ความท้าทายของผู้บริหารฝ่ายไอทีเพื่อการสร้างธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง | Techsauce

ความท้าทายของผู้บริหารฝ่ายไอทีเพื่อการสร้างธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

แม้ในสภาพเศรษฐกิจที่ท้าทายเช่นทุกวันนี้ แต่ปริมาณข้อมูลสารสนเทศทั่วโลกก็ยังคงเพิ่มเป็นเท่าทวีคูณอย่างรวดเร็ว โดย International Data Corporation (IDC) คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเป็น 5 เท่า จาก 33 เซตตะไบต์ในปี2018 เป็น 175 เซตตะไบต์ภายในในปี 2025  และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปริมาณข้อมูลและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนั้นมาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกิจทุกประเภท เนื่องจากการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมทุกรูปแบบนั้นปรับเปลี่ยนขั้นตอนสู่ระบบดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการข้อมูลก็ไม่ใช่เรื่องง่ายแม้จะมีเครื่องมือสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการบริหารข้อมูลนั้นเกี่ยวข้องกับทั้งนโยบายการบริหารข้อมูลที่ปลอดภัยรัดกุม และการจัดการและปกป้องสินทรัพย์ข้อมูลของบริษัท ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าแค่เรื่องขอบเขตข้อมูลสารสนเทศ

เมื่อพิจารณาถึงการรับมือกับความท้าทายในการบริหารจัดการข้อมูล รวมถึงลักษณะการทำงานที่สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้กับทุกสายงานนั้น ทำให้ผู้บริหารองค์กรต้องประสานงานกับหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารฝ่ายการตลาด ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล และหัวหน้าฝ่ายการเงิน เพื่อร่วมพิจารณาถึงแนวทางการบริหารและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่ เป็นการมอบโอกาสครั้งสำคัญให้แก่ผู้บริหารฝ่ายไอทีในการควบคุมและกำหนดทิศทางการทำงานไปให้เป็นไปในทางเดียวกัน ซึ่งเป็นภารกิจมุ่งสู่การเป็นองค์กรยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล 

การปรับเปลี่ยนสู่วิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง

การรับมือกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ในสภาพแสวดล้อมการทำธุรกิจปัจจุบันนั้น ผู้มีอำนาจต้องร่วมกันประเมินทั้งวิธีการรวบรวม การจัดเก็ข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ อีกทั้งต้องวางแผนและมองเห็นถึงการกระจายข้อมูลทั่วทั้งองค์กร โดยขั้นแรกนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูลที่เอื้อต่อการนำมาใช้งานร่วมกับข้อมูลเดิมที่มีอยู่ได้อย่างสอดคล้องกันมากที่สุดและในอีกด้านหนึ่งก็ต้องสร้างหลักประกันถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำคัญที่เพียงพอเช่นกัน สิ่งนี้ถือเป็นปัญหาที่ผู้บริหารฝ่ายไอทีระดับสูงต้องรับมือ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานที่มั่นคงสู่การเป็นวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ขั้นต่อไปคือการหาวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของบริษัทได้อย่างเต็มที่ สิ่งนี้จำเป็นต้องใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยระบบการทำงานเลียนแบบเครื่องกล (Machine Learning) ที่สมบูรณ์แบบ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่ธุรกิจด้วยข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและนำไปสู่การตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ดีขึ้นอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากในเรื่องการหาจุดสมดุลระหว่างความยืดหยุ่นของการใช้งานข้อมูล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และความฉับไวในการนำไปใช้งาน ซึ่งการทำทั้งหมดพร้อมกันถือเป็นงานที่ยาก แต่หากมีคนเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำข้อมูลไปเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถสร้างความแตกต่างในการทำงาน ก็จะยิ่งสร้างความมั่นคงให้แก่บริษัทได้

การเปลี่ยนปัจจุบันให้เป็นพลังแห่งอนาคต  

เมื่อต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและแบบแผนการบริหารจัดการข้อมูล โดยเฉพาะเมื่อมีข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นทุกวันนี้ คนทำงานจะตระหนักได้ว่าข้อมูลนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึงระดับที่เกินความสามารถของมนุษย์ในการบริหารจัดการและรักษาความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิภาพ 

บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องหันมาใช้แนวทางใหม่ แทนที่ใช้เวลาที่มีค่าไปกับการบริหารจัดการข้อมูลเอง เปลี่ยนมาใช้เป็นเครื่องมือระบบคลาวด์รูปแบบใหม่ที่ทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ระบบการทำงานโดยเลียนแบบเครื่องกล (Machine Learning: ML) และเทคโนโลยีที่เป็นระบบควบคุมต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงานที่เป็นการทำข้อมูลทั่วไป เช่น การส่ง ข้อมูล การอัพเดตข้อมูล และส่วนอื่น ๆ ซึ่งช่วยให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น

ระบบการควบคุมการทำงานอัตโนมัติเหล่านี้ ยังสามารถช่วยเรื่องดำเนินการด้านข้อมูล การวิเคราะห์ และการใช้สร้างข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ ทั้งยังช่วยจัดการข้อผิดพลาดต่างๆ และรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลได้ผ่านการตรวจจับ การป้องกัน และการตอบสนองต่อการคุกคามแบบอัตโนมัติทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร

อีกหนึ่งฟีเจอร์อันล้ำหน้าของการบริหารข้อมูลด้วยระบบคลาวด์ คือการรวบรวมข้อมูลทุกประเภทมาสร้างเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Lake) ซึ่งทุกคนสามารถดึงข้อมูลมาเขียนหรือใช้งานในรูปแบบเอาต์พุตที่ต้องการได้ เหมือนข้อมูลนั้นถูกสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์ของผู้ใช้งานตั้งแต่เริ่มแรก

การลงทุนกับโครงสร้างที่ถือเป็นแนวทางใหม่ๆนี้จะช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร ทั้งระหว่างแผนกและในขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ตลอดจนมอบความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารว่าข้อมูลทั้งหมดของบริษัทที่จะช่วยส่งเสริมการตัดสินใจทางธุรกิจให้ดีขึ้น และสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยโดยมีการติดตั้งระบบป้องกันที่จำเป็นต่อการใช้งาน

มอบประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นแก่งานทุกแผนก

การขับเคลื่อนการแปรรูปองค์กรและการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบงานที่มีการควบคุมและการตรวจสอบข้อมูลที่ดีขึ้น ช่วยให้ผู้บริหารฝ่ายไอทีสามารถให้คำปรึกษากับแผนกต่าง ๆ ของบริษัทได้อย่างคุ้มค่าตัวอย่างหนึ่งคือกรณีของ ฟอร์ท สมาร์ท (Forth Smart) ผู้ให้บริการด้านการเงินในประเทศไทย ซึ่งใช้ระบบการบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติ Oracle Autonomous Data Warehouse เพื่อจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างปลอดภัยและสามารถสร้างข้อมูลเชิงลึกจากเครือข่ายได้ในเวลาไม่กี่นาที ปัจจุบัน ฟอร์ท สมาร์ท สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายในเชิงกลยุทธิ์ได้อย่างชัดเจน เพื่อนำเสนอแพ็คเกจการประหยัดต้นทุนที่ดีกว่าและ ใช้งานในภาพรวมที่ดียิ่งขึ้น

อีกหนึ่งตัวอย่างของบริษัทที่ใช้ระบบข้อมูลคลาวด์เพื่อสร้างประโยชน์ทางธุรกิจคือ เอเชียเพย์ (AsiaPay) ช่องทางการชำระเงินระบบดิจิทัลที่ให้บริการธุรกรรมใน 15 ประเทศ ครอบคลุมสกุลเงิน ภาษา ช่องทางการให้บริการ และอุปกรณ์ที่หลากหลาย ระบบ Oracle Autonomous Data Warehouse ช่วยให้เอเชียเพย์สามารถโอนย้ายข้อมูลขึ้นระบบคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย ลดภาระงานด้านธุรการ และใช้ระบบการทำงานเลียนแบบเครื่องกล (Machine Learning) เพื่อหยุดยั้งการทุจริตได้แบบเรียลไทม์

Outsourcing Business Service บริษัทจัดจ้างบุคคลภายนอกเพื่อบริษัทต่างๆในญี่ปุ่น ได้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Oracle Autonomous Data Warehouse ในโครงการดูแลสุขภาพของพนักงานราว 35,000 คน เพื่อให้บริษัทเข้าใจถึงสถานการณ์ของพนักงานทุกคนและร่วมมือกันสร้างสรรค์สถานที่ปฏิบัติงานที่ทุกคนสามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ตลอดจนมอบบริการที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุดให้แก่ลูกค้าขององค์กร

บริษัทที่ต้องการรักษาความยืดหยุ่นในการทำงานจำเป็นต้องมีเครื่องยนต์อันทรงประสิทธิภาพที่สามารถกลั่นกรองข้อมูลให้กลายเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้า เทคโนโลยีอย่างระบบการบริหารคลังข้อมูลอัตโนมัติ Oracle Autonomous Data Warehouse สามารถช่วยบริหารและสนับสนุนการจัดการข้อมูลขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถสรุปรวมการทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จึงช่วยสนับสนุนเรื่องการสื่อสารข้อมูลสำหรับผู้บริหารฝ่ายไอที นอกจากนี้ ระบบยังมีการคัดกรองข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยผู้มีอำนาจตัดสินใจระดับสูง ในการกำหนดทิศทางให้ธุรกิจให้ก้าวไปสู่อนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ซึ่งพร้อมด้วยแหล่งข้อมูลที่จำเป็นบนแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่

บทความโดย นิลันทา บริโท ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเทคโนโลยีคลาวด์ ออราเคิล ประจำภูมิภาคอาเซียน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OR มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมาย Net Zero ปี 2050 ผ่าน 3 กลยุทธ์

OR เร่งเครื่องสู่การเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด พร้อมมุ่งสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ผ่านการปฏิบัติจริง...

Responsive image

MFEC ตั้งเป้า ปี 67 รายได้โต 15% ปักธงฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยเทคโนโลยี

MFEC ตั้งเป้าหมายปี 2567 สร้างรายได้เติบโต 15% และฟื้นฟูเศรษฐกิจประเทศไทยด้วยเทคโนโลยี ชูกลยุทธ์ผสานโซลูชันไอที พร้อมเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านเทคโ...

Responsive image

KBank เดินหน้า Net Zero ภายในปี 2030 ชวนธุรกิจไทยรับมือ Climate Game ผ่าน 4 กลยุทธ์

KBank พลิกโฉมสู่ธนาคารแห่งความยั่งยืนรับยุค Climate Game จัดเตรียมยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมปี 2024 ที่อยากชวนธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ TOGETHER ‘Transitioning Away’ ผ่าน ...