ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคการเกษตรของไทย จึงจับมือ HUBBA Thailand ร่วมกันจัดโครงการ “BAAC Hackathon and Incubator, Agricultural Revolution หรือ ปฏิวัติเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” เพื่อค้นหาสตาร์ทอัพสายเกษตรมาเข้าร่วมโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเกษตร ภายใต้โจทย์ปัญหาใหญ่ที่วงการเกษตรไทยกำลังเผชิญ 4 หัวข้อ ได้แก่ ข้าวไทยในตลาดสากล เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม การเกษตรเพื่ออาหารสุขภาพ และห่วงโซ่อุปทานการเกษตร
เกษตรกรไทยผู้มีบทบาทเสมือนกระดูกสันหลังของชาติกำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักทั้งจากปัญหาในเชิงโครงสร้าง ผลกระทบจากโรคระบาด หรือจากสภาวะเศรษฐกิจและการแข่งขันในตลาดโลก ซึ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย เพราะการจ้างงานในภาคการเกษตรมีตัวเลขสูงถึงร้อยละ 30 ของกําลังแรงงานทั้งประเทศ ครอบคลุมถึง 6.4 ล้านครัวเรือน และมีที่ดินสำหรับทำการเกษตรครอบคลุมถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั่วประเทศ แต่ภาคเกษตรกลับมีสัดส่วนในมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเพียงร้อยละ 10 มีอัตราการเติบโตช้าและมีความเปราะบางสูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ของประเทศ หนำซ้ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งระดับโลกที่ส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรชนิดเดียวกัน พบว่ายังเติบโตในอัตราที่ช้ากว่ามาก แม้แต่ในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าว เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม อาหารสุขภาพ รวมถึงห่วงโซ่อุปทาน คำถามที่เกิดขึ้นคือ “เกิดอะไรขึ้นกับภาคเกษตรไทย และเราจะทำอย่างไรที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยเข้มแข็ง ปรับตัวและอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน”
เพื่อเร่งแก้ปัญหาเหล่านี้ ธ.ก.ส. และ HUBBA Thailand เห็นตรงกันว่าควรจะนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้าเร่งประสิทธิผลของการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการสรรหาบุคคลที่มีศักยภาพมาช่วยกันพลิกโฉมภาคเกษตรไทยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติของโลก ภายใต้โจทย์ “ปฏิวัติวงการเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ให้มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและยั่งยืน ผ่านการดำเนินโครงการในรูปแบบงกิจกรรมย่อยทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ กิจกรรม Hackathon, กิจกรรม Incubator และกิจกรรม Demo Day
งานระดมสมองและสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนภายใต้กรอบเวลาที่จำกัดและในสภาวะที่กดดันตลอดระยะเวลา 2 วัน 1 คืน ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มคนจาก 3 สาขาอาชีพ คือ นักเขียนโปรแกรม(Programer) นักออกแบบ (Designer) และนักธุรกิจ (Business) มาร่วมกันคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยี รวมถึงออกแบบ business model แล้วสร้างขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) เพื่อนำไปต่อยอดในระยะต่อไป
ทุกทีมที่เข้าร่วมกิจกรรม Hackathon จะได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 5,000 บาท สำหรับทีมที่ไอเดียแก้ปัญหามีความแปลกใหม่ สามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงภายในระยะเวลา 3 เดือนข้างหน้า จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันและได้เข้ารอบไปกิจกรรม Incubator ต่อไป พร้อมรับเงินสนับสนุนเพิ่มอีกทีมละ 50,000 บาท
กิจกรรมบ่มเพาะผู้ประกอบการสุดเข้มข้น ที่จะช่วยพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรม พร้อมมีพี่เลี้ยงที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะคอยดูและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดตลอดทั้งกิจกรรม
ในกิจกรรม ผู้เข้าร่วมจะได้พัฒนา MVP (ผลิตภัณฑ์ตั้งต้น) รวบรวม PoC (ผลวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ) และนำไป Pilot ในตลาดจริง (ทดลองให้กลุ่มเป้าหมายใช้งานจริง) ผ่านการเข้าร่วมเวิร์คชอปโดยผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายสาขาอาชีพ หากทีมสามารถนำความรู้ที่ได้จากเวิร์คชอปหรือจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญและพี่เลี้ยงในทีมมาทดลองปรับใช้ เพื่อพัฒนา MVP ให้สำเร็จ สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ จะได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการเพื่อเข้ารอบต่อไป
วันสำคัญที่ทีมที่ถูกคัดเลือกแต่ละทีมจะได้มีโอกาสนำเสนอผลงานนวัตกรรมและแผนธุรกิจตัวเอง (Business model) ผ่านการ pitching บนเวทีภายในเวลาที่จำกัด แก่คณะกรรมการ นักลงทุน และทีมผู้บริหารของ ธ.ก.ส.
ทีมสตาร์ทอัพที่มีผลงานนวัตกรรมที่น่าสนใจ พร้อมผลการทดลองในตลาดที่โดดเด่น จะได้รับโอกาสในด้านการลงทุนและการร่วมงานกับ ธ.ก.ส. อีกทั้งยังเป็นเวทีสำคัญที่จะช่วยประชาสัมพันธ์นวัตกรรมและไอเดียธุรกิจของทีมแก่สาธารณะอีกด้วย
1. เป็นนิสิต นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในหัวข้อปัญหาที่กำหนด
2. มีสมาชิกทีม 2-5 คน
เงินรางวัลมูลค่า 200,000 บาท พร้อมถ้วยเกียรติยศ สำหรับทีมชนะเลิศในรอบ Demo day
เงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท สำหรับทีมรองชนะเลิศในรอบ Demo day
เงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบ Incubator
เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท สำหรับทีมที่เข้าร่วมกิจกรรม Hackathon
โอกาสร่วมงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ประสบการณ์ร่วมปฏิวัติและพัฒนาภาคการเกษตรของไทย
คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายวงการ
20 กันยายน - 18 ตุลาคม 2564 เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
20 ตุลาคม 2564 ประกาศรายชื่อ 18 ทีมที่ผ่านเข้าร่วมโครงการ
23 - 24 ตุลาคม 2564 กิจกรรม Virtual Hackathon ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
25 ตุลาคม 2564 ประกาศรายชื่อ 9 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ
28 ตุลาคม 2564 - 4 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Incubator ระยะเวลา 3 เดือน
5 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบ Demo day
10 - 11 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Bootcamp ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
25 กุมภาพันธ์ 2565 กิจกรรม Demo day นำเสนอผลงานนวัตกรรม
ศึกษารายละเอียดและสมัครเข้าร่วมโครงการ “BAAC Hackathon and Incubator, Agricultural Revolution หรือ ปฏิวัติเกษตรกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ได้ที่ https://www.hubbathailand.com/baac-incubator
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
[email protected] หรือ
085-134-5241 (เค้ก) (9.00-18.00 น.)
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด