กฟผ. ผนึกกำลัง IBM เดินหน้าสู่โรงไฟฟ้าดิจิทัล ติดตั้งระบบบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี AI หนุนเทรนด์ Carbon Neutrality | Techsauce

กฟผ. ผนึกกำลัง IBM เดินหน้าสู่โรงไฟฟ้าดิจิทัล ติดตั้งระบบบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยี AI หนุนเทรนด์ Carbon Neutrality

กฟผ. ร่วมกับ ไอบีเอ็ม เดินหน้าติดตั้งระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ กฟผ. ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด ตามนโยบาย Carbon Neutrality ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าด้วยการบริหารจัดการสินทรัพย์ของโรงไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กฟผ. ร่วมกับ ไอบีเอ็ม เดินหน้าติดตั้งระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI ในโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ กฟผ. ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานสะอาด ตามนโยบาย Carbon Neutrality

คุณไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ ผู้ช่วยผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทันสมัยมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของ กฟผ. ในหลากหลายมิติเพื่อมุ่งสู่ความเป็นดิจิทัล รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดอย่างราบรื่น รวมถึงลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าและค่าไฟฟ้าของประชาชน 

ซึ่งในส่วนของงานบำรุงรักษา กฟผ. ร่วมกับบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด (IBM) นำระบบบริหารจัดการงานบำรุงรักษาสมัยใหม่ (Maintenance Management System : MMS) ด้วยเทคโนโลยี AI ติดตั้งในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ทำให้สามารถวางแผนบริหารจัดการสินทรัพย์ของโรงไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ลดการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่และการใช้พื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์โดยไม่จำเป็น รวมถึงช่วยยืดอายุการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เนื่องจากระบบ MMS สามารถคาดการณ์อายุการใช้งานและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของโรงไฟฟ้าได้ล่วงหน้าอย่างแม่นยำ 

พร้อมทั้งมีระบบติดตามและแจ้งเตือนเมื่อพบการทำงานผิดปกติช่วยป้องกันการหยุดทำงานของระบบโดยไม่คาดคิด รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลไปยังทุกโรงไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ กฟผ. จึงได้ขยายผลติดตั้งตั้งระบบ MMS ไปยังโรงไฟฟ้าพลังน้ำและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของ กฟผ. ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามนโยบาย Carbon Neutrality ภายใต้หลักการสร้างสมดุลระหว่างต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศอย่างยั่งยืน

คุณสุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันองค์กรต้องสามารถบริหารจัดการสินทรัพย์และบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ โดยใช้ข้อมูลแบบรวมศูนย์ที่ผนวกรวมจากอุปกรณ์เกี่ยวข้องทั้งหมดแบบเรียลไทม์ 

สิ่งสำคัญที่สุดคือในการตัดสินใจลงทุน ต้องให้ความสำคัญกับมิติด้านความยั่งยืน วันนี้ กฟผ. ได้ก้าวเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ก้าวล้ำครบทั้งสามมิติ ทั้งในแง่การขยายการใช้งานในระดับใหญ่ขึ้น การดำเนินการอย่างยั่งยืน รวมถึงการใช้งานระบบบริหารจัดการได้จากทุกที่ ทุกเวลา และจากทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ และไม่เพียงเป็นผู้นำระบบนี้ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้นำในภูมิภาคอาเซียนด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำความรู้จักกับซิม IoT จาก SoftBank และ 1NCE จ่ายครั้งเดียว ใช้งานได้ต่อเนื่องถึง 10 ปี

รู้จักซิมการ์ด IoT จาก 1NCE เชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ทั่วโลกใน 173 ประเทศ ด้วยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวใช้งานได้นาน 10 ปี เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการโซลูชันคุ้มค่าและจัดการง่าย...

Responsive image

AIS คว้ารางวัล Creative Equality Award ยกระดับชีวิต ส่งต่อพลังสร้างสรรค์เพื่อสังคม

AIS ตอกย้ำความเป็นเลิศทางความคิดสร้างสรรค์ คว้ารางวัล Creative Equality Award Creative ประเภท Social Impact Awards จากเวที Creative Excellence Awards 2024 ซึ่งเป็นผลจากความสำเร็จขอ...

Responsive image

กรุงศรีตั้ง ปาลิดา อธิศพงศ์ นั่งรักษาการกรรมการผู้จัดการของ Krungsri Finnovate เดินหน้าสตาร์ทอัปไทย

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประกาศแต่งตั้ง นางสาวปาลิดา อธิศพงศ์ ขึ้นดำรงตำแหน่งรักษาการกรรมการผู้จัดการ Krungsri Finnovate...