ฝ่าวิกฤต COVID-19 บนความท้าทายของเศรษฐกิจแบบ 2 ต่ำ 1 สูง | Techsauce

ฝ่าวิกฤต COVID-19 บนความท้าทายของเศรษฐกิจแบบ 2 ต่ำ 1 สูง

ตลาดการเงินโลกกำลังผันผวนอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สร้างความตื่นกลัวให้นักลงทุนในระดับที่ใกล้เคียงกับวิกฤติการเงินปี 2008 เพราะแม้ทางการจีนจะแสดงให้เห็นถึงความเด็ดขาดในการควบคุมการแพร่ระบาด แต่สถิติจำนวนผู้ป่วยในสหรัฐฯ และยุโรปกลับเพิ่มขึ้นจนไม่อาจคาดการณ์ได้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ 

นักลงทุนพบกับเหตุการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นมานานหลายปี เช่น ธนาคารกลางออกมาหั่นดอกเบี้ยแบบฉุกเฉิน และราคาหุ้นตกต่ำจนหลายตลาดต้องหยุดพักการซื้อขายระหว่างวัน นักลงทุนกำลังเป็นกังวลว่าจะฝ่าฟันสถานการณ์นี้ไปได้อย่างไร

ในมุมมองของ KBank Private Banking พร้อมด้วยพันธมิตร Lombard Odier  ผู้ให้บริการไพรเวทแบงค์ระดับสากล คาดว่าราคาสินทรัพย์ที่ลดลงตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ได้สะท้อนผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะโดยผลของ COVID-19 บนห่วงโซ่การผลิต การบริโภค การติดต่อสื่อสารและเดินทาง ตลอดจนการค้า ไปมากแล้ว นอกจากนี้การอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลผ่านการลดดอกเบี้ยและการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ของธนาคารกลางที่คาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นในเวลาอันใกล้จะบรรเทาความกลัวและแรงกดดันในตลาดการเงินได้ จึงมีโอกาสที่ราคาสินทรัพย์จะปรับเพิ่มขึ้น (Rebound)

อย่างน้อยในช่วงสั้น อย่างไรก็ตาม หากปราศจากข้อมูลเชิงบวกของ COVID-19 เช่น จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกลดลง หรือค้นพบแนวทางการรักษา พร้อมด้วยกำลังสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากนโยบายการคลัง เช่น การเพิ่มงบประมาณ การเร่งใช้จ่ายภาครัฐฯ และการลดภาษี ตลอดจนนโยบายพิเศษอื่นๆ ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ ราคาสินทรัพย์ที่ฟื้นตัวจากผลของนโยบายการเงินอาจไปได้ไม่ไกล ดังนั้น นักลงทุนที่ต้องการสภาพคล่อง ไม่สามารถลงทุนระยะยาว (3-5 ปี) หรือไม่สามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ยังไม่ควรเข้าซื้อหุ้นไม่ว่าจะเป็นการช้อนซื้อหรือการไล่ราคา

สำหรับภาพรวมคำแนะนำการจัดพอร์ตลงทุน จากปี 2019 ที่ราคาสินทรัพย์เกือบทุกประเภทพุ่งขึ้นภายใต้เศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงท้ายวัฎจักรการเติบโต (Late cycle) และเผชิญกับสภาวะ ‘2 ต่ำ 1 สูง’ คืออัตราการเติบโตต่ำ ดอกเบี้ยต่ำ และความเสี่ยงสูง ทั้งจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือถดถอยและความผันผวนของราคาสินทรัพย์ที่ปรับขึ้นมามาก นักลงทุนต้องมีความระมัดระวัง โดยเน้นพอร์ตการลงทุนหลักที่มีกลไกกระจายความเสี่ยงอย่างดี พอร์ตเสริมที่สมดุล รวมทั้งถือสินทรัพย์ใกล้เคียงเงินสดจำนวนหนึ่ง นับเป็นพัฒนาการจากการลงทุนแบบดั้งเดิมเพื่อให้ผ่านความท้าทายไปสู่ความยั่งยืนของการสร้างความมั่งคั่ง ได้แก่

พอร์ตหลักต้องมีสภาพคล่อง พร้อมกลไกการกระจายและควบคุมความเสี่ยง 

การยอมรับความเสี่ยงคือที่มาของผลตอบแทน ดังนั้น นอกจากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องหลายประเภทและหลายภูมิภาคแล้ว พอร์ตการลงทุนหลัก (Core Portfolio) ต้องมีกลไก “กระจายและควบคุมความเสี่ยง”

นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับ “การกระจายความเสี่ยงมากกว่ากระจายเงินลงทุน” โดยมี 2 หลักการจาก เรย์ ดาลิโอ (Ray Dalio) มหาเศรษฐีและผู้ทรงอิทธิพลด้านการลงทุนระดับโลกคือ

1) การสร้างสมดุลความเสี่ยงของสินทรัพย์ (Risk-based Allocation) ในการจัดสัดส่วนเงินลงทุน กล่าวคือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับเงินลงทุนน้อย สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำจะได้รับเงินลงทุนมาก เช่น ในภาวะตลาดที่หุ้นมีความเสี่ยงสูงกว่าตราสารหนี้ 3 เท่า เงินลงทุน 1 ใน 4 จะลงทุนในหุ้น และ 3 ใน 4 จะลงทุนในตราสารหนี้ ต่างจากการกระจายเงินลงทุนแบบดั้งเดิมที่กระจายเงินลงทุนด้วยการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้อย่างละ 50% ทำให้ความเสี่ยงของพอร์ตที่แท้จริงกระจุกตัวในหุ้น 

2) การปรับพอร์ตอย่างต่อเนื่อง (Active Rebalancing) เพราะตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยมากมาย พอร์ตการลงทุนหลักต้องปรับให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทที่เปลี่ยนแปลงไป ความคล่องตัวในการปรับพอร์ตและควบคุมความเสี่ยงจึงจำเป็นมากโดยเฉพาะในปัจจุบันที่ความไม่แน่นอนสูง ด้วยหลักการทั้งสองนี้ในภาวะปกติ ณ เวลาหนึ่งๆ จะมีสินทรัพย์อย่างน้อยหนึ่งประเภทที่สร้างผลตอบแทนหรือช่วยพยุงพอร์ตการลงทุนหลักไว้เสมอ ทำให้ลดโอกาสที่นักลงทุนจะตื่นกลัวจนถอยหนีออกจากตลาด (ขายสินทรัพย์) ในช่วงที่ราคาตกต่ำ 

“ความเสี่ยงในตลาดหุ้นที่พุ่งขึ้นสูงมากตั้งแต่เกิดการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้พอร์ตการลงทุนหลักเพิ่มสัดส่วนเงินลงทุนในตราสารหนี้ขึ้น พร้อมๆ กับลดสัดส่วนเงินลงทุนในหุ้นรวมทั้งลดอัตราทด (Leverage) ลงมาตลอดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาจึงถึงปัจจุบัน” ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยกว่าพอร์ตการลงทุนแบบดั้งเดิมอื่นๆ”

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

แอดวานซ์เทค ติดท็อป 5 ‘Best Taiwan Global Brands’ 7 ปีซ้อน ขับเคลื่อน Edge AI ด้วยมูลค่า 2.8 หมื่นล้าน

แอดวานซ์เทค (Advantech Co., Ltd.) ผู้นำด้านอุตสาหกรรม IoT ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 แบรนด์ชั้นนำระดับโลกของ "2024 Best Taiwan Global Brands" ด้วยมูลค่าแบรนด์ 851 ล้านดอลลาร์...

Responsive image

PLEX MES ก้าวสู่อนาคต ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิต ด้วย Smart Manufacturing Solutions

เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา วงการอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ด้วยการแนะนำ PLEX MES โซลูชันที่เปรียบเสมือน "สมองดิจิทัล" สำหรับโรงงานยุคใหม่ ระบบนี้ถูกออกแบบ...

Responsive image

ทีทีบี คว้ารางวัลธนาคารที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้าธุรกิจ Thailand Best Bank for Corporates

ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) คว้ารางวัล Thailand Best Bank for Corporates จาก Euromoney Awards 2024 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนธุรกิจไทยด้วยโซลูชันดิจิทัลและความยั่งยืนผ่านกรอบ B+ESG พร...