โรงพยาบาลราชธานี ปรับตัวรับมือโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีจาก dtac business WorryFree | Techsauce

โรงพยาบาลราชธานี ปรับตัวรับมือโควิด-19 ด้วยเทคโนโลยีจาก dtac business WorryFree

โรงพยาบาลราชธานี โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยกระดับบริการทางการแพทย์ ด้วยโซลูชันการสื่อสารจากดีแทค แพ็กเกจซิมเพื่อธุรกิจ dtac business WorryFree เป็นช่องทางสำคัญในการสื่อสารกับผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ในการให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล ช่วยแก้วิกฤตข่าวลวงในช่วงการระบาดหนักของโควิด-19 และเป็นช่องทางสำคัญในการให้ข้อมูลการดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้ป่วย 

นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายในโรงพยาบาล ทำให้โรงพยาบาลสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงที่คนไข้ไม่กล้าเข้ามารักษาในโรงพยาบาลในช่วงการระบาดของโรค

โรงพยาบาลราชธานีเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี 2535 โดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เนื่องจากเล็งเห็นว่าพื้นที่อันเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานและนิคมอุตสาหกรรมนี้ ยังขาดแคลนบริการสาธารณสุข โรงพยาบาลราชธานีถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางหลากหลาย อาทิ ศูนย์โรคกระดูกและข้อ ศูนย์ผ่าตัดด้วยกล้อง คลินิกยาต้านโรคมะเร็ง ศูนย์หัวใจ ศูนย์อุบัติเหตุขนาดใหญ่ และศูนย์ความงามที่จะเปิดตัวในอนาคตอันใกล้

กลุ่มบริษัทยังเป็นเจ้าของโรงพยาบาลในเครือข่ายอีกแห่ง คือโรงพยาบาลราชธานี โรจนะ ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสายเดียวกัน และมีแผนจะเปิดให้บริการโรงพยาบาลราชธานี 2 ในปี 2564 เพื่อรองรับการขยายตัวของเมือง ทั้งนี้ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลประมาณ 1,600 คนต่อวัน โดยมีผู้ป่วยประกันสังคมกว่า 1,000 คนต่อวัน

นพ.สุรินทร์ ประสิทธิ์หิรัญ ประธานกรรมการบริหาร โรงพยาบาลราชธานี กล่าวว่า “ในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีข่าวลือแพร่สะพัดบนโลกโซเชียลมีเดียว่ามีนักท่องเที่ยวชาวจีนป่วยด้วยโรคโควิด-19 มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชธานี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด ข่าวลวงดังกล่าวแพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วบนโซเชียลมีเดีย และได้สร้างความตื่นตระหนกในหมู่ผู้ใช้บริการและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวนมาก

ช่วงนั้นมีทั้งแพทย์ เจ้าหน้าที่ และคนไข้ โทรศัพท์และส่งข้อความเข้ามาสอบถาม ทางโรงพยาบาลต้องใช้ช่องทางสื่อสารทุกช่องทางเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ทั้งในไลน์กลุ่มคนไข้ ข้อความ SMS และเพจเฟซบุ๊ก ถ้าเราไม่มีการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องออกไปอย่างทันท่วงที คนไข้ก็อาจจะไม่มาเข้ารับบริการกับเรา ซึ่งจะสร้างความเสียหายมหาศาลให้กับโรงพยาบาล เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตช่วงนั้นมาได้”

แม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ลงเป็นที่เรียบร้อย แต่โรงพยาบาลราชธานีก็ใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร มาช่วยปรับเปลี่ยนวิถีการให้บริการให้สอดรับกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังในการออกจากบ้านมากขึ้น อาทิ การส่งข้อความผ่าน SMS และแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อแจ้งเตือนคนไข้เมื่อใกล้ถึงวันนัดหมาย และการส่งยาทางไปรษณีย์ในกรณีที่คนไข้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลยังมีแผนจะนำแอปพลิเคชันมือถือมาใช้บริหารจัดการระบบคิวและการรับยา พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่าน QR Code เพื่อลดการสัมผัสด้วย

นอกจากการให้บริการทางการแพทย์แล้ว เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารยังอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานระหว่างบุคลากรในโรงพยาบาล นับตั้งแต่การส่งข้อความและภาพ ไปจนถึงการประชุมทางไกลเพื่อให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์ต่างแผนก ทำให้ขั้นตอนการรักษาเกิดความรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น “บางทีแพทย์เขาถ่ายรูปในห้องผ่าตัดหรือวิดีโอคอลล์ เพื่อขอความเห็นจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นๆ ทำให้หลายครั้งแพทย์เฉพาะทางเหล่านี้ไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาลจริงๆ ช่วยย่นระยะเวลาการผ่าตัด ซึ่งส่งผลดีต่อคนไข้” 

ทางโรงพยาบาลราชธานีเลือกดีแทคในการเป็นผู้ให้บริการ Connectivity Service ซึ่งนับเป็นศักยภาพสำคัญของโรงพยาบาลในการติดต่อประสานงานภายในและนอกกับผู้ป่วย และโรงพยาบาลเลือกใช้แพ็กเกจซิมเพื่อธุรกิจ dtac Business WorryFree เพื่อเป็นตัวช่วยควบคุมค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายในโรงพยาบาล โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการ “ก่อนหน้านี้เราเคยมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเกินทั้งจากข้อความ SMS และค่าโทรศัพท์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามาจากส่วนไหน แพ็กเกจซิมเพื่อธุรกิจของดีแทค เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ ทั้งเรื่องการโทรฟรี 24 ชั่วโมง การเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ทางโรงพยาบาลในช่วงโควิด-19 เพื่อสนับสนุนการทำงานของทีมบุคลากรทางการแพทย์ ช่วยให้เราบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง และทำให้ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง  แต่ทางโรงพยาบาลก็มีการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น มาตั้งแต่ช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งได้นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับยุคสมัย สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรและผู้มาใช้บริการ “เราทำธุรกิจด้วยความจริงใจ ทั้งต่อผู้ถือหุ้น คนไข้ พนักงาน และคู่ค้า เราให้การรักษาคนไข้ที่สมเหตุสมผล สำหรับบุคลากรของเรา เรามีการมอบโบนัสและขึ้นเงินเดือนให้ทุกๆ ปี แม้จะเป็นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ตาม แต่แน่นอนว่า การทำธุรกิจนั้น เราต้องคาดหวังผลกำไร ซึ่งในจุดนี้เรามีการควบคุมค่าใช้จ่ายมาตลอด” นพ.สุรินทร์ กล่าวสรุป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

NIA จัดใหญ่ฉลองครบรอบ 20 ปี รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ ชวนนวัตกรสมัครคว้าชัยประจำปี 2567

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดประตูสู่เวทีประกวดชิงรางวัลอันทรงเกียรติสูงสุดแห่งวงการนวัตกรรมไทย “รางวัลนวัตกรรมแห่งช...

Responsive image

เปิดตัว 7 สตาร์ทอัพ FinTech ในงาน Money20/20 Asia เสริมแกร่งอุตสาหกรรมการเงินในภูมิภาค

Money20/20 Asia ผู้จัดงานงานฟินเทคโชว์สุดยิ่งใหญ่เปิดตัวบริษัทสตาร์ทอัพทั้ง 7 ที่เชื่อว่าจะผลักดันพร้อมปฏิวัติโลกของการเงิน...

Responsive image

Betagro เปิดตัว Betagro Ventures ตั้งกองทุนหนุนสตาร์ทอัพ สาย FoodTech & AgriTech

“BTG” เปิดตัว “Betagro Ventures” มุ่งบ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจ “FoodTech & AgriTech” พร้อมเดินหน้าลงทุนสตาร์ทอัพ ผ่านกองทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโอกาสเติบโตที่ยั่งยืน...