มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ | Techsauce

มันนี่ทันเดอร์พลิกโฉมสินเชื่อไทย ด้วย AI ฝีมือคนไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

จากปัญหาหนี้นอกระบบสู่โซลูชันฟินเทค AI เพื่อคนไทย ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทยกว่า 42% ยังคงเผชิญกับปัญหาหนี้นอกระบบ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบ

 

โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีหลักฐานรายได้ที่ชัดเจน เช่น สลิปเงินเดือน แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีฟินเทคได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้ ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย “อบาคัส ดิจิทัล” (ABACUS digital) ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" (MoneyThunder) ได้สร้างปรากฎการณ์ในวงการสินเชื่อด้วยการใช้เทคโนโลยี AI ที่พัฒนาจากทีมคนไทยที่เข้าใจถึงความต้องการของคนไทยอย่างแท้จริง ซึ่งปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท มีจำนวนผู้ใช้เติบโตแบบก้าวกระโดดสูงกว่า 4 ล้านคน 

เทคโนโลยี AI กับการลดต้นทุนและความเสี่ยงในกระบวนการสินเชื่อ

เบื้องหลังความสำเร็จของ อบาคัส ดิจิทัล เกิดจากการใช้เทคโนโลยี AI และระบบ Automation อย่างเต็มรูปแบบตลอดทั้งกระบวนการสินเชื่อ เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มความแม่นยำในการประเมินความเสี่ยง โดยการนำ AI มาสร้างโมเดลการวิเคราะห์ความเสี่ยง ช่วยทำให้ปล่อยสินเชื่อด้วยวงเงินและระยะเวลาที่เหมาะสมกับแต่คนและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับการฉ้อโกงได้อย่างมีประสิทธิผล นอกจากนี้ AI ยังถูกนำไปใช้งานในด้านอื่น ๆ เช่น การตลาด การดูแลลูกค้า และการสื่อสาร เพื่อเพิ่มความครอบคลุมในการให้บริการและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีเบื้องหลังแอปสินเชื่อ “มันนี่ทันเดอร์”

แอปพลิเคชัน "มันนี่ทันเดอร์" ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI มากกว่า 20 โมเดล และข้อมูลกว่า 30 ล้านจุด (Data Points) ทำให้โมเดลสามารถวิเคราะห์ตัวแปรได้มากถึง 2,000 ตัวแปร นอกจากนี้โมเดลเหล่านี้ช่วยให้สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างชาญฉลาดและปรับตัวตามพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งทำให้คนไทยกลุ่มที่ไม่มีประวัติสินเชื่อในระบบสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้โดยให้ข้อมูลทางเลือกเพิ่มเติม เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือพฤติกรรมการใช้จ่ายอื่น ๆ โดยมีคีย์เทคโนโลยี AI ที่ขับเคลื่อนเบื้องหลัง ดังนี้

  1. Fraud Detection: ระบบตรวจจับการฉ้อโกงที่สามารถป้องกันการปลอมแปลงเอกสารและข้อมูลส่วนตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ AI วิเคราะห์พฤติกรรมและเชื่อมโยงข้อมูลในรูปแบบเครือข่าย ช่วยลดความเสี่ยงด้านการฉ้อโกง
  2. Alternative Data and AI Credit Scoring: คะแนนเครดิตและข้อมูลทางเลือกช่วยเพิ่มโอกาสให้คนที่ไม่มีประวัติสินเชื่อในระบบ เข้าถึงสินเชื่อได้ยาก ได้ใช้ข้อมูลทางเลือกจากแหล่งอื่นๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ หรือ ยอดขายออนไลน์เพื่อการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้การประเมินความเสี่ยงมีความแม่นยำและเป็นธรรมให้กับผู้ขอสินเชื่อมากขึ้น
  3. Communication Intelligence: AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อกับลูกค้า เช่น การแจ้งเตือน การติดตามหนี้ และการนำเสนอโปรโมชั่น โดยปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับลูกค้า ทั้งเนื้อหาข้อความ ช่องทางการส่งและช่วงเวลาที่เหมาะสม
  4. Customer Service Chatbot: ระบบแชทบอทที่พัฒนาด้วย AI ช่วยจัดการคำถามและใบสมัครจำนวนมากอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับข้อความกว่า 2 ล้านข้อความต่อเดือน ทำให้ทีมงานสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำแม้มี Customer Support Agent เพียง 5 คนเท่านั้น

ด้วยเทคโนโลยี AI ทำให้แอปสินเชื่อมันนี่ทันเดอร์เปิดโอกาสทางการเงินให้กับคนไทย ช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบโดยพบว่าลูกค้ากว่า 1 ใน 3 เคยพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบมาก่อน และกว่า 30% เคยถูกปฏิเสธสินเชื่อจากธนาคาร นอกจากนี้มากกว่า 50% ของผู้ใช้งานมีรายได้ดีขึ้นหลังได้รับสินเชื่อจากมันนี่ทันเดอร์ และยังช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยมีสัดส่วนถึง 63% ของลูกค้าทั้งหมดที่เป็นผู้หญิง 

ความท้าทายและโอกาสในอนาคต

อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี AI ในอนาคตประกอบกับการพัฒนาทางด้านโครงสร้างฐานข้อมูลจากทุกภาคส่วนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์คนไทยมากยิ่งขึ้น การผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยกับความเข้าใจในบริบทของประเทศไทยเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

iNT: พันธมิตรเพื่ออนาคต พร้อมเปิดประตูสู่นวัตกรรมและธุรกิจ Start-Up

สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ iNT (อิ๊นท์) ตอกย้ำบทบาทผู้นำ ด้านการสนับสนุนธุรกิจ Start-Up และการส่งเสริมการต่อยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์...

Responsive image

5 ประโยชน์จาก DUSCAP เครื่องมือ AI อัจฉริยะ ยกระดับองค์กรสู่ความสำเร็จในทุกมิติ

เมื่อเทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถขององค์กร การค้นหาโซลูชันที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ DUSCAP ...

Responsive image

KBank เปิดผลงานปี 67 กำไร 48,598 ล้านบาท ท่ามกลางความท้าทายเศรษฐกิจ

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว...