายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชำระเงินค่าประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ย่าน 2600 MHz งวดที่ 1 จำนวน 2,093,027,000 บาท (สองพันเก้าสิบสามล้านสองหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากราคาประมูลทั้งหมด 20,930,270,000 บาท (สองหมื่นเก้าร้อยสามสิบล้านสองแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)(รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) พร้อมด้วยหนังสือค้ำประกัน โดยมีนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงาน กสทช.

ทั้งนี้ จากการเข้าร่วมประมูลใบอนุญาตให้บริการ 5G เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เอไอเอส ได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่ ดังนี้

- คลื่นความถี่ 700 MHz จำนวน 1 ชุด (2 x 5MHz) รวม 10 MHz ช่วงความถี่วิทยุ 733 - 738 MHz และ 788 - 793 MHz

- คลื่นความถี่ 2600 MHz จำนวน 10 ชุด รวม 100 MHz ช่วงความถี่วิทยุ 2500 - 2600 MHz

- คลื่นความถี่ 26 GHz จำนวน 12 ชุด รวม 1200 MHz ช่วงความถี่วิทยุ 25.2 - 26.4 GHz

ส่งผลให้เอไอเอสยืนหยัดผู้นำเครือข่ายอันดับ 1 ของประเทศที่ถือครองคลื่นความถี่ในการให้บริการ 4G และ 5G มากที่สุดในอุตสาหกรรม รวมทั้งสิ้น 1420 MHz (ไม่รวมความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์) พร้อมประกาศเดินหน้าพัฒนาเครือข่าย 5G ที่ดีที่สุดทั่วประเทศ เป็นรายแรก เพื่อคนไทย โดยวางแผนงบลงทุนเบื้องต้น จำนวน 10,000 - 15,000 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีพี-มธ. ผนึกกำลังดันวิจัยนวัตกรรมสุขภาพ พลิกไทยสู่ศูนย์กลาง Health Hub โลก

เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จับมือร่วมผลักดันนวัตกรรมด้านสุขภาพ ตั้งแต่ AI, หุ่นยนต์, ไปจนถึงเทคโนโลยีป้องกันโรค...

Responsive image

BE8 เผยผลประกอบการไตรมาส 3 โกยกำไร 27.8% แตะ 44 ล้านบาท! มั่นใจโค้งสุดท้ายปีนี้ยังโตต่อเนื่อง

เบริล 8 พลัส" เผยผลประกอบการไตรมาส 3/67 กวาดรายได้จากการขายและให้บริการแตะ 610.35 ล้านบาท ดันกำไรสุทธิขึ้นเป็น 44 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27.8% จากไตรมาสก่อน พร้อมแสดงความมั่นใจว่าแนวโน้...

Responsive image

foodpanda เดินหน้ารุกตลาดขนส่ง C2C ครองใจผู้ใช้ เผยสถิติ pandago รับ - ส่งพัสดุด่วน ทะลุ 1 ล้านกิโลเมตร

นอกเหนือจากการเป็นแพลตฟอร์มที่มีบริการส่งอาหารแล้ว foodpanda ยังมีบริการ pandago ทั้งบริการส่งของกินของใช้จากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ ร้านค้าขนาดกลาง และร้านค้าขนาดเล็กทั่วประเทศด้วย...