dtac Accelerate Batch 3 Startup ไหนผ่านเข้ารอบบ้าง ไปดูกัน! | Techsauce

dtac Accelerate Batch 3 Startup ไหนผ่านเข้ารอบบ้าง ไปดูกัน!

dtac_accelerate

ดีแทคประกาศผล 6 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายในโครงการ dtac Accelerate Batch 3 จากทีมที่นำเสนอผลงานในวัน Pich Day ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกทั้งหมด 21 ทีม ซึ่งทุกทีมต่างงัดเอาความคิดสร้างสรรค์ โซลูชั่นที่ตอบโจทย์ความต้องการในไลฟ์สไตล์ชีวิตประจำวัน รวมถึงบิสิเนสโมเดลและความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานให้สำเร็จ เข้ามาประชันต่อหน้ากรรมการและ mentors อย่างคึกคัก ปีนี้หลายๆทีมมีไอเดียที่ดี และทีมงานมีศักยภาพสูง ทำให้คณะกรรมการตัดสินใจด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดจึงได้ผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 6 ทีมได้แก่ ทีม ManInnovation, ทีม Super RFQ, ทีม Lens, ทีม Z Home, ทีม TakeMeTour, และทีม Skootar

ซึ่งทุกทีมที่เข้ารอบได้เลือก Mentor ที่จะช่วยให้คำปรึกษาประจำทุกทีมอย่างใกล้ชิด ตลอดระยะเวลา 4 เดือนของโครงการ โดยนายทิวาจาก Kaidee.com จะเป็น Mentor ให้กับทีม Lens และทีม Skootar , นายสมหวัง Paysbuy เป็น Mentor ให้กับทีม ManInovation , นายยอด Wongnai.com เป็น Mentor ประจำทีม TakeMeTour , นายไว Prizeza.com เป็น Mentor ทีม Z Home และนายชานน์ จาก Taamkru.com ดูแลทีม Super RFQ ซึ่งทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินทุนทีมละ 5 แสนบาท ถึง 1.5 ล้านบาท พร้อมรับเงินสนับสนุนในเชิงพาณิชย์ ต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มเข้า Boot Camp วันแรก คอร์สอบรม intensive boot camp เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 2558 และนำเสนอผลงานรอบสุดท้ายประกาศผลในวัน Demo day ในเดือนตุลาคมนี้

นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า “เราได้เห็นสตาร์ทอัพหน้าใหม่ ซึ่งหลายๆทีม ไม่เคย pitch ที่ไหนมาก่อน ที่นี่เป็นที่แรก ซึ่งนับเป็นสัญญาณที่ดีต่ออุตสาหกรรมในภาพรวม แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของ startup ecosystem ของไทย ปีนี้ dtac Accelerate ได้คัดเลือก 6 ทีมสุดท้ายเพื่อก้าวเข้าสู่การอบรม Intensive Boot Camp ทั้ง 6 ทีม มีไอเดียและผลงานที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก มีบริการที่หลากหลายทั้ง Internet of Things โซลูชั่นสำหรับกลุ่ม SMEs เห็นได้ชัดว่านักพัฒนาคนไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่ละคนมีความเป็นมืออาชีพมี business insight ในธุรกิจที่นำเสนอ หลายทีมมีโจทย์จาก pain point ในอุตสาหกรรม และที่สำคัญมีความตั้งใจจริง ที่จะเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ อย่างจริงจัง โดยมีผลงานที่โดดเด่น เป็นแอพพลิเคชั่นที่สร้างสรรค์ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน มีทีมงานด้านไอทีที่แข็งแกร่ง มีโมเดลการทำธุรกิจ การตลาดที่ชัดเจนทำได้จริง เหมาะสมกับความต้องการในตลาดเมืองไทย ทุกทีมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่การคัดเลือกรอบสุดท้ายตอบโจทย์ไปที่เป้าหมายของ dtac Accelerate ปีนี้ ที่เน้นการสร้างสรรค์ นวัตกรรมทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับระบบ mobile Internet ecosystem ซึ่งมีผู้นิยมใช้ข้อมูลและคอนเท้นท์ของไทย และเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีแนวคิดใหม่ๆ ที่มาช่วยสร้างสีสันและไลฟ์สไตล์และยกระดับคุณภาพชีวิตสำหรับคนไทย”

นายอมรเชษฐ์ จินดาอภิรักษ์ Co- Founder และ CEO ทีม TakeMeTour ที่ได้รับเลือกเข้าสู่รอบสุดท้ายของการแข่งขัน ในประเภท Acceleration กล่าวถึงผลงานว่า “ทีมได้พัฒนา เว็บไซต์ ที่เป็นตลาดกลางให้นักท่องเที่ยวมาพบปะไกด์ท้องถิ่น หรือ Local Expert ที่จะพาคุณท่องเที่ยวอย่างเจาะลึกในทุกเรื่องที่คุณสนใจ เช่น การท่องเที่ยวชมศิลปะมวยไทย เป็นต้น โดยมีจุดหมายของการท่องเที่ยวในจังหวัดที่สำคัญทั่วประเทศ โดยกลุ่มเป้าหมายในระยะแรกจะเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเพื่อนบ้าน เช่น นักท่องเที่ยวสิงคโปร์ ที่มาเมืองไทยบ่อยแต่อยากเที่ยวในแบบที่ได้สัมผัสวัฒนธรรมไทยให้ลึกซึ้ง ซึ่ง TakeMeTour จะตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวได้อย่างเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่จะเป็นประสบการณ์ที่ประทับใจอย่างแน่นอน

นายสุวัฒน์ ปฐมภควันต์ Co- Founder ทีม Skootar กล่าวว่า “ Skootar ให้บริการ มอเตอร์ไซด์ Messenger เป็นเว็บไซต์ และกำลังพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือในระบบปฏิบัติการ iOS, Android ที่ให้บริการลูกค้า SMEs ที่ต้องการบริการเก็บเช็ค วางบิล บริการที่ต้องการความรวดเร็วในวันเดียวเสร็จ ซึ่ง SMEs เหล่านี้ไม่จำเป็นที่จะต้องจ้าง Messenger มาเป็นพนักงานประจำ และยังสะดวกด้วยการจ่ายค่าบริการด้วยการวางบิลเป็นรายเดือนสะดวกทั้งคนจ้างและมอเตอร์ไซด์ ผมรู้สึกดีใจมากที่ได้รับคัดเลือกเข้ามาในรอบสุดท้ายการได้เข้าร่วมโครงการ dtac Accelerate Batch 3 นอกจากเหนือจากเงินทุนที่ได้รับจากโครงการแล้ว ตนเองต้องการให้ดีแทคช่วยทางด้าน Commercialization support และการประชาสัมพันธ์ อีกด้วย”

ดีแทคพร้อมสนับสนุนทีมเหล่านี้อย่างจริงจัง ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่มีอย่างเต็มที่ โดยได้เตรียมจัดสร้างสำนักงานให้เหล่าสตาร์ทอัพภายในตึกดีแทค (Co working space) และได้เริ่มทำการจัดเวิร์คช้อปอบรมทั้ง 5 ทีม พร้อมทั้งได้ Mentors รับเชิญซึ่งเป็นสตาร์ทอัพรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จแล้ว มาอบรมในห้วข้อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ทีมนักพัฒนาแอปที่เข้ารอบในโครงการ dtac Accelerate ทั้ง 6 ทีมจะได้รับ โอกาสในการทำตลาดไปสู่กลุ่มลูกค้าของผู้ให้บริการมือถือ 14 ราย คิดเป็นจำนวนลูกค้าทั้งหมด 186 ล้านเลขหมาย ทั่วโลก ได้รับเครดิตจาก Amazon Web Service มูลค่า 30,000 บาท พร้อมการฝึกอบรมและทางทีมงานวิศวกรจาก Amazon และที่ปรึกษาทางกฎหมายจากทีมกฎหมายดีแทค ได้สถานที่ทำงานที่ dtac Acclerate co working space อาคารจามจุรี สแควร์ จำนวนทีมละ 5 ที่นั่งตลอดระยะเวลา 1 ปี หลังจากนี้ดีแทคจะประกาศผลสุดยอดทีมผู้ชนะในวันเดโมเดย์ เดือนตุลาคม โดยมีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องในวงการระดับโลกมาร่วมตัดสิน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ดีอี ผนึก ‘อว.- ศธ.’ ร่วมมือ UNESCO นำเวที UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025

ประเทศไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพงาน “UNESCO Global Forum on the Ethics of AI 2025” ครั้งแรกในเอเชียแปซิฟิก ภายใต้แนวคิด “Ethical Governance of AI in Motion” ย้ำบทบาทผู้นำจริยธรรม AI ระดั...

Responsive image

เสริมสร้างความร่วมมือไทย-ฟินแลนด์ ศึกษาดูงานและขยายโอกาสนวัตกรรม

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศและเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ นำคณะผู้แทนไทยศึกษาดูงานที่ฟินแลนด์ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านนวัตกรรม พลังงานหมุนเวียน และเศรษฐกิจหมุนเวียน...

Responsive image

ไทยพบเอสโตเนีย แลกเปลี่ยนมุมมองรัฐบาลดิจิทัล ศึกษาต้นแบบ e-Government

ไทยเปิดใจเรียนรู้จากเอสโตเนีย ระบบ e-Government ที่ประชาชนไว้วางใจ...